WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aแรงงาน

องค์กรรัฐย้ำอุตสาหกรรมสัตว์ปีกไทยนำหลักการ GLP ดูแลแรงงานอย่างเป็นธรรม

     กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) และกรมปศุสัตว์ยืนยันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ขานรับหลักการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดี มีการบริหารแรงงานในฟาร์มและโรงงานแปรรูปยึดตามหลัก Good Labour Practices (GLP) ตามมาตรฐานสากล และนำไปส่งเสริมเกษตรกรและคู่ค้า ตามแผนการขับเคลื่อนและปฏิรูปแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์และแรงงานผิดกฎหมายของภาครัฐ

     นางสาวพรรณี ศรียุทธศักดิ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า กสร. ได้ติดตามความคืบหน้าของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไก่เนื้อไทยที่ดำเนินการด้านปฏิบัติที่ดีต่อแรงงานในห่วงโซ่การผลิตอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม พบว่าขณะนี้มีแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี สำหรับฟาร์มและสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีก และผู้ประกอบการส่งเสริมให้มีการนำหลักปฏิบัติ GLP ไปใช้ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต สอดคล้องกับนโยบายประชารัฐที่มุ่งผนึกพลังระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการจ้างงานและการดูแลสวัสดิภาพแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นธรรม สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับภาคการผลิตเพื่อส่งออกของไทยโดยรวม

       กสร. ร่วมกับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในการจัดการอบรมให้ความรู้และคำแนะนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการดูแลและบริหารแรงงานตามหลักการ GLP ให้แก่เกษตรกรและคู่ค้าฟาร์มไก่ในห่วงโซ่การผลิตรวมกว่า 400 ราย ภายในเดือนกันยายนนี้

       "กสร. พอใจที่ได้เห็นการตื่นตัวของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไก่ที่เดินหน้ายกระดับมาตรฐานการปฏิบัติต่อแรงงานในฟาร์มสัตว์ปีก ให้คุณภาพชีวิตแรงงานดีขึ้น ยังส่งผลดีต่อศักยภาพและความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม และสามารถตอบสนองต่อเงื่อนไขการค้าโลกโดยเฉพาะแหล่งที่มาประเด็นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน และการดูแลแรงงาน" นางสาวพรรณีกล่าว

     ด้าน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมฯ มีหน้าที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำหลักการ GLP ไปใช้ปรับปรุงสภาพการจ้างและสภาพการทำงานในฟาร์มสัตว์ปีกให้เกิดความเป็นธรรมกับแรงงาน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันส่งออกสินค้าไทยในระยะยาว

   “ซีพีเอฟ เป็นอีกหนึ่งบริษัทให้ความสำคัญกับแรงงานข้ามชาติ โดยนำหลักการ GLP มาใช้ เพื่อให้แรงงานได้รับการปฎิบัติอย่างเป็นธรรม ตามมาตรฐาลสากล กล่าวคือ ไม่ใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ มีการจ่ายค่าจ้างอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และร่วมกับเกษตรกรปรับปรุงสภาพการทำงานในฟาร์มให้มีความปลอดภัย และถูกสุขลักษณะ และมีการจัดจ้างและบริหารตามมาตรฐานสากล” นสพ.สรวิศ กล่าว

   นสพ.สรวิศ กล่าวต่อไปว่า กรมปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบฟาร์มของเกษตรกรเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง สถานประกอบการฟาร์มไก่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ และเร่งปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้เป็นไปตามหลักการ GLP และตามหลักสากล ทั้งนี้ หากพบเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ กรมปศุสัตว์จะมีการดำเนินมีการดำเนินการเพิกถอนฟาร์มและยกเลิกการรับรองผลิตภัณฑ์จากฟาร์มทันที” นสพ.สรวิศกล่าว

      นายปริโสทัต ปุณณภุม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ธุรกิจไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ขณะนี้ ซีพีเอฟได้ให้เกษตรกรและคู่ค้าในห่วงโซ่การผลิตรวมกว่า 400 ราย ลงชื่อเพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกับบริษัทฯ ที่จะดูแลแรงงานในฟาร์มอย่างมีจริยธรรม และยินยอมดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติของบริษัทฯ อาทิ ให้คณะทำงานของบริษัทฯ เข้าตรวจสอบการดูแลแรงงานในฟาร์มไก่ และปรับปรุงการบริหารเพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลแรงงานในฟาร์มเลี้ยงไก่ตรงตามหลักการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดี (Good Labour Practice: GLP) สำหรับฟาร์มไก่

   “บริษัทฯ ถือเป็นนโยบายในการเดินหน้าให้คำแนะนำและถ่ายทอดองค์ความรู้และเครื่องมือในการบริหารจัดการด้านแรงงาน เพื่อปรับปรุงสภาพการจ้างงานแก่ผู้ประกอบการฟาร์มไก่เนื้อของบริษัท ฯ ทุกราย ซึ่งคาดว่าฟาร์มไก่เนื้อและโรงงานแปรรูปในห่วงโซ่การผลิตของเราทั้งหมดจะใช้หลักการ GLP และมาตรฐานแรงงานของไทยและสากลในการดูแลแรงงานภายในเดือนธันวาคมปีนี้” นายปริโสทัต กล่าว

---------------------------------------

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!