WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1การจางงาน

การจ้างงานในยุค คสช. ยังหดตัว

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

     ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ ให้ข้อสังเกต ผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การจ้างงานยังหดตัว ห่วงคนทำงานภาคเกษตร รัฐบาลต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเกษตรกรซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและภัยแล้ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาลในปีลิง

      วันนี้ รศ.ดร. ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์  ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยข้อมูลผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาส 3 ของปี 2558 จากภาพรวมของการจ้างงานพบว่า มีการจ้างงานโดยรวม 38.33 ล้านคนเศษ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.2 หรือประมาณ 90,000 คนเศษ ซึ่งสาขาที่เพิ่มน้อยที่สุดคือ ผู้จบ ป.ตรี (ร้อยละ 2.8) ตามมาด้วย ม. ปลาย ปวช. และ ปวส. ตามลำดับ ระดับการศึกษาที่การจ้างงานหดตัว ได้แก่ ผู้จบ ม. ต้น หรือต่ำกว่า คิดเป็นจำนวนที่ลดลง 0.72 ล้านคน โดยคนกลุ่มใหญ่เหล่านี้มีการจ้างงานอยู่ในภาคการเกษตรเป็นสำคัญไม่น้อยกว่า 0.5 ล้านคน ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ตามปกติ

     อัตราการว่างงานปี 2558เพิ่มขึ้นจากปี 2557 เป็น 0.36 ล้านคน หรือร้อยละ 0.9 โดยมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นมากกว่า 30,000 คนโดยคนที่ว่างงานครึ่งหนึ่งหรือ 0.18 ล้านคนยังไม่เคยทำงานมาก่อนหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือผู้จบการศึกษาใหม่ยังไม่ได้งานทำงานจำนวนมากโดยผู้ว่างงานที่กล่าวมามีภูมิหลังทางการศึกษาในระดับ ป.ตรี ว่างงานสูงที่สุดถึงร้อยละ 1.8 ขณะที่การว่างงานของแรงงานตามระดับการศึกษาอื่นๆอยู่ในช่วงเพียงร้อยละ 0.2-1.2 เท่านั้น

ตาราง  เปรียบเทียบการจ้างงานปี 2558 กับปี 2557 (ไตรมาส 3)

จำนวนการจ้างงาน
ระดับการศึกษา ปี 2558 ปี 2557 อัตรา เพิ่ม/ลด
มัธยมศึกษาตอนต้น (ม. ต้น) 24.433 25.155 -2.9
มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ปลาย) 4.693 4.477 +4.8
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 1.403 1.322 +6.1
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)/อนุปริญญา 1.920 1.776 +8.1
ปริญญาตรี (ป. ตรี) 5.079 4.943 +2.8
สูงกว่า ปริญญาตรี 0.802 0.747 +7.3
รวม 38.330 38.420 -0.2

ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาส 3 ปี 2557 และ 2558

    อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาจากจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มจาก 24.82 ล้านคนในปี 2557 เป็น 25.23 ล้านคนในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ซึ่งไม่เพียงพอที่จะชดเชยการลดลงของการจ้างงานในภาคเกษตรซึ่งหดตัวถึงร้อยละ 3.8

   เมื่อแปรียบเทียบระหว่างการจ้างงานรายสาขาย่อยปี 2558 กับไตรมาสเดียวกันของปี 2557 พบว่ามีสาขาขยายตัว 28 สาขาและสาขานอกการเกษตรที่หดตัว 17 สาขา สาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 5 ลำดับแรกคือ เภสัช เคมีภัณฑ์ใช้รักษาโรค สาขาอสังหาริมทรัพย์ เหมืองแร่และเหมืองหิน ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม และบริการซ่อมและติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ ส่วนสาขาที่มีการจ้างงานหดตัวมากที่สุด 5 ลำดับแรกคือ การบริหารจัดการน้ำฯ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ไฟฟ้า ก๊าซไอน้ำและระบบปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้า

    จากข้อมูลข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าการที่เศรษฐกิจของไทยมีการเติบโตอย่างช้าๆในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อความสามารถในการจ้างงานของประเทศในการดูดซับแรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่และเก่า ถึงแม้ภาพรวมการมีงานทำจะลดลงไม่ถึง 1 แสนคน แต่ที่ถูกกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มคนที่ทำงานในสาขาเกษตรลดลงจากปีก่อนมากกว่า 5 แสนคน หรือมากกว่าร้อยละ 3 ทำให้รัฐบาลต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเกษตรกรซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและภัยแล้งซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาลในปีลิง.

 

เผยแพร่โดย

ทีมสื่อสารสาธารณะ-ทีดีอาร์ไอ

โทร.0-2270-1350 ต่อ 113 หรือ 083-0648163

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!