WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Bไทยคิคูวา

สำเร็จ! รมว.สุชาติ ส่ง อธิบดีนิยม กาวใจ ข้อพิพาทระหว่างบริษัท ไทยคิคูวาฯ กับสหภาพแรงงาน ชลบุรี ยุติ

รมว. สุชาติ มอบหมายให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นำทีมลงพื้นที่ จ.ชลบุรี ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างผู้แทนบริษัท ไทยคิคูวา อินดัสทรีส์ จำกัด กับผู้แทนลูกจ้าง ผู้แทนสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ภายใต้หลัก “แรงงานสัมพันธ์ที่ดี” ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องยุติข้อพิพาทและทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน พร้อมเดินหน้าจับมือทำงานร่วมกันต่อไป

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง กรณีข้อพิพาทแรงงาน ระหว่างบริษัท ไทยคิคูวา อินดัสทรีส์ จำกัด กับสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ชลบุรี ว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ผมได้มอบหมายให้ นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นำทีมงาน ลงพื้นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างบริษัท ไทยคิคูวา อินดัสทรีส์ จำกัด กับสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

โดยได้ใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 จนมาถึงวันที่ 31 มกราคม 2566 เพื่อให้เกิดการเจรจาระหว่างนายจ้างที่มีอำนาจตัดสินใจกับลูกจ้างภายใต้หลัก “แรงงานสัมพันธ์ที่ดี” กระทั่งสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันจนเป็นที่ยุติของทั้งสองฝ่าย สามารถทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างร่วมกัน

ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์บนพื้นฐานของ ‘แรงงานสัมพันธ์ในมิติของภาคี’ โดยมีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นกาวใจให้ทั้งสองฝ่ายผสานใจด้วยความเข้าอกเข้าใจ เพื่อจับมือเดินหน้าก้าวต่อไปอย่างราบรื่นและสัมฤทธิ์ผล

ด้าน นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า ผมได้ลงพื้นที่ร่วมกับผู้ตรวจราชการกรม สค.ชลบุรี พนักงานประนอมฯ สรส. สสค.ชลบุรี ให้เป็นผู้แทนกระทรวงแรงงาน ร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างบริษัทกับสหภาพแรงงาน ซึ่งผลสรุปที่ได้คือทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าจะยุติข้อพิพาทและทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน มีสาระสำคัญ ได้แก่ บริษัทฯ ตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2565 – 2567,ปรับค่าจ้างประจำปี 2566 – 2568, ปรับเพิ่มค่าครองชีพ และปรับปรุงระเบียบว่าด้วยเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

โดยมีผลบังคับ ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2568 และตามเงื่อนไขความตกลงของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ผมขอเน้นย้ำให้นายจ้าง ลูกจ้างใช้การเจรจาร่วมกันด้วยเหตุผล โดยนายจ้างควรชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อทำความเข้าใจกับลูกจ้างอย่างตรงไปตรงมา โดยยึดหลักสุจริตใจ และขอให้ทั้งสองฝ่ายคำนึงถึงสิทธิ หน้าที่ภายใต้กรอบของกฎหมายและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วย

 

Click Donate Support Web  

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!