WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3สุชาติ ชมกลิ่น4

รมว.แรงงานรับข้อสั่งการนายก เร่งนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MoU แก้ปัญหาขาดแรงงาน เริ่ม 1 ธ.ค. 64

      นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยและติดตามสถานการณ์ปัญหาลักลอบเข้าเมืองอย่างใกล้ชิด โดยมีข้อสั่งการให้กระทรวงแรงงานเตรียมวิธีการนำเข้าแรงงานตาม MoU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว พร้อมกับเตรียมความพร้อมให้นายจ้าง และสถานประกอบการในประเทศมีแรงงานในกิจการเพียงพอ สอดรับกับการเปิดประเทศ

    “กระทรวงแรงงานรับข้อสั่งการท่านนายกรัฐมนตรี ขอยืนยันว่าขณะนี้มีความพร้อมที่จะนำเข้าแรงงานตาม MoU แล้ว โดยจะเปิดให้นายจ้างยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (Demand) วันที่ 1 ธ.ค. 64 นายจ้างที่มีความพร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดหาสถานที่กักตัวสามารถดำเนินการได้ทันที โดยมีค่าใช้จ่ายรวมในการนำเข้าฯ ระหว่าง 11,490 – 22,040 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ในส่วนคนต่างด้าวหากยังฉีดวัคซีนไม่ครบ กระทรวงแรงงานจะเป็นผู้จัดหาวัคซีน และฉีดให้ในวันสุดท้ายของการกักตัว และจะประสานสาธารณสุขจังหวัดปลายทางเพื่อนัดหมายฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 แก่คนต่างด้าวด้วย” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว   

TU580x400

     ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย 8 ขั้นตอนนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU โดยมีขั้นตอน ดังนี้

          1.นายจ้างยื่นแบบคำร้องกับสำนักงานจัดหางานในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ แบบ นจ.2 หนังสือแต่งตั้ง สัญญาจ้างงาน และเอกสารนายจ้าง

          2.การจัดส่งคำร้องความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว โดยกรมการจัดหางาน/สจจ. สจก. 1-10 มีหนังสือแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทยไปยังประเทศต้นทาง

  1. ประเทศต้นทางดำเนินการรับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และจัดทำบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าว (Name List) ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานเอกอัครราชทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทย และกรมการจัดหางานส่งให้นายจ้าง
  2. นายจ้างที่ได้รับบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว (Name List) แล้วยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                   4.1 บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ประเทศต้นทางรับรอง

                   4.2 แบบ บต.31 หรือ บต.33 พร้อมเอกสารและหลักฐาน

                    4.3 หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อมาก่อนในช่วงไม่เกิน 3 เดือน

                   4.4 หนังสือยืนยันการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการกักตัว ได้แก่ ค่าสถานที่กักกัน ค่าตรวจโรคโควิด-19 ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารักษากรณีติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงกรณีป่วยฉุกเฉินหรือโรคอื่นระหว่างกักตัว/กรมธรรม์ที่คุ้มครองการรักษาโรคโควิด -19

                   4.5 หลักฐานยืนยันว่ามีสถานที่กักตัวตามที่ราชการกำหนด

                   4.6 หลักฐานที่ยืนยันว่ามียานพาหนะเพื่อรับคนต่างด้าวไปยังสถานที่กักตัว

                   4.7 กรณีเข้าประกันสังคมซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัย 4 เดือน

                   4.8 กรณีเข้าประกันสังคม นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน

                     - ชำระค่าคำขอและค่าใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) 1,900 บาท

                   - วางเงินประกัน (กรณีนายจ้างดำเนินการด้วยตนเอง) หลักประกัน 1,000 บาท/คนต่างด้าว 1 คน

sme 580x400

  1.         กรมการจัดหางานมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทางของคนต่างด้าวเพื่อพิจารณาออกวีซ่า (Non - Immigrant L-A) ให้แก่คนต่างด้าวตามบัญชีรายชื่อ และหนังสือแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่ออนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองตามที่นายจ้างได้แจ้งไว้ โดยจะอนุญาตให้นำเข้าตามจำนวนสถานที่รองรับในการกักตัว
  2. เมื่อคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรต้องแสดงหนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงาน ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าไม่เป็นโรคโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR และ ATK (ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง) หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อในช่วงไม่เกิน 3 เดือน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เป็นระยะเวลา 2 ปี จากนั้นจึงเดินทางไปยังสถานที่กักตัว โดยยานพาหนะที่นายจ้างแจ้งไว้ (ไม่เดินทางร่วมกับบุคคลอื่น และหยุดพัก ณ สถานที่ใดๆ ก่อนถึงสถานที่กักกัน)
  3.        คนต่างด้าวต้องเข้ารับตรวจสุขภาพ 6 โรคเป็นขั้นตอนแรก หากพบเป็นโรคต้องห้ามจะส่งกลับประเทศต้นทาง เพราะไม่สามารถอนุญาตให้ทำงานได้ตามกฎหมาย หากไม่พบเป็นโรคต้องห้ามจะเข้าสู่กระบวนการกักตัว และตรวจหาเชื้อโควิด - 19 ด้วยวิธี RT - PCR ดังนี้
  4.        คนต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนมาจากประเทศต้นทางครบแล้วเข้ารับการตรวจสุขภาพ 6 โรค หากตรวจผ่าน กักตัวอย่างน้อย 7 วัน และตรวจหาเชื้อโควิด - 19 จำนวน 2 ครั้ง
  5.        คนต่างด้าวที่ยังไม่ฉีดวัคซีนหรือฉีดวัคซีนแล้วแต่ยังไม่ครบเข้ารับการตรวจสุขภาพ 6 โรค หากตรวจผ่าน กักตัวอย่างน้อย 14 วัน และตรวจหาเชื้อโควิด - 19 จำนวน 2 ครั้ง โดยกระทรวงแรงงานจะสนับสนุนวัคซีนเพื่อดำเนินการฉีดให้แก่คนต่างด้าว ทั้งนี้ กรณีตรวจพบเชื้อโควิด - 19 ให้เข้ารับการรักษา โดยนายจ้างหรือประกันสุขภาพที่นายจ้างซื้อไว้ให้เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา จากนั้นเมื่อตรวจไม่พบเชื้อแล้ว จึงฉีดวัคซีนให้แก่คนต่างด้าว และให้นายจ้างรับคนต่างด้าวไปยังสถานประกอบการ
  6. คนต่างด้าวรับการอบรมผ่านระบบ Video Conference ณ สถานประกอบการ เมื่อผ่านการอบรมแล้ว คนต่างด้าวรับใบอนุญาตทำงาน โดยการอนุญาตให้ทำงานจะเริ่มจากวันที่คนต่างด้าวได้รับการตรวจลงตรา (วีซ่า) ให้เดินทางเข้ามาในประเทศ

QIC 580x400

รมว.แรงงาน เตือน ห้ามใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย หลัง 30 พ.ย. นี้ 'ตรวจเจอ จับจริง'

     กระทรวงแรงงาน เตือนนายจ้าง/สถานประกอบการ ไม่ใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ย้ำมีโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง หลังดำเนินการตามมติครม.

    นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน มอบหมายกระทรวงแรงงานบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 อย่างเป็นระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้าง/สถานประกอบการ ที่ขาดแคลนแรงงาน

     พร้อมกับควบคุมป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมติครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา เห็นชอบให้กระทรวงแรงงานดำเนินการตรวจสถานที่ก่อสร้าง สถานประกอบการ โรงงาน และสถานที่ทำงาน เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขแก่นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว เป็นระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พ.ย. 64 เก็บตกแรงงาน 3 สัญชาติ ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้ดำเนินการเข้าสู่ระบบการจ้างงานตามกฎหมายประเทศไทย และได้รับการดูแลตามสิทธิที่พึงมี

ais 580x400

    “ภายหลังจาก 30 พ.ย. 64 กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งมีทั้งฝ่ายปกครอง ทหาร และตำรวจ จะตรวจสอบ ปราบปรามจับกุมและดำเนินคดีคนต่างด้าวทำงานผิดกฎหมายฯอย่างจริงจัง หากตรวจพบการกระทำผิดกฎหมายนายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หากทำผิดซ้ำมีโทษถึงจำคุก และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานอีก 3 ปี ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งตัวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้จนกว่าจะพ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

     นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาท่านรัฐมนตรีสุชาติมีนโยบายให้กระทรวงแรงงานพร้อมปรับเปลี่ยนมาตรการ ตลอดจนระเบียบและประกาศต่าง ๆ ของกระทรวงฯให้มีความยืดหยุ่นสอดรับกับสถานการณ์ เพื่อบริหารจัดการให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยสามารถเข้าสู่ระบบการจ้างงานในประเทศไทยอย่างถูกต้อง และมีสวัสดิการต่างๆ ตามสิทธิ ไม่ต้องอยู่อย่างหลบซ่อน

      โดยเสนอครม.เพื่อมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 63 ให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา อยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษภายใต้สถานการณ์โควิดระลอกใหม่ โดยให้นายจ้างที่จ้างแรงงานข้ามชาติ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งทำให้แรงงาน 3 สัญชาติ กว่า 4 แสนรายได้รับอนุญาตทำงาน ต่อมาเสนอครม.เพื่อมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 64 ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่แล้ว

     หรือเคยได้รับอนุญาตทำงาน แต่ไม่สามารถดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานตามขั้นตอนปกติเนื่องจากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานได้ต่อไป   ถึงวันที่ 13 ก.พ. 66 หรือ 2 ปี นับแต่วันที่การอนุญาตเดิมสิ้นสุด รวมทั้งขยายเวลาการหานายจ้างจาก 30 วัน เป็น 60 วัน ซึ่งทำให้แรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานกว่า 1 แสนคน ช่วยแก้ปัญหาให้นายจ้างที่ขาดแคลนแรงงาน และลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก 

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C J

sme 720x100
GC 790x90


QIC 720x100

ais 720x100  

เจนเนอราลี่

TU720x100

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!