WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa1สุชาติ พรชัยวิเศษกุล

กกจ. ย้ำ นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวทำงาน ต้องแจ้งการเข้า-ออก ทำงานของคนต่างด้าว ต้องดำเนินการภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่จ้างและ แรงงานต่างด้าว หากออกจากงาน ทุกคน ชี้ ทำได้ผ่านระบบออนไลน์ Application E-Inform

      นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เผย ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะการทำงานของแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการเกิดขึ้นของสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบถึงข้อจำกัดในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย และพบว่าขณะนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการแจ้งเข้า-ออกจากงานของคนต่างด้าว

        “เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง กรมการจัดหางาน ขอย้ำ การดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 เรื่อง การแจ้งเข้า-ออก แรงงานต่างด้าว ให้นายจ้างที่จ้างคนต่างด้าวทำงานอยู่ในประเทศไทย 4 ประเภทนี้ ทราบว่า

      1.คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตาม MoU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี กรณีที่คนต่างด้าวยังคงทำงานกับนายจ้างรายเดิม นายจ้างรายนั้นไม่ต้องแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 13 และมาตรา 46 กรณีคนต่างด้าวเปลี่ยนไปทำงานกับนายจ้างรายใหม่ นายจ้างรายเดิมมีหน้าที่แจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 13 และมาตรา 46

       2.คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตาม MoU ที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุด ตาม ม.50 ม.53 และม.55 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (อาทิ นายจ้างรายเดิมเลิกจ้างและคนต่างด้าวหานายจ้างรายใหม่ไม่ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น) กรณีคนต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดลง และคนต่างด้าวยังคงยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานกับนายจ้างรายเดิม (ช่วงเวลาที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุด คนต่างด้าวไม่ได้ทำงาน) นายจ้างรายนั้นไม่ต้องแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 13 และมาตรา 46 และไม่มีความผิดฐานให้คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน กรณี คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายใหม่ นายจ้างรายเดิมยังมีหน้าที่แจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 13 และมาตรา 46

       3.คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ แต่ไม่ได้ดำเนินการตามมติ ครม.20 สิงหาคม 2562 กรณีคนต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดลง และคนต่างด้าวยังคงยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานกับนายจ้างรายเดิม (ช่วงเวลาที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุด คนต่างด้าวไม่ได้ทำงาน) นายจ้างรายนั้น ไม่ต้องแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 13และไม่มีความผิดฐานให้คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ส่วนกรณี คนต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายใหม่ นายจ้างรายเดิมยังมีหน้าที่แจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าว

       4.คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา กลุ่มที่ใช้บัตรผ่านแดน (Border Pass) ที่เข้ามาทำงานตาม ม.64 ถ้าแรงงานต่างด้าวทำงานกับนายจ้างรายเดิม นายจ้างรายนั้นไม่ต้องแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าว แต่หากคนต่างด้าวเปลี่ยนไปทำงานกับนายจ้างรายใหม่ นายจ้างรายเดิมมีหน้าที่แจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าว” นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล กล่าว

        อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวเพิ่มเติมว่า การแจ้งเข้า-แจ้งออก การทำงานของแรงงานต่างด้าว เป็นความรับผิดชอบของนายจ้าง  แม้ว่าแรงงานออกจากนายจ้าง ไม่ได้ทำงานอยู่ด้วยแล้ว หรือ ไม่อยู่ในประเทศแล้ว  จึง ขอความร่วมมือให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะหากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท อย่างไรก็ดี กรมการจัดหางาน มีระบบบริการแจ้งการจ้างคนต่างด้าว และแจ้งคนต่างด้าวออกจากงานผ่าน ออนไลน์ Application E-Inform ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2562 เพื่ออำนวยความสะดวก และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ไลน์ @service_workpermit หรือสายด่วนกระทรวงแรงงานโทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือ นายจ้างสามารถแจ้งการเข้า-ออกจากงานของคนต่างด้าวได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือที่สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ในเขตพื้นที่ที่เป็นสถานที่ตั้งของสถานประกอบการที่คนต่างด้าวทำงานอยู่

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!