WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คสช.จัดทำบุญในงานสร้างความปรองดอง 22-27 ก.ค. นี้ เผยงานปรองดองวาระสองจะลดความถี่ลง แต่เน้นสาระมากขึ้น
      พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผอ.ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฎิรูป และผู้แทนกระทรวงต่างๆ รวมทั้งพรรคการเมือง11พรรค เช่น คุณหญิงกัลยา โสภณพานิชย์ พรรคประชาธิปัตย์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช พรรคเพื่อไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย นายวีรกานต์ มุกสิกพงศ์ นายสุภรณ์ อัตาถาวงศ์ แกนนำนปช. ร่วมกันตักรบาตรพระสงฆ์99รูป ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ใช้ชื่องานว่า "มหกรรมสร้างความปรองดองสมานฉันท์คืนความสุขให้คนในชาติ" โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่22-27กรกฎาคม และในช่วงเย็นวันนี้ปลัดกระทรวงกลาโหมจะเป็นประธานเปิดงานอย่างเป็นทางการ
     พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผอ.ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฎิรูป กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้เป็นไปด้วยควมเรียบร้อย ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือ ความขัดแย้งในปัจจุบันนี้แทบจะหมดไป ขณะนี้ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฎิรูปได้ทำงานมาร่วม2เดือนแล้ว และถือว่ากำลังจะจบในวาระแรก ทั้งนี้กำลังรวบรวมข้อมูลทั้งหมดส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ก่อนที่จะเข้าสู่ระยะที่ 2 โดยเรื่องหลักๆที่ประชาชนต้องการให้มีการปฎิรูปคือ เรื่องเศรษฐกิจ การครองชีพ ทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดีกินดี สามารถดำรงชีพได้ในชุมชนของตัวเอง รวมถึงการสร้างความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งด้านสังคม จิตวิทยา โดยจะสรุปข้อมูลทั้งหมดให้ตรงกับความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด เพื่อนำไปถกเถียงกันในสภาปฎิรูป ที่กำลังจัดตั้งขึ้นในเร็ววันนี้ ทั้งนี้ตนรู้สึกพอใจ เพราะทุกภาคส่วนให้การตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นวาระแห่งชาติ
      พล.ท.กัมปนาท กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดกิจกรรมคืนความสุขให้ประชาชนนั้นจะค่อยๆลดความถี่ลงเมื่อเข้าสู่ระยะที่2 เพราะเราจะเน้นในเนื้อหาสาระมากขึ้นและจะเปิดเวทีให้แต่ละกลุ่ม แต่ละฝ่ายมาแสดงความคิดเห็น ว่าอยากให้ คสช. ทำอะไร โดยจะให้มีแม่ทัพภาครับผิดชอบในการเปิดเวทีดังกล่าว ในส่วนของตัวเองก็จะเดินทางไปร่วมกิจกรรม ส่วนจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่นั้น เรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับตน ซึ่งจะต้องนำไปพูดคุยกันในสภาปฎิรูปว่าต้องการให้มีการนิรโทษกรรมหรือไม่ เพราะบางคนติดคุกมา2-3ปี ก็ไปพูดคุยกันว่าถึงเวลาหรือยังที่จะนิรโทษกรรม อย่างเช่น กรณี เนลสัน แมนแดลลาอดีตประธานธิบดีแอฟริการใต้ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองจนถูกจำคุกกว่า 20 ปี ก่อนที่จะได้รับการนิรโทษกรรมในภายหลัง ทั้งนี้การนิรโทษกรรม มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นแรกคือกระบวนการพิสูจย์หาข้อเท็จจริง และ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลประทบ สุดท้ายคือการนำไปสู่การนิรโทษกรรม แต่ที่ผ่านมาในสังคมไทย มีปัญหาไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรม ซึ่งก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องไปพูดกันในสภาปฎิรูป เรื่องการยอมรับของคนในสังคม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!