- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Thursday, 24 August 2017 09:47
- Hits: 8127
CA รูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่นำธุรกิจพร้อมรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวยืดหยุ่น เน้นอัตโนมัติ งานรักษาความปลอดภัย และข้อมูลเชิงลึก คือหัวใจของกลยุทธ รูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ (Modern Software Factory)
นิค ลิม รองประธานบริษัทซีเอ เทคโนโลยี ประจำกลุ่มประเทศชาติสมาชิกอาเซียน และกลุ่มประเทศจีน ได้ร่วมแชร์แนวคิดในการกล่าวเปิดงาน Built to Change Solution Day ชี้ประเด็นที่ทุกธุรกิจต้องปรับใช้กลยุทธ รูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ (Modern Software Factory) เพื่อเร่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และพร้อมรับมือกับทุกเหตุการเปลี่ยนแปลง
บริษัทและองค์กรต่างๆ ในทุกวันนี้ ต้องรับมือกับความพลิกผันเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิตอลตลอดเวลา ส่งผลกระทบต่อ ผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจทางธุรกิจทุกระดับนับตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดไปจนถึงพนักงานที่กำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ในบริษัทและหน่วยงานตามแผนกต่างๆ ทุกคนมีเวลาน้อยลงทุกทีที่จะบ่มเพาะไอเดียใหม่ๆ พัฒนานวัตกรรม หรือนำเสนอโซลูชั่น ระดับสุดยอดต่อลูกค้า
ด้วยเหตุนี้เอง เรื่องที่ท้าทายที่สุดก็คือการสร้างและนำเสนอรวมทั้งปรับปรุง นวัตกรรมที่เน้นหนักไปที่ตัวลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและทำต่อเนื่องตลอดเวลาได้กลายมาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น โดยธุรกิจในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าซอฟต์แวร์คือหัวใจหลักในการสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน โดยเมื่อเร็วๆนี้ในงานCA World? ’16 ไมค์ เกร็กกัวร์ ซีอีโอ บริษัทซีเอ เทคโนโลยีได้คาดการณ์เอาไว้ว่า บริษัทที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตจะต้องสร้างเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ โดยนำเอาซอฟต์แวร์เข้ามาเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำ
ตามวิสัยทัศน์ของนิค ลิม การสร้างสรรค์เพื่อให้คงอยู่และรองรับอนาคตที่กำลังมาถึง บริษัทต่างๆจำเป็นที่จะต้องใช้แนวคิดสร้างเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง โดยบริษัทที่นำแนวคิดนี้ไปใช้จะต้องลดปัญหาที่เป็นอุปสรรคในทุกระดับ และเน้นหนักไปที่ผลลัพธ์ที่ได้มากกว่ากระบวนการ นอกจากนี้ยังจะต้องนำแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างยืดหยุ่นและหลักการลงทุนแบบเน้นประหยัดมาใช้งานอีกด้วย ที่สำคัญที่สุดก็คือ องค์กรที่สามารถปรับตัวอย่างยืดหยุ่นและขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์อย่างแท้จริงจะต้องเป็นบริษัทที่เน้นความสำคัญไปที่ตัวลูกค้าเป็นหลักโดย พัฒนาเส้นทางปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนับตั้งแต่การออกแบบโปรดักส์ไปจนถึงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าในทุกระดับขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
การจะนำเสนอประสบการณ์ของลูกค้าที่เหนือกว่าด้วยความไวในการบริการ พร้อมปรับขนาดสเกลของงาน และความเสถียรในการใช้งาน ที่ต้องเน้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้นบริษัทที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือและทักษะ รวมทั้งกระบวนการทำงาน ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง รูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ (Modern Software Factory)จะช่วยให้ทุกองค์กรมีขีดความสามารถในการสร้างธุรกิจที่ยืดหยุ่น สร้างแอพพลิเคชั่นที่ดีกว่าเก่า เร็วกว่าเก่าและทำให้การรักษาความปลอดภัยกลายมาเป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน ไปจนถึงการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดจากแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน
“ทุกธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ ที่จะเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆมาสู่ประสบการณ์การใช้งานที่สุดยอดสำหรับลูกค้า” นิค ลิม กล่าวพร้อมกับเสริมว่า“ความยืดหยุ่นคล่องตัว ระบบอัตโนมัติ ข้อมูลเชิงลึกและระบบรักษาความปลอดภัย ทั้งหมดนี้คือพื้นฐานสำคัญของแบบพิมพ์เขียวไปสู่ความสำเร็จในการนำซอฟต์แวร์ไปใช้เพื่อเอาชนะตลาด โดยบริษัทซีเอ เทคโนโลยีได้ช่วยให้บริษัทต่างๆได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล และสร้างรูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ (Modern Software Factory)ที่มีขีดความสามารถทั้งในด้าน Agile, DevOps และการรักษาความปลอดภัย
แบบพิมพ์เขียวของบริษัทธุรกิจ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในยุคแอพพลิเคชั่น ด้วยการใช้รูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ (Modern Software Factory) จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาด โดยโซลูชั่นของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีทั้งในด้านAgile, DevOps และการรักษาความปลอดภัย จะรองรับสนับสนุนแผนงานในการสร้างองค์กรบริษัท ที่พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงและสามารถพัฒนานำเสนอโซลูชั่นซอฟต์แวร์ของตนเองต่อลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ผลสำรวจชี้ไทยก้าวนำ ด้านการใช้ API ในชาติอาเซียน และเป็นอันดับ 2 ในชาติเอเชีย-แปซิฟิก
แต่ยังเผชิญอุปสรรคสำคัญ ด้านการร่นระยะเวลาสู่ตลาด หลังจากการใช้งาน API
ผลจากการสำรวจวิจัยระดับโลกโดยบริษัทซีเอ เทคโนโลยีชี้ให่้เห็นว่าประเทศไทยก้าวเป็นผู้นำในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านการใช้งานAPI หรือ Application Programming Interface แล้วโดยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ปัจจุบันได้ใช้งาน APIแล้วในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล
การสำรวจนี้ใช้ชื่อว่า API สู่การสร้างความเชื่อมโยงทางธุรกิจในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น (APIs: Building a Connected Business in the App Economy ) ได้นำข้อมูลวิเคราะห์จากการตอบแบบสอบถามจากบรรดาผู้บริหารระดับสูงทางธุรกิจและผู้บริหารไอทีจำนวน 1770 รายทั่วโลก โดยมี 799 ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น(APJ) โดยรวมประเทศไทยด้วย ผลการสำรวจนี้มุ่งเป้าไปที่หาข้อมูลเชิงลึกว่า องค์กรบริษัทต่างๆสามารถนำ API เข้ามา ขยายธุรกิจของตนในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นอย่างไรบ้าง
นอกจากที่ประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับสูงสุดในด้านอัตราการใช้งาน API ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้แล้ว บริษัท หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยยังได้รับผลตอบแทนมหาศาลตามการวัดค่า KPIs เชิงปริมาณ จากการลงทุนลงแรงในด้าน API โดยตัวผลการสำรวจได้ระบุดังนี้
? สามารถลดจำนวนความล้มเหลวของ การตรวจสอบที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบภาครัฐ ลงได้ 55 เปอร์เซ็นต์
? ลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่เกี่ยวข้อง 55 เปอร์เซ็นต์
? เพิ่มความพอใจของลูกค้าได้ 53 เปอร์เซ็นต์
? เพิ่มปริมาณยอดการทำธุรกรรม 53%
? เพิ่มความพอใจในการทำงานกับ ของพาร์ตเนอร์และคู่ค้า 52 เปอร์เซ็นต์
อัตราการปรับปรุงพัฒนานี้ยังจัดว่าสูงที่สุดในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ สูงที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น โดยอยู่อันดับรองจากประเทศอินเดียและยังจัดว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ซึ่งที่อยู่ที่ 43-44 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละการวัด KPIs
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับคะแนนที่ดีในด้านการใช้งาน API แต่บริษัทและองค์กรต่างๆ ยังคงตามหลังในเรื่องของ การนำโปรดักต์ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วโดย ในแง่นี้มีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้นเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ ในด้านของเวลาที่ใช้ในการพัฒนาโปรดักต์ ทดสอบและออกแอพพ์ใหม่ๆ มาสู่ตลาดและอัตรานี้ เป็นการวัดหลังการใช้งาน API ด้วยซึ่งจัดว่าอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นซึ่งอยู่ที่ 21 เปอร์เซ็นต์
จะเห็นว่า เป้าหมายการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จาก APIs นั้น เส้นทางการพัฒนาก็มีอุปสรรคด้วยเช่นกัน ซึ่งแตกต่างออกไปตามแต่ละประเทศ โดยในประเทศไทยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ยังขาดทรัพยากรแรงงานที่มีทักษะฝีมือในการนำประโยชน์จากการใช้งาน API มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่มีอีก 41 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า คือปัญหานี้ รวมกับปัญหาขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ API ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่อีกส่วนระบุว่ามีปัญหาในด้านขีดความสามารถในการปรับขยายขนาดตามการใช้งานหรือการบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงานโดย 2 อันหลังนี้จะ มีผู้ตอบแบบสอบถามระบุไว้ในอัตรา 37 เปอร์เซ็นต์
"ความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นปัจจุบัน หมายความว่าการเชื่อมโยงโปรดักต์ที่มีให้ตรงกับความต้องการจำเป็นของลูกค้า เชื่อมโยงลูกค้ากับการใช้งาน app ในอุปกรณ์ต่างๆและเชื่อมโยงบริษัทองค์กรหน่วยงานต่างๆให้เข้ากับ ระบบทำงานกับพาร์ตเนอร์เป็นเรื่องสำคัญ โดย APIจะเป็นตัวตั้งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบจิตอลและเป็นศูนย์กลางประสานงานสำคัญที่ช่วยให้การเชื่อมต่อต่างๆสามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและมีความรักษาความปลอดภัย ในขณะที่นำเสนอบริการที่มีคุณภาพได้" นิค ลิม รองประธานภูมิภาคอาเซียนและจีน และภูมิภาครายรอบจีน บริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าว
ข้อดีของการบริหารจัดการ API ระดับสูง
ผลการศึกษาด้านความพร้อมของรูปแบบการจัดการ API ได้ประเมินพิจาณณาว่า บริษัทและองค์กรต่างๆได้มีการใช้งานโปรแกรมทูลและเทคโนโลยี ระบบต่างๆ รวมทั้งขั้นตอนการทำงานและศักยภาพที่จำเป็นที่จะต้องมีในการบริหารจัดการ API อย่างครบถ้วนครบวงจรอย่างไรบ้างโดย จุดนี้จะเป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการ API ครบวงจรที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการพัฒนาระบบ API นับตั้งแต่ ขั้นตอนจากแนวคิดเริ่มต้น ไปสู่การใช้ประโยชน์ในขั้นปลาย
จากผลการสำรวจนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพ API ขั้นสูงมากที่สุดหรือ 63 เปอร์เซ็นต์ ตามติดประเทศอินเดียและอินโดนีเซียและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่อยู่ที่ 55 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการใช้งานระบบบริหารจัดการ API แบบครบวงจรแล้วนั้น ได้มีการใช้งานตามศักยภาพด้านต่างๆ อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ เช่นการเชื่อมต่อระบบเดิมเข้ากับระบบใหม่ที่ใช้งาน การสร้างAPI อย่างรวดเร็วเพื่อที่ จ ส่งต่อข้อมูลในระบบได้อย่างปลอดภัย การเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบแบคเอนด์และ แอพพลิเคชั่นเดิมที่ใช้งานอยู่ การปกป้องการเชื่อมต่อที่มีด้วยระดับรักษาการความความปลอดภัยที่ถูกต้องเหมาะสม การเร่งการพัฒนา ด้านโมไบล์ การใช้ประโยชน์จากระบบดิจิตอลที่เกี่ยวข้องด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูงและการสร้างรายได้อื่นๆ
"น่าประทับใจอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นมีการบรรลุผลระดับสูงทางด้านการบริหารจัดการ APIในประเทศไทยซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่าบริษัทต่างๆมีความตระหนักชัดเจนในความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในด้านศักยภาพระดับสูงเพื่อรองรับการใช้งานAPIอย่างครบวงจร ซึ่งส่งผลให้มีความสำเร็จและได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดงานที่จะต้องดำเนินการให้ลุล่วงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวทางธุรกิจและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรหน่วยงานบริษัทต่างๆ ที่จะแก้ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้นในการใช้งาน APIเพื่อให้มั่นใจว่าแนวคิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอลจะประสบความสำเร็จ" นิค ลิม รองประธานภูมิภาคอาเซียนและจีน และภูมิภาครายรอบจีน บริษัทซีเอ เทคโนโลยีกล่าวเสริม
เกี่ยวกับบริษัทวิจัย Coleman Parkes
รายงานการสำรวจชิ้นนี้ดำเนินงานโดยบริษัทวิจัย Coleman Parkes Research Ltd.ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2016 โดยผ่านการมอบหมายจากบริษัทซีเอ เทคโนโลยี โดยการสำรวจครั้งนี้ได้เก็บข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงทางธุรกิจและผู้บริหารไอทีจำนวน 1770 รายจากบริษัทเอ็นเตอร์ไพรส์ขนาดใหญ่ใน 10 ประเภทอุตสาหกรรม จาก 21 ประเทศโดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 799ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นซึ่งครอบคลุมถึง ประเทศออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดียญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย
บริษัทวิจัย Coleman Parkes ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยให้บริการการวิจัยการตลาดแบบเน้นปฏิบัติในระดับโลกโดยบริษัทนำเสนอบริการการวิจัยเต็มรูปแบบ รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาในตลาดต่างๆโดยเน้นที่การวิจัยเชิงธุรกิจต่อธุรกิจ ซึ่งเน้นหนักในด้านไอทีเทคโนโลยีและการสื่อสารต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่เว็บไซต์ของบริษัทwww.coleman-parkes.co.uk.
เกี่ยวกับ ซีเอ เทคโนโลยี
ซีเอ เทคโนโลยี (NASDAQ: CA) เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเพื่อการบริหารจัดการไอที ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการและรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของระบบไอทีที่ซับซ้อนเพื่อรองรับการให้บริการธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และโซลูชั่นในกลุ่ม SaaS ของซีเอ เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและอัตลักษณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึงระบบคลาวด์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีเอ เทคโนโลยี ได้ที่ www.ca.com