คลื่นลูกต่อไปในการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร
ตามที่บริษัททำการวิจัยการตลาดอย่างไอดีซี (IDC หรือ International Data Corporation) ได้ระบุว่า การบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร (Enterprise Mobility) เป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิ[1] ด้วยตัวเลขเทคโนโลยีของการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนถือเป็นหนึ่งในสามอันดับแรกของความสำคัญสำหรับธุรกิจในภูมิภาคแห่งปี 2558[2]แม้ว่าผู้ใช้โดยเฉลี่ยจะมีการใช้งานทางด้านอีเมล์และเว็บไซต์เป็นหลัก องค์กรก็ยังไม่มีการเดินหน้าลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่างเต็มที่ เนื่องด้วยหลากหลายปัจจัย อาทิเช่น ประสบการณ์ของผู้ใช้ ค่าใช้จ่าย และการรักษาความปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็มีองค์กรจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่นำการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Device Management หรือ MDM) และการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร (Enterprise Mobility Management หรือ EMM) มาปรับใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมของการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ซึ่งจะช่วยผลักดันประสิทธิภาพการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ภายในองค์กรให้ไปสู่อีกขั้นที่ไกลกว่าที่องค์กรส่วนใหญ่สามารถได้ในขณะนี้
ในการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มรูปแบบนั้น องค์กรต้องมองหาข้อเสนอที่สมบูรณ์และครอบคลุมมากขึ้นที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นการในการใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นและการบริหารจัดการเนื้อหา รวมถึงการรักษาปลอดภัยของอีเมล์และแอพพลิเคชั่นสำหรับการช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานและในชีวิตประจำวัน สำหรับในระดับเชิงกลยุทธ์นั้น องค์กรต่างๆ กำลังดำเนินการในมุมมองของการใช้งานพื้นที่ทำงานแบบเคลื่อนที่ที่สามารถให้การเข้าถึงแอพพลิเคชั่น เดสก์ท็อป ข้อมูล และการบริการได้ไม่ว่าจะใช้งานจากที่ใด บนอุปกรณ์ใดๆ บนเครือข่ายใดก็ได้ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่สำคัญสำหรับทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้ ส่วนวิวัฒนาการของลักษณะการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กรนั้นกำลังมุ่งไปสู่แนวทางไอทีอย่างเรื่องการใช้งานอุปกรณ์มือถือและแอพพลิชั่นบนมือถือ
ในขณะที่ได้มีการนำสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตส่วนตัวเข้ามาใช้ในสถานที่ทำงาน ผนวกกับการที่พนักงานเรียกร้องให้องค์กรเปิดให้ทำการเข้าถึงอีเมล์และสินทรัพย์ในส่วนต่างๆ ขององค์กร เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้ทีมไอทีด้านระดับความปลอดภัยและการบริหารจัดการ กลยุทธ์แรกๆ ในการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กรนั้นได้มีกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงที่จำกัด ให้มีการจัดการแอพพลิเคชั่นสำหรับกรณีการใช้งานที่มีความระมัดระวังอย่างเคร่งครัดเท่านั้น ในเวลาต่อมา ทีมไอทีจำเป็นต้องตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย การนำการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (MDM) มาปฏิบัตินั้นสะท้อนให้เห็นถึงแผนทางเลือกสำหรับรูปแบบที่คุ้นเคย ยกตัวอย่างเช่น การที่ทีมไอทีต้องบริหารจัดการอุปกรณ์แบบเดียวกันกับอุปกรณ์ปลายทางอื่นๆ เช่น แล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อป ความต้องการที่หลากหลายและความท้าทายของปัญหาต่างๆ เหล่านี้ยังคงอยู่ ซึ่งโซลูชั่นที่นำมาใช้เพื่อรับมือนั้นได้เป็นตัวกำหนดสถานะปัจจุบันของการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร (EMM)
มุมมองความคิดการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร
ในขณะที่มุมมองขององค์กรในการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กรพัฒนาไปสู่อีกขั้น ปัญหาหลักทางไอทีไม่ได้มุ่งเน้นไปในทางบริหารจัดการอุปกรณ์ทั้งหมดเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันนี้กลยุทธ์การบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กรนั้นจะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการทำงานและการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนธุรกิจนั้นๆ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือการช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานบนระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อปอย่างราบรื่นโดยไม่ต้องลงทุนซื้อทุกแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานเดสก์ทอปที่ซ้ำซ้อนกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารควรที่จะสามารถแก้ไขและเพิ่มเติมเอกสารบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้โดยไม่จำเป็นต้องแอพพลิเคชั่นตัวเดียวกันติดตั้งซ้ำบนอุปกรณ์นั้นๆ
การจำลองสภาพแวดล้อมระบบคอมพิวเตอร์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งหมดอาจไม่ใช่ประเด็นหลักอีกต่อไป ในเมื่อทางเชิงกลยุทธ์ ในขณะนี้ผู้บริหารสูงสุดทางด้านไอทีขององค์กร (CIO) สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวในแง่ของพื้นที่การทำงานเคลื่อนที่ที่ให้การเข้าถึงขั้นตอนการทำงานส่วนบุคคลของทั้ง แอพพลิเคชั่น เดสก์ท็อป ข้อมูล และบริการที่ใดก็ได้บนอุปกรณ์ใดๆ ผ่านเครือข่ายใดๆ ก็ได้
การก้าวไปสู่อีกขั้นของการเป็นมากกว่าอุปกรณ์
ความหลากหลายของการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กรทำให้วงการไอทีจำเป็นต้องมีการเข้าถึงการบริหารจัดการที่ละเอียดถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น เครื่องมือในการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร(Enterprise Mobility Management หรือ EMM) นั้นทำให้ทีมไอทีสามารถจัดการกับแอพพลิเคชั่นมือถือและการใช้งานซอฟต์แวร์แอพพลิเคชันบนเว็บ(Software-as-a-Service หรือ SaaS) รวมถึงข้อมูลที่มีอยู่พร้อมทั้งการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และเครือข่ายขององค์กร แทนวิธีการจัดการอุปกรณ์ต่างๆ แบบองค์รวม ไอทีสามารถเลือกใช้และนำนโยบายต่างๆ มาใช้ได้โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิเช่น การใช้งานที่เฉพาะเจาะจง การสร้างตัวแทนของผู้ใช้ระบบ (User personas) บุคคลที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์นั่นๆ และความต้องการการใช้บริการที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละอุตสาหกรรมในแนวดิ่งนั่นๆ ท่ามกลางตัวแปรอื่นๆ
ยกตัวอย่างเช่น แพทย์สามารถเข้าถึงระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Medical Records หรือ EMRs) และแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับคลีนิคสถานพยาบาลบนแท็บเล็ตได้จากข้างเตียงผู้ป่วยในขณะที่ทำการเยี่ยมดูแลรักษาที่บ้านของผู้ป่วยได้ พนักงานงานร้านค้าปลีกสามารถตรวจสอบสินค้าคงคลังได้ ณ จุดขาย หรือสามารถรับการชำระเงินจากลูกค้าบนสมาร์ทโฟนได้ตามต้องการ ซึ่งกุญแจสู่ความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มหรืออุปกรณ์ประเภทใดที่รองรับการใช้งานนั้นๆ แต่สิ่งที่สำคัญคือความสามารถในการระบุกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานและข้อมูล และการสร้างบริการพิเศษอื่นๆ อีกมากมายเพื่อที่ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นทุกครั้งเมื่อต้องการ
ทุกสิ่งเป็นเรื่องของแอพพลิเคชั่นและประสบการณ์ของผู้ใช้
ปัจจุบัน แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือคิดเป็นประมาณร้อยละ 8 ของการใช้งานแอพพลิเคชั่นในองค์กร อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 องค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลกกว่าร้อยละ 50 ได้ลงทุนไปกับการยกระดับประสิทธิภาพความสามารถในการบริหารจัดการอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ภายในองค์กร (EMM) เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับแอพพลิเคชั่นและข้อมูลต่างๆ จำนวนแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรที่ถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยประโยชน์สูงสุดให้กับการใช้งานเคลื่อนที่คาดว่าจะเพิ่มเป็นสี่เท่าภายในปี 2559[3] ทีมไอทีจำเป็นต้องสามารถเปิดใช้งานบริการแบบfollow-me data ไปยังพื้นที่การทำงานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของพนักงานได้โดยการให้บริการทุกแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์ทุกชนิดได้ และสามารถให้พนักงานเข้าถึงวินโดวส์ เว็บไซต์ และการใช้งานซอฟต์แวร์แอพพลิเคชันบนเว็บ (SaaS)บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ของพวกเขาได้อย่างง่ายดาย
เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ของไอที ความพร้อมของระบบการใช้งานที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของเทคโนโลยี ผู้ให้บริการยังต้องจัดสรรความสามารถสำหรับการใช้งานด้วยคุณภาพในระดับองค์กร ซึ่งขณะเดียวกันยังต้องนำเสนอประสบการณ์ที่ผู้ใช้คุ้นเคย ไคลเอนต์อีเมล์ขององค์กรไม่สามารถกำหนดให้ผู้ใช้งานปรับเข้ากับรูปลักษณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากที่เคยใช้บน iOS หรือ Android แต่สิ่งที่จำเป็นคือต้องมีฟีเจอร์สำหรับใช้งานทางธุรกิจที่สำคัญ เช่นเดียวกับความสามารถในการแนบเอกสารเข้าไปในการเชิญหรือเข้าร่วมการประชุมที่ได้จากรายการบนปฏิทิน
การใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในระดับองค์กรกำลังเป็นกระแสหลัก
ความสามารถในการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในระดับองค์กรนั้นกำลังเป็นแนวโน้มที่สำคัญในวงการไอที หลายองค์กรกำลังมีการปรับเปลี่ยนธุรกิจในวันนี้โดยการนำโซลูชั่น EMMที่ครอบคลุมมาใช้เป็นองค์ประกอบหลักในส่วนของกลยุทธ์ในการส่งมอบพื้นที่ทำงานที่มีความปลอดภัย เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท การ์ทเนอร์วางซิทริกซ์ให้อยู่ในตำแหน่งLeaders ของการ์ทเนอร์ในรายงานวิจัยเรื่องMagic Quadrant ของปี 2558 ที่รายงานเกี่ยวกับชุดการทำงาน EMMติดต่อกันเป็นเวลาสี่ปี โดยประเมินว่า Citrix XenMobile เป็นโซลูชั่น EMMที่มีความครอบคลุมและยืดหยุ่นในการบริหารจัดการแอพพลิเคชั่น ข้อมูล และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มาพร้อมกับชุดแอพพลิชั่นทางธุรกิจบนโทรศัพท์มือถือ[4] ที่มีความหลากหลายและเปี่ยมประสิทธิภาพ
ด้วยการให้ความมั่นใจด้วยความปลอดภัยในการการเข้าถึงแอพพลิเคชั่น เดสก์ท็อป ข้อมูล และบริการได้ทุกที่ ผ่านทางเครือข่าย และบนอุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม ไม่จำกัดเพียงแค่ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ตได้ตามความต้องการ ทำให้องค์กรสามารถให้การสนับสนุนรองรับการทำงานนอกสถานที่ (Mobile Worker) ด้วยความอิสระและยืดหยุ่นในการให้ผู้ใช้งานเลือกวิธีการทำงานได้เอง บริการที่ช่วยบริหารจัดการและควบคุมการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ต่าง ๆ ภายในองค์กร (MDM) ได้เปลี่ยนจากโซลูชั่นกำหนดคุณสมบัติในเฉพาะหมวดหมู่ไปเป็นฟีเจอร์ประโยชน์ใช้สอยขนาดใหญ่ขึ้นด้วยโซลูชั่นแบบบูรณาการมากขึ้นและแพลตฟอร์มการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในระดับองค์กร ในขณะที่การส่งมอบความปลอดภัยของพื้นที่ทำงานนอกสถานที่ที่ถูกกำหนดโดย EMM ฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายอื่นๆ ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญยิ่ง ได้แก่ การซิงค์และการแชร์ไฟล์ขององค์กร การส่งแอพพลิเคชั่นที่มีความยืดหยุ่น ระบบเครือข่าย และแอพพลิเคชั่นวินโดวส์แบบเสมือน(Virtual windows application) และการส่งข้อมูลไปยังเดสก์ท็อป ท้ายที่สุดแล้วการพัฒนาของพื้นที่ทำงานนอกสถานที่ได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงานจากการมีสถานที่ทำงานเป็นศูนย์กลาง มาเป็นการมุ่งเน้นความสามารถในการทำงานได้ทุกที่ไม่ว่าที่ใดก็ตามและบนอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามที่พวกเขาเลือกใช้
สำหรับ การอภิปรายเชิงลึกกับคุณมาร์คมิคาลเลฟรองประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของซิทริกซ์ในการทำงานแบบเคลื่อนที่ กรุณาติดต่อ เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์ บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ที่ 02 260 5820 ต่อ115 หรือ Mae@tqpr.com
สามารถติดตามบทความใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับซิทริกซ์ที่น่าสนใจได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้