WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

STI-Yadaสวทน. ร่วมกับ ม.นเรศวร และ KRRI จากประเทศเกาหลี จัดงาน แถลงข่าวการประชุมวิชาการขนส่งทางราง ครั้งที่ 2

     ที่ห้องประชุมชั้น 14 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ อาคารจามจุรีสแควร์ เขตปทุมวัน

     ดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ รองเลขาธิการ ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้เป็นประธานแถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการขนส่งทางราง ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยสถานวิจัยแห่งความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง และ Korean Railrroad Research Institute หรือ KRRI ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยระบบรางระดับโลก จากประเทศเกาหลี โดย ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง ม.นเรศวร ในฐานะเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประชุมวิชาการขนส่งทางราง ครั้งที่ 2 ได้กล่าวว่า "คงปฎิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์รวมกันถึง 1.9 ล้านๆ บาท เพื่อทำการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันและพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเชียน ในการนี้กว่าครึ่งเป็นงบประมาณที่ใช้สำหรับการลงทุนในระบบขนส่งทางราง ซึ่งถือว่าเป็นการขนส่งที่มีประสิทธิ ภาพ, ใช้พลังงานต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่เล็งเห็นความสำคัญด้านนี้ ประเทศเพื่อนบ้านเราทั้งมาเลเซีย อินโดเนเซีย เวียดนาม พม่า ลาวและกัมพูชา ก็มีแผนที่จะทำการลงทุนด้านระบบรางเช่นกัน ในการนี้เองประเทศมหาอำนาจและผู้นำด้านอุตสาหกรรมระบบราง อาทิ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ก็ได้เล็งเห็นความสำคัญของประเทศไทยในการที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญสำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคนี้ ซึ่งได้มีการนำเสนอแผนการลงทุนในรูปแบบต่างๆ

    ดังที่ได้ทราบโดยทั่วกัน แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยมีการใช้ระบบรางเพียงแค่ 2% ประชาชนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการขนส่งทางท้องถนน จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดว่าหากเกิดการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งขึ้นมาจริงๆ ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ความพร้อมของประเทศไทยทั้งในด้านอุตสาหกรรม, แรงงานตลอดจนภาคการศึกษาและวิจัย เราได้มีแผนการเตรียมความพร้อมกันมากน้อยแค่ไหนและอย่างไร และการที่เราได้ลงทุนเป็นจำนวนมหาศาลในด้านระบบราง จึงจะเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะพัฒนาตนเองให้กลายเป็นผู้นำเทคโนโลยีในด้านระบบรางของภูมิภาคอาเซียน เหมือนกับประเทศจีนหรือเกาหลีใต้ ที่ใช้ระยะเวลาเพียง 20 ปี จากผู้นำเข้าจนกลายเป็นผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมระบบรางในระดับแถวหน้าของโลก ในการสัมมนาครั้งนี้จะมีมุมมองต่างๆ จากผู้บริหารขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งความคิดเห็นจากนักวิชาการที่อยู่ในวงการระบบราง อาทิ ท่านผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย, ศ.ดร.วัลลภ สุระพลกำธร, อาจารย์นคร จันทศร, ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา และ Dr.Jinyu Choi จาก KRRI ของประเทศเกาหลี"

     ดร.รัฐภูมิ ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า "ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความพร้อมประเทศหนึ่งในภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีความเหมาะสม ทั้งในด้านที่ตั้งและยุทธศาสตร์การขนส่งหรือโลจิสติกส์ของหลายๆ ประเทศที่ต้องพึ่งพาเรา อีกทั้งประเทศไทยในปัจจุบันก็ยังมีแผนการลงทุนที่ชัดเจนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มีข้อได้เปรียบเพิ่มขึ้นในการดึงดูดให้ประเทศที่เป็นมหาอำนาจด้านระบบรางได้สนใจ อย่างไรก็ตามการวางแผนรองรับด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ประเทศไทยต้องมีความชัดเจน ว่าเราจะไม่เป็นเพียงผู้ซื้อเทคโนโลยีที่อยู่ปลายน้ำเท่านั้น ในการประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ จึงได้เชิญสถาบันวิจัยด้านระบบรางจากประเทศเกาหลีมาร่วมสนับสนุนในการจัดงานครั้งนี้ ซึ่งก็มีการตอบรับเป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้เชิญนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และยุโรป มาร่วมนำเสนองานวิจัย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีเช่นกัน ดังนั้นงานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางแห่งประเทศไทยจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2558 ณ ห้องประชุม โรงแรมท้อปแลนด์ จ.พิษณุโลก จึงถือเป็นงานประชุมวิชาการครั้งแรกในภูมิภาคฯ นี้ ที่เป็นการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติด้านระบบขนส่งทางราง โดยมีเจ้าภาพร่วมคือทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยสถานวิจัยแห่งความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง และ Korean Railrroad Research Institute และถือเป็นสถาบันวิจัยระบบรางระดับโลกที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งทางคณะกรรมการจัดงานฯ เห็นว่าประเทศไทยควรใช้โอกาสนี้ ในการแสดงให้นานาชาติได้เห็นถึงศักยภาพในความพร้อมการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระบบรางแห่งภูมิภาคอาเซียนได้ในอนาคต"

    สำหรับ บรรยากาศในงานแถลงข่าวฯ ซึ่งได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง "ประเทศไทยกับโอกาสและความท้าทายในการเป็นศูนย์กลางระบบขนส่งทางรางแห่งภูมิภาคอาเซียน" โดยมีนักวิชาการด้านขนส่งทางรางระดับแถวหน้าของเมืองไทย อาทิ ศ.ดร.วัลลภ สุระกำพลธร ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง, นายนคร จันทศร ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย, ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมถนนและระบบราง ม.นเรศวร และ Dr.Jinyu Choi จาก KRRI ของประเทศเกาหลี ได้เดินทางมาร่วมงาน พร้อมแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ ของการขนส่งทางรางที่น่าสนใจกันอย่างคับคั่ง สำหรับผู้สนใจเรื่องการประชุมวิชาการขนส่งทางราง ครั้งที่ 2 สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thailandtras.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 081-6285141ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

       สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 081-6258560, 081-6285141

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!