WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

10630 PMUC 01

บพข.ร่วมกับ มช. เปิดตัวไอโอทีระบบอบแห้งผลิตภัณฑ์แปรรูปภาคเหนือ นำร่องดันข้าวแต๋นไทยสู่ตลาดโลก

          บพข. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาไอโอทีระบบอบแห้งผลิตภัณฑ์ควบคุมจากโทรศัพท์มือถือ “แพลตฟอร์มไอโอทีสำหรับการตรวจวัดเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน (Solar Greenhouse Dryer – SGD Platform)” ติดอาวุธวิสาหกิจชุมชนภาคเหนือ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นำร่อง “ข้าวแต๋นน้ำแตงโม” ส่งออก

          ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานแผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าเยี่ยมชมโครงการ “แพลตฟอร์มไอโอทีสำหรับการตรวจวัดเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน” ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัดข้าวแต๋นเสบียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมี คุณสุรเชษฐ เทพปินตา กรรมการผู้จัดการ ให้การต้อนรับ

 

10630 คุณสุรเชษฐ ข้าวแต๋นเสบียง

คุณสุรเชษฐ เทพปินตา กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ข้าวแต๋นเสบียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

 

          คุณสุรเชษฐ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำธุรกิจข้าวแต๋นน้ำแตงโมว่าเป็นกิจการครอบครัวตั้งแต่ปี 2539 โดยใช้การตากแดดข้าวแต๋นแบบดั้งเดิม และจำหน่ายตามร้านของฝากเขตภาคเหนือ หลังจากคุณสุรเชษฐได้ลาออกจากการทำงานวิศวกร เพื่อมาต่อยอดธุรกิจโดยการสร้างโรงตากพลังงานแสงอาทิตย์เรือนกระจก เพื่อขยายกำลังผลิตและหาตลาดเพิ่มเติม ปัจจุบันเน้นการผลิตแผ่นแห้งและจัดจำหน่ายแบบขายส่งให้ผู้ซื้อนำไปต่อยอด โดยข้าวแต๋นน้ำแตงโมจะใช้ข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกในเขตจังหวัด น่าน เชียงราย เชียงใหม่ และลำปาง โดยข้าวเหนียว กข6 นั้นเหมาะกับการผลิตข้าวแต๋นเพราะให้เมล็ดที่พองสวยหลังการทอด

 

10630 โรงตากข้าวแต๋นน้ำแตงโม

โรงตากข้าวแต๋นน้ำแตงโม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ข้าวแต๋นเสบียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 

 

10630 ระบบไอโอทีของโรงอบแห้ง

ระบบไอโอทีติดตั้งหน้าโรงอบแห้งสั่งการทำงานของพัดลม และตรวจวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิภายในและภายนอกโรงอบ และสามารถตรวจวัดข้อมูลการใช้กระแสไฟฟ้า

 

          “ปัจจุบันกำลังการผลิตของโรงงานข้าวแต๋นเสบียงอยู่ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อวัน โดยเฉลี่ย 9 ตันต่อเดือน ใช้แรงงานในพื้นที่ลำปาง และใช้ข้าวเหนียว กข6 ในเขตภาคเหนือเป็นหลัก และกำลังจะขยายโรงตากเพื่อรองรับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจุบันนอกจากการขายแผ่นแห้งให้แค่ลูกค้าภายในประเทศนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ ยังสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่นประเทศชิลี และอิสราเอล แล้ว หลังจากได้ทดลองใช้ SGD Platform ทำให้โรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสามารถควบคุมคุณภาพในการผลิตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะแอพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือที่สามารถสั่งการพัดลมระบายอากาศ การแจ้งเตือนค่าอุณหภูมิ ความชื้น รวมทั้งการแสดงผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ ที่ทำให้เป็นตัวช่วยให้คุณภาพสินค้ามีมาตรฐาน สี กลิ่น รสชาติ สม่ำเสมอ อีกทั้งสามารถวางแผนการผลิตได้จากบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้อีกด้วย” คุณสุรชษฐ กล่าว

 

10630 แพลตฟอร์มไอโอที

แพลตฟอร์มไอโอทีสำหรับการตรวจวัดเพื่อปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน (Solar Greenhouse Dryer – SGD Platform)

 

          ผศ.ดร.ชัชวาลย์ กล่าวว่า SGD Platform พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันแก่เศรษฐกิจฐานราก โดยการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการอบแห้งด้วยโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก หรือ พาลาโบล่าโดม โดย SGD Platform ประกอบด้วย 1. ระบบไอโอทีควบคุมการทำงานของพัดลมระบายอากาศ การตรวจวัดอุณหภูมิ วัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงอบ รวมถึงการวัดข้อมูลการใช้ไฟฟ้าภายในโรงอบ 2. แอพลิเคชั่นสำหรับผู้ควบคุมสั่งการผ่านมือถือแบบเรียลไทม์ สามารถควบคุมพัดลมระบายอากาศในระยะไกล การแจ้งเตือนค่าวิกฤตอุณหภูมิ และความชื้น 3. ฐานข้อมูลที่สามารถประมวลผลค่าความชื้น อุณหภูมิ น้ำหนักหลังตาก ที่เหมาะสม เพื่อใช้วางแผนการผลิต รองรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อบแห้งในเขตภาคเหนือที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับการปรับปรุงฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์แล้ว โดยผู้ประกอบการ หรือชุมชนสามารถนำไปปรับใช้ ได้แก่ กล้วยตาก ข้าวแต๋น มะม่วงกวน หญ้าหวาน ดอกเก๊กฮวย ใบเตย ดอกอัญชัน ขิง ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ และ ผิวมะกรูด เป็นต้น 

 

10630 PMUC 02

ทีมวิจัยผู้พัฒนา SGD Platform คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

          ผศ.ดร.วรรณรัช กล่าวว่า บพข. โดยแผนงานดิจิทัลแพลตฟอร์ม มุ่งเน้นการสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตามแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 ยุทธศาสตร์ที่ 1 โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รวมทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหลัก รวมทั้งช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ SME วิสาหกิจชุมชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

 

 

A10630

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!