- Details
- Category: ไอที-เทคโนฯ
- Published: Tuesday, 18 November 2014 18:15
- Hits: 3336
ฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน : ได้ฤกษ์ใช้งานจริง หลังคำอวดอ้างมานานหลายปี เขียนโดย ชอล โรเซ็น ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธผลิตภัณฑ์กลุ่มบริการเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆ แอมดอกซ์
เมื่อครั้งที่มีการออกสมุดปกขาวเกี่ยวกับเรื่องฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน หรือ Network Functions Virtualization (NFV) เมื่อสองปีก่อนนั้น รายงานได้อ้างถึงประโยชน์ ความสามารถและความท้าทายที่เห็นได้ชัดเป็นสิ่งแรกสำหรับกลุ่มผู้ให้บริการประเภทนี้ว่าจะเป็นเรื่องของการประหยัดหรือลดต้นทุน แต่ตอนนี้ เมื่อเริ่มมีการลองให้บริการจริงบนเครือข่ายเสมือนแล้วกลับพบว่าประโยชน์ที่น่าสนใจจริงๆแล้ว คือ ธุรกิจจะสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์ได้ดีขึ้น และสามารถเสนอรูปแบบบริการใหม่ๆสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ
ดังที่นายจอห์น โดโนแวน รองประธานบริหารอาวุโสแห่ง AT&T Architecture, Technology and Operations ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในวารสาร The Wall Street Journal เมื่อไม่นานมานี้ว่า AT&T สามารถใช้ซอฟท์แวร์จัดการกับอุปกรณ์เครือข่ายได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็แปลว่าลูกค้าจะสามารถใช้แพ็คเกจบริการใหม่ได้ภายในเวลาเพียงแค่ 2 วันแทนที่จะเป็น 60 – 90 วัน ส่วนบริการอื่นๆ อย่างเช่น การเพิ่มแบนด์วิธให้ลูกค้านั้นจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แทนที่จะเป็น 30 - 45 วัน
ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ NFV นั้นช่วยให้ผู้ใช้สามารถออกแบบ เปิดใช้ และจัดการกับบริการเครือข่ายต่างๆได้ด้วยวิธีใหม่ นอกจากนี้ NFV ยังช่วยปลดพันธนาการของฟังก์ชันเครือข่ายต่างๆ อย่าง Policy and Charging Rules Function (PCRF), Firewall หรือ Deep Packet Inspection (DPI) ฯลฯ ออกจากข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์ จึงทำให้สามารถใช้ฟังก์ชันต่างๆเหล่านี้ผ่านการประมวลผลซอฟท์แวร์แบบกลุ่มเมฆ (cloud software) ได้
จริงๆแล้ว ถือได้ว่า NFV เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ที่จะแปลงเครือข่ายของผู้ให้บริการจากลักษณะชุดคำสั่งที่ต้องมีการกำหนดค่าไว้ล่วงหน้าบนอุปกรณ์กายภาพต่างๆมาเป็นชุดของหน่วยโครงสร้างส่วนจำเพาะหลายหน่วย โดยเราสามารถที่จะสร้าง เชื่อมต่อ หรือสับเปลี่ยนผสมผสานหน่วยโครงสร้างส่วนจำเพาะเหล่านี้อย่างไรก็ได้ เพื่อสร้างบริการเครือข่ายรูปแบบใหม่ได้ตามต้องการ และจะเป็นการเปลี่ยนลักษณะเครือข่ายที่มีการตั้งค่าคงที่อย่างปัจจุบันเข้าสู่ยุคเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆที่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการทั้งหลายยังมีข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนอุปกรณ์เครือข่ายที่มีราคาสูง และความยุ่งยากซับซ้อนในเชิงปฏิบัติการ ทำให้ไม่สามารถสู้รบตบมือกับคู่แข่งในธุรกิจ Over-The-Top (OTT) ได้ อีกทั้งกลุ่ม OTT นี้ยังจะยกระดับความคาดหวังของลูกค้าในเรื่องความรวดเร็วว่องไวของการเปิดให้บริการรูปแบบใหม่ให้สูงขึ้นกว่าแต่ก่อนอีกด้วย
การหันมาใช้ NFV จะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถขจัดปัญหาดังกล่าวออกไปได้ โดยการช่วยย้ายจากการพึ่งอุปกรณ์ลิขสิทธ์หลายๆตัวให้สามารถเลือกใช้เซิร์ฟเวอร์เชิงพาณิชย์ที่มีขายกันทั่วไปตามท้องตลาดได้เลย และช่วยให้สามารถเลิกใช้การติดตั้งแบบเดิมที่ต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์กายภาพจริงและตั้งค่าที่ตัวอุปกรณ์มาเป็นการใช้ซอฟท์แวร์ติดตั้งโดยอัตโนมัติจากทางไกลได้เลย ช่วยให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย อาทิเช่น ช่วยให้เปิดรูปแบบบริการใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วยิ่งขึ้น สร้างรายได้จากบริการที่มีอยู่ได้เร็วขึ้น ช่วยปลดพันธนาการด้านต้นทุนในการเข้าสู่ตลาดบริการเฉพาะกลุ่ม และช่วยให้มีบริการใหม่ๆที่คุ้มทุนกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น
แม้ว่า NFV จะช่วยให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัวและรวดเร็ว แต่มันยังผลักดันให้เกิดรูปแบบการจัดการใหม่ๆขึ้นด้วย เช่น เรื่องของการแบ่งสรรปันส่วนทรัพยากรเครือข่ายให้ครอบคลุมทุกบริการ การเลือกใช้ศูนย์ข้อมูลให้เหมาะสมตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง การจัดการฟังก์ชันเครือข่ายซอฟท์แวร์อัตโนมัติที่มีความหลากหลาย และผูกกับผู้ค้าหลายราย ตลอดไปจนถึงการแยกส่วนมูลค่าธุรกิจให้เหมาะสมตามความสามารถของเครือข่ายใหม่ๆเหล่านี้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงจำเป็นต้องมีรูปแบบการจัดการบริการอัตโนมัติใหม่ขึ้น โดยบริการนี้อาจเกิดขึ้นจากการรวมฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน (Virtual Network Functions - VNF) หลายตัวเข้าด้วยกัน และต้องมีผู้กำกับ หรือ orchestrator สำหรับบริการเครือข่ายคอยดูแลให้มั่นใจได้ว่ารูปแบบบริการที่นำเสนอนั้นมีการติดตั้งและใช้งานได้จริงตั้งแต่ต้นชนปลายและเป็นไปตามเงื่อนไขของการให้บริการทุกประการ
เมื่อไม่นานนี้ แอมดอกซ์ได้เปิดตัว Amdocs Network Cloud Service Orchestrator ขึ้น มันคือโซลูชั่นแบบเปิดเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถเคลื่อนย้ายจากเครือข่ายเชิงกายภาพสู่รูปแบบบริการเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆได้ทันที ด้วยการออกแบบที่รัดกุม มีความต่อเนื่อง และสนองตอบทุกรูปแบบบริการเครือข่าย ตั้งแต่ผู้ค้าในระดับฟังก์ชันเครือข่ายเสมือน (VNF) รองรับระบบจัดการกลุ่มเมฆทั้งหมดในตลาด และรวมไปถึงผู้ควบคุม SDN
การที่มันเป็นโซลูชั่นแบบเปิด ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างและให้บริการที่เป็นสุดยอดของบริการเครือข่ายในแต่ละประเภทได้โดยไม่ต้องผูกติดกับผู้ค้ารายใดรายหนึ่ง ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีนี้ (กำลังรอรับการจดทะเบียนสิทธิบัตร) จะเป็นเทคโนโลยีที่จะปฏิวัติต้นแบบเชิงปฏิบัติการของการให้บริการ โดยการรวมสองส่วนในเรื่องของการสร้างคำตอบโจทย์ความต้องการที่มีกับการรับประกันคุณภาพบริการเข้าเป็นกระบวนการองค์รวมเพียงหนึ่งเดียวที่จะมอบความคล่องแคล่วว่องไวในการปฏิบัติงานบนเครือข่ายที่ “lean” ทั้งในแบบเครือข่ายจริงหรือเสมือนจริงก็ตาม
นอกจากนี้ โซลูชั่นนี้ยังมีความเป็น “สำเร็จรูป” ซึ่งจะช่วยผสานธุรกิจเข้ากับเครือข่ายได้ทันที ทำให้การทำงานกับฟังก์ชันเครือข่ายเสมือนของผู้ค้ารายอื่นเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว เป็นการให้คำนิยามของบริการเครือข่ายแบบใหม่ และตอบโจทย์ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถแปลงสภาพเครือข่ายของตนให้เกิดรูปแบบบริการใหม่ๆได้มากมาย พร้อมให้ลูกค้าได้เลือกติดตั้ง หรือแม้แต่ออกแบบบริการได้ด้วยตนเองตามความต้องการ
และเพื่อเป็นการผลักดันให้มีการใช้ NFV ให้มากยิ่งขึ้น แอมดอกซ์จึงได้สร้างโปรแกรมพันธมิตรบริการ NFV ขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างฟังก์ชันเครือข่ายเสมือนและองค์ประกอบย่อยของโครงสร้างพื้นฐานเสมือนสำหรับฟังก์ชันเครือข่าย (Network Function Virtualization Infrastructure - NFVI) จำนวนมากมายเพื่อลดความซับซ้อนของการจัดรูปแบบบริการ ลดเวลาจัดรูปแบบบริการออกสู่ตลาด และแก้ปัญหาเรื่องเงื่อนไขการให้บริการทุกจุดตั้งแต่ต้นชนปลาย
ขณะนี้ มีพันธมิตรรร่วมโครงการแล้วถึง 21 ราย และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆทุกสัปดาห์ ตัวอย่างบริการที่มี อาทิเช่น Virtual Enterprise CPE, Virtual IP Multimedia System (vIMS) Core with Enterprise Value Added Voice Service และ Virtual Mobile Packet Core (vMPC) เป็นต้น
ในขณะที่ผู้ให้บริการเริ่มเดินทางเข้าสู่หนทางแห่งการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายที่ตนมี พวกเขาต่างต้องการโซลูชั่นที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับมาแล้วเป็นอย่างดีว่าจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างรูปแบบบริการเครือข่ายที่ดีที่สุดได้โดยไม่ต้องมีข้อผูกมัดกับผู้ค้าเพียงรายหนึ่งรายใด และต้องการมีการปฏิบัติการเครือข่ายที่ “lean” และปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว พร้อมให้บริการใหม่แก่ลูกค้าตามความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทันท่วงที แอมดอกซ์จึงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ลูกค้าของเราได้ก้าวย่างสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ได้ด้วยความสำเร็จ เพื่อเปิดสู่โลกใหม่ที่เป็นโลกแห่งเครือข่ายเสมือนจริง
เกี่ยวกับแอมดอกซ์
กว่า 30 ปี แอมดอกซ์ช่วยให้ผู้ให้บริการ (service provider) ก้าวสู่ความสำเร็จและฟันฝ่าความท้าทายต่างๆ ได้ และเพื่อให้ได้ชัยชนะในโลกแห่งการสื่อสาร (connected world) ผู้ให้บริการต่างเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของแอมดอกซ์เพื่อลดความซับซ้อนของการบริการลูกค้า จัดการปริมาณข้อมูลมหาศาล ก้าวล้ำนำหน้าด้วยบริการใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ในฐานะบริษัทชั้นนำระดับโลก แอมดอกซ์ผสานขอบข่ายผลิตภัณฑ์ด้าน BSS, OSS และ network control เข้ากับบริการแบบมืออาชีพที่ให้ความคุ้มค่าและการดำเนินงานด้าน managed services ได้อย่างดีเยี่ยม
แอมดอกซ์มีรายได้ 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีการเงิน 2014 ปัจจุบันแอมดอกซ์และพนักงาน 22,000 คนให้บริการลูกค้าในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ภายใต้สโลแกน Amdocs: Embrace Challenge, Experience Success.
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.amdocs.com