WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7536 SAPเรเชลเอสเอพี แนะองค์กรธุรกิจเร่ง ‘พัฒนานวัตกรรม และปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ’

เพื่อรับมือกับการแข่งขันในยุคหลังโควิด-19

          • ผลสำรวจล่าสุดของเอสเอพี ชี้องค์กรธุรกิจกว่าร้อยละ 40 ใช้กลยุทธ์รอดูสถานการณ์ (wait and see) โดยวางแผนเริ่มฟื้นฟูธุรกิจหลังทุกอย่างเริ่มกลับคืนสู่ภาวะปกติ
          • กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด เพื่อปรับวิธีในการดำเนินธุรกิจ ในแบบอินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างโมเดลทางธุรกิจและรายได้ในรูปแบบใหม่ๆ ได้

 

          เอสเอพี เอสอี (NYSE: SAP) เผยผลสำรวจล่าสุดที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นผู้นำองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 4,500 คน ภายในงาน SAP Forward Together งานสัมมนาประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้ธีม New Reality of Businesses เมื่อเร็วๆ นี้ ผลสำรวจระบุว่าผู้นำองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่มองว่าวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้กระทบกับการดำเนินธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคและกังวลว่าอาจส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว นอกจากนี้ กว่าร้อยละ 40 ขององค์กรธุรกิจยังคงใช้ กลยุทธ์รอดูสถานการณ์ (wait and see) เพื่อรับมือวิกฤตโควิด-19 เอสเอพี จึงตั้งเป้าที่จะช่วยองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เร่งพัฒนานวัตกรรม และปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหลังโควิด-19

          ปัจจุบันเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่องค์กรธุรกิจหันมาใช้เทคโนโลยีที่มีความ intelligent หรือชาญฉลาด เพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ มากขึ้น องค์กรที่จะสามารถรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้นั้น จะต้องใช้กลยุทธ์การ “innovate และ transform” โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อปรับวิธีในการทำธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          นางสาวเรเชล บาร์เจอร์ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการของ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาและกำลังเดินหน้าเข้าสู่สภาวะฟื้นตัว ซึ่งกำลังสะท้อนสัญญาณในการเริ่มต้นแข่งขันทางธุรกิจครั้งใหม่ ดังนั้นประเทศและองค์กรที่พลิกฟื้นเศรษฐกิจและก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วย่อมสามารถทิ้งห่างคู่แข่งได้ ในทางกลับกัน ประเทศและองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ รอดูสถานการณ์ (wait and see) อาจก้าวตามไม่ทันคู่แข่ง สิ่งสำคัญที่สุดในการวางกลยุทธ์ขององค์กรระยะยาว คือ ต้องไม่คาดหวังว่าทุกอย่างจะกลับคืนสู่สภาวะปกติเหมือนที่ผ่านมา ในยุค new reality องค์กรที่หันมาใช้เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด และปรับตัวสู่การเป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จะสามารถเพิ่มศัยกภาพในการทำงานภายในองค์กร โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง (do more with less) เพื่อส่งมอบประสบการณ์และบริการที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า สามารถบริหารจัดการซัพพลายเชนได้คล่องตัว และแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำธุรกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้องค์กรในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น”

 

7536 SAP2

 

          ทิศทางธุรกิจในตลาดอาเซียนท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19

          ผลสำรวจเผยว่า ร้อยละ 63 ของผู้นำองค์กรธุรกิจในภูมิภาคนี้ มองเห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมและแรงจูงใจในการซื้อของลูกค้ามาตั้งแต่ต้นปี 2563 ขณะที่ ร้อยละ 21 ยังขาดความเข้าใจและอินไซต์เชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ องค์กรส่วนใหญ่ยังยึดกับแผนการบริหารแบบ ‘เชิงรับ’ โดยรอให้ภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงักจากโควิด-19 คลี่คลายในเวลาที่เหมาะสม

          แม้ว่าปัจจุบันองค์กรต่างๆ จะปรับกระบวนการทำงานไปสู่รูปแบบอีคอมเมิร์ซและการขายผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ธุรกิจขนาดเล็กยังคงมีความกังวลต่อค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่องค์กรธุรกิจกว่าร้อยละ 20 เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับกลยุทธ์ด้าน Customer Experience เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในแพลตฟอร์มต่างๆ

          นอกจากนี้ การบริหารจัดการด้านซัพพลายเชนและงาน operations เป็นอีกด้านที่องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคนี้ให้ความสำคัญ โดยร้อยละ 22 ขององค์กรธุรกิจกำลังแพลนที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนและงาน operations ในอนาคต นอกเหนือจากรูปแบบการบริโภคของลูกค้าที่เปลี่ยนไป มาตรการล็อคดาวน์ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านซัพพลายเชน เป็นไปในรูปแบบ Stop-go pattern ซึ่งมีการหยุดพักสลับกับเดินหน้าต่อในการทำธุรกิจร่วมกัน

          ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน องค์กรต่างตระหนักและกังวลถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด-19 พร้อมโฟกัสไปที่วางแผนรับมือในระยะยาวและเน้นสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ผู้นำองค์กรธุรกิจในอาเซียนกว่าร้อยละ 80 เห็นว่าผลกระทบในครั้งนี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจและวิธีการทำงานใหม่ โดยมีเพียงร้อยละ 1 ที่มองว่าสามารถดำเนินธุรกิจตามปกติ (business-as-usual) ได้ในระยะยาว

          เนื่องจากองค์กรต่างๆ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจตามปกติ (business-as-usual) ได้ ผู้นำธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนจึงจัดลำดับความสำคัญขององค์กรใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่การทำ business transformation หรือปรับวิธีในการทำธุรกิจ (ร้อยละ 21) รองลงมาคือการทำ Customer engagement หรือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (ร้อยละ 15) การปรับปรุงกระบวนการทำงานทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ร้อยละ 14) การสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ร้อยละ 12) และ การเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการซัพพลายเชน (ร้อยละ 9) ตามลำดับ

          นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ Boston Consulting Group ยังระบุว่า High-performing companies หรือบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการจัดการภายใต้ภาวะวิกฤตรวมถึงรับมือกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวครั้งใหญ่ในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ได้เป็นอย่างดี ล้วนมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่คล้ายคลึงกันที่ทำให้พวกเขาสามารถรักษาความเป็นผู้นำได้ทั้งในระหว่างและหลังภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจได้ โดยแนวทางดำเนินธุรกิจของ High-performning companies ที่สามารถพัฒนา top-line และ bottom-line จะเน้นกลยุทธ์บริหารจัดการรูปแบบ ‘เชิงรุก’ เน้นการสร้างโอกาสในขณะที่เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เช่น เปลี่ยนแปลงองค์กรสู่การทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบเต็มตัว

 

7536 SAP4

 

          รูปแบบของ Business Transformation ที่จะเปลี่ยนไปในโลกหลังโควิด-19

          ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 การใช้งานเทคโนโลยีเพื่อทำ Business Transformation จะมุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 บทบาทของเทคโนโลยีจะต้องสามารภตอบสนองจุดมุ่งหมายที่เปลี่ยนแปลงไป ดังต่อไปนี้
          • ช่วยให้องค์กรปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว (Resiliency) เพื่อนำพาองค์กรผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายพร้อมปรับตัวสอดรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
          • ช่วยต่อยอดสร้างผลกำไรให้องค์กร (Profitability) ทำให้เห็น top-line และ bottom-line วางรากฐานการเติบโตของธุรกิจรวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน
          • ช่วยให้องค์กรดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability) ด้วยการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy)

          เอสเอพี พร้อมผลักดันให้องค์กรธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเดินหน้าสู่การเป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เพื่อรับมือและลดทอนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตครั้งนี้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาดหลากหลายรูปแบบที่จะสามารถช่วยองค์กรพัฒนานวัตกรรมและเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจได้ อาทิ
          • เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาด (Intelligent technologies) ทำให้เห็นข้อมูลต่างๆ ขององค์กร เช่น ข้อมูลด้านบุคลากร ข้อมูลด้านสินทรัพย์ แบบเรียลไทม์
          • ปัญญาประดิษฐ์ และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Artificial Intelligence & Machine Learning) ที่สามารถใช้ในการประเมินผลและวางแผนการดำเนินงาน
          • ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation) ที่สามารถแบ่งเบาภาระงานที่ต้องใช้แรงงานคนในการปฏิบัติการ เพื่อให้พนักงานไปโฟกัสกับงานด้านอื่นๆ ที่มีคุณค่ามากกว่า

 

          จุดยืนของเอสเอพี ในการช่วยเหลือองค์กรในประเทศไทย

          เอสเอพี มุ่งมั่นในการช่วยเหลือให้องค์กรต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ท้าทาย โดยเปิดให้สามารถ ใช้โซลูชันและเทคโนโลยีต่างๆ ของเอสเอพี ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่
          • SAP Ariba Discovery เครือข่ายทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่องค์กรต่างๆ สามารถแสดงความต้องการด้านการจัดซื้อ และซัพพลายเออร์เข้ามาตอบกลับเพื่อปิดดีล โดยสามารถใช้งานจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 นี้
          • Qualtrics Remote Work Pulse รีเสิร์ชออนไลน์ ที่ช่วยให้องค์กรเข้าใจความต้องการของพนักงานว่าพนักงานต้องการการสนับสนุนด้านทรัพยากรและข้อมูลในด้านใดบ้าง เพื่อให้การทำงานของพวกเขาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้การปรับตัวเข้ากับการทำงานรูปแบบใหม่
          • SAP Value Lifecycle Manager ซึ่งจะมี Tool ต่างๆ ที่ช่วยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรตนเอง กับองค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

 

7536 SAPเวเรน่า          “การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบกับผู้คนทั่วโลกรวมถึงภาคธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งเห็นได้จากการหยุดชะงักของการดำเนินงานในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าฝ่าวิกฤตไปได้ องค์กรต่างๆ ควรให้ความสำคัญในการสร้าง business continuity ครอบคลุมปัจจัยสี่ด้าน ได้แก่ ซัพพลายเชน, การเงิน, การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และ การบริการลูกค้า ซึ่งเอสเอพี มีเทคโนโลยีเหลากหลายที่จะสามารถช่วยองค์กรธุรกิจสร้าง business continuity ในสี่ด้านนี้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง

          เอสเอพี พร้อมสนับสนุนองค์กรในประเทศไทยในการวางโรดแมปและกลยุทธ์เพื่อปรับรูปแบบการทำธุรกิจสู่การทำธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความชาญฉลาดเป็นตัวขับเคลื่อน หรือที่เรียกว่า อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ ซึ่งจะช่วยขยายขีดความสามารถให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว พร้อมปรับเปลี่ยนรับทุกความท้าทาย สามารถสร้างกำไรในรูปใหม่ๆ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน

          กว่า 25 ปีที่ผ่านมา องค์กรกว่า 2,000 แห่งในประเทศไทยได้ใช้โซลูชันของเอสเอพี ในการทำ digital transformation เพื่อพลิกโฉมองค์กรสู่การเป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ เราพร้อมที่จะยืนเคียงข้างลูกค้าและพาร์ทเนอร์เพื่อรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ ช่วยให้ลูกค้าสามารถทำ digital transformation ได้ตามเป้าที่วางไว้ ตลอดจนเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต” นางสาว เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประจำภูมิภาคอินโดไชน่า กล่าวปิดท้าย

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชม SAP News Center และติดตาม เอสเอพี บนทวิตเตอร์ได้ที่ @sapnews


AO7536

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!