WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

09489 JamesMcKewส่งเสริมประสิทธิภาพอุตสาหกรรมการบริการของประเทศไทยด้วยโคบอท
โดย เจมส์ แมคคิว ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาค เอเชียชิฟิก ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์

 

          ภาคธุรกิจบริการของเมืองไทยเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจหลักของประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยสมญานาม “สยามเมืองยิ้ม” ทำให้ประเทศไทยเป็นที่เลื่องลือในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนมากถึง 38 ล้านคนในปี 2018 แม้ตลาดนัดกลางคืนและร้านจำหน่ายสินค้าริมทางถือเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ร้านจำหน่ายสินค้าระดับไฮเอนด์ก็เริ่มมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

          ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งข้อสังเกตว่า ธุรกิจภาคบริการถือเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมากกว่าครึ่งในปีที่ผ่านมา โดยมีคนทำงานกว่า 17 ล้านตำแหน่ง หรือคิดเป็น 40% ของแรงงานที่กระจายตัวอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งการท่องเที่ยว ธุรกิจค้าปลีก การดูแลสุขภาพ การสื่อสาร และการขนส่ง

          แม้ว่าข้อมูลจากธนาคารโลกชี้ว่ามีตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากการส่งเสริมผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศโดยธุรกิจภาคบริการของเมืองไทยกลับประสบภาวะซบเซาในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยพบว่ามีกำลังการผลิตต่ำมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีแรงงานทักษะต่ำ และเกิดธุรกิจการส่งออกด้านการบริการ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเข้าไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจ “กระแสหลัก” มากขึ้น

          ด้วยการมาถึงของแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้การใช้งานระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์อาจกลายเป็นตัวจักรสำคัญในการเสริมสร้างความเติบโต โดยธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องยกระดับศักยภาพด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและรักษาธุรกิจให้ยั่งยืน

09489 info

 

หุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์สำหรับผู้ผลิต
          โดยทั่วไป หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมมักเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่และอยู่ในพื้นที่จำกัดเพื่อการทำงานซ้ำๆ และเสี่ยงอันตราย หากหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท) ที่มีความคล่องตัวกว่า ถือเป็นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ต่อบรรดาผู้ผลิต ซึ่งนำไปสู่อุปสงค์การใช้โคบอทที่เพิ่มสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่ายอดจำหน่ายโคบอททั่วโลกจะเพิ่มไปอยู่ที่ 735,000 รายการภายในปี 2025 จาก 60,900 รายการเมื่อปีที่ผ่านมา

          แมคคินซีย์กล่าวว่า ผู้ผลิตที่บูรณาการแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 โดยใช้โซลูชั่นอย่างโคบอท สามารถคาดหวังการเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตได้มากถึง 300%

          บริษัทต่างๆ ไม่จำเป็นต้องว่าจ้างวิศวกรหุ่นยนต์เพื่อมาตั้งโปรแกรมการทำงานที่เรียบง่ายอีกต่อไป เพราะการตั้งโปรแกรมเริ่มใช้งานโคบอทสามารถทำได้อย่างง่ายดายแม้แต่กับผู้ที่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพียงเล็กน้อย และเนื่องจากโคบอทใช้เพื่อการทำงานซ้ำๆ และใช้แรงมาก ทำให้พนักงานมีเวลาเพิ่มขึ้นในการพุ่งความสนใจให้กับงานที่มีความสำคัญมากกว่า ซึ่งช่วยสร้างขวัญและกำลังใจของพนักงานได้อีกทางหนึ่ง

          บริษัทร่วมหุ้น วินาโคมิน มอเตอร์ อินดัสตรี (Vinacomin Motor Industry Joint Stock Company - VMIC) ในเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรและยานพาหนะสำหรับการขุดเหมืองแร่และการก่อสร้าง สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง 30% รวมถึงยกระดับคุณภาพสินค้าและความคงที่ของเวลางาน หลังจากการใช้งานโคบอทเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่ผ่านมา

          สำหรับบริษัท พีที เจวีซี อิเล็กทรอนิกส์ อินโดนีเซีย (PT JVC Electronics Indonesia) โคบอทรับหน้าที่ทำงานที่ต้องทำซ้ำๆ และเป็นอันตรายต่อมนุษย์ทั้งหมด อาทิ งานบัดกรีและงานขันสกรู ซึ่งก่อให้เกิดการยกระดับกำลังการผลิต คุณภาพของชิ้นงาน และความปลอดภัยของคนงาน โดยสามารถลดต้นทุนต่อปีได้มากกว่า 80,000 ดอลลาร์

 

โคบอทเพื่อการทำงานรูปแบบใหม่
          คุณประโยชน์ที่มากมาย การใช้งานที่เรียบง่าย และความยืดหยุ่นของโคบอท ช่วยเปิดประตูแห่งโอกาสให้เราสามารถนำโคบอทไปใช้งานในอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ได้ และด้วยคุณลักษณะที่เล็กกระทัดรัด ปลอดภัย และทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ทำให้โคบอทถูกนำไปใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่ไม่อาจทำได้ในอดีต ซึ่งรวมถึงโรงแรม ร้านอาหาร เรือนกระจก และแม้แต่ท่าอากาศยาน

          ยกตัวอย่างเช่น โรงแรมเอ็ม โซเชียล โฮเต็ล (M Social Hotel) ในสิงคโปร์ โคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots - UR) มีหน้าที่เตรียมทำไข่ดาวหรือออมเล็ตต์ เช่นเดียวกับที่สวนสนุกเฮาส์เทนบอช (Huis Ten Bosch) ในญี่ปุ่น ซึ่งมีการนำโคบอทหรือในชื่อ “ทาโกะยากิ โรบอท ออคโตเชฟ (Takoyaki Robot OctoChef)” มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำขนมทาโกะยากิของญี่ปุ่น

          ธุรกิจการดูแลสุขภาพเป็นอีกหนึ่งภาคธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากการใช้โคบอท เพราะยังมีอีกหลายขั้นตอนการทำงานที่ไม่ได้ใช้ระบบอัตโนมัติ ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดพลาด กำลังการผลิตต่ำ และพนักงานต้องรับภาระงานหนักมากเกินไป โดยที่โรงพยาบาลชางงี (Changi General Hospital) ในสิงคโปร์ ได้ใช้โคบอทในการหยิบจับวัตถุหลายชนิด รวมถึงสิ่งของที่เปราะบางจากชั้นวางของ ทำให้พนักงานสามารถตั้งใจบริการคนไข้ได้อย่างเต็มที่

          โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Copenhagen University Hospital) ในเดนมาร์ก ใช้โคบอทของ UR สองเครื่องในการรับและคัดแยกตัวอย่างเลือดเพื่อการตรวจวิเคราะห์ ทำให้ทางโรงพยาบาลสามารถบรรลุเป้าหมายในการส่งมอบผลการตรวจเลือดได้มากกว่า 90% ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง นอกเหนือจากการรับตัวอย่างเพื่อการตรวจวิเคราะห์ได้เพิ่มขึ้น 20%

          ข้อมูลของโกลบอลดาต้า (GlobalData) บริษัทข้อมูลและการวิเคราะห์ชั้นนำระบุว่า ภาคธุรกิจการดูแลสุขภาพของประเทศไทยมีความพร้อมอย่างมากสำหรับการใช้งานโคบอท เนื่องจากเมืองไทยมีสิ่งอำนวยความสะดวกและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ระดับโลก ตลอดจนมุมมองที่ก้าวหน้าในเรื่องหุ่นยนต์ทางการแพทย์ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investments - BOI) ได้นำเสนอโปรโมชั่นเชิญชวนการลงทุนหลายรายการในเรื่องนี้ เพื่อสนับสนุนการใช้งานหุ่นยนต์ทางการแพทย์ในภาคธุรกิจนี้ และก้าวขึ้นสู่สถานะศูนย์กลางทางการแพทย์ระดับโลก

 

การยกระดับการใช้งานโคบอทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
          ภาคธุรกิจบริการของประเทศไทยคือกลไกสร้างการเติบโตที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมการแพทย์และการท่องเที่ยวซึ่งกำลังทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี การเติบโตของภาคธุรกิจนี้ยังไม่สอดคล้องกับของอาเซียนและประเทศอื่นๆ นอกอาเซียนหรือประเทศที่มีเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้ามากกว่า

          แม้โคบอทจะถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต หากก็มีประโยชน์อย่างมากในภาคธุรกิจบริการ รวมถึงมอบความยืดหยุ่นในการทำงานแบบอัตโนมัติสำหรับงานรูปแบบใหม่ที่มีความเฉพาะด้าน ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และทำงานที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ และเมื่อเกิดการยกระดับการใช้งานโคบอท จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับภาคธุรกิจบริการในประเทศและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

 


AO09489

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!