WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

07283 Capstone

 

Capstone Project @ DPU X ม.ธุรกิจบัณฑิตย์

ปั้นอาจารย์ดรีมทีมเป็นเดอะเทรนเนอร์

Capstone Project for Entrepreneur Workshop กิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง เป้าหมายอยู่ที่การ ‘สร้างและส่งต่อ’ พร้อมกับ ‘ต่อยอด’ ความรู้ให้นั้นไปยังสองกลุ่มเป้าหมายหลักได้แก่ อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษา โดยในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 11-12 ก.ค. 2562 @ Makerspace มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU)

กิจกรรมพิเศษครั้งนี้จัดขึ้นสำหรับอาจารย์ DPU เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Startup University ที่พร้อมก้าวเข้าสู่การสอนในยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังได้ร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านต่างๆ จากองค์กรชั้นนำ 

ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานภาคีสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า ​โครงการ capstone จัดขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้อาจารย์มีความเชี่ยวชาญที่จะเป็น accelerator ในวิชา capstone project โดยที่อาจารย์ที่เข้าร่วมติวเข้มความรู้ในครั้งนี้จะนำไปใช้ Coach กับนักศึกษาปี 3

ในชั้นเรียนปี 1และ 2นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการเทคโนโลยีและ Soft skillsเมื่อขึ้นปี 3เด็กๆ จะต้องมารวมกลุ่มจากเพื่อนต่างคณะต่างหลักสูตรเพื่อทำโปรเจ็คร่วมกัน ซึ่งในกระบวนการนี้จำเป็นที่จะต้องมีอาจารย์ที่มีทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะสามารถดูแลเด็กได้กิจกรรม ในเวิร์คชอปนี้จะเลือกอาจารย์ที่เป็นดรีมทีมขึ้นมาก่อนในชุดแรก จากนั้นมองถึงการขยายไปสู่การพัฒนาอาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยต่อไป” 

นอกจากการเวิร์คชอปเพื่อให้อาจารย์ไปสร้างเด็ก ในอีกมุมหนึ่งอาจารย์ก็ได้รับการRe-skillsโดยคนที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็น New work force ที่สำคัญต่อไปของ DPU  

ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ผู้อำนวยการสถาบัน DPU X แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า อาจารย์แต่ละท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คชอปจะมาจากทุกคณะ เช่น ศิลปกรรม วิศวกรรม บริหาร ท่องเที่ยว นิเทศน์ โดยเป็นบุคคลที่เปิดรับ และอยากทดลองทำอะไรใหม่ๆ

สิ่งที่สนใจเป็นเรื่อง mind setกระบวนการความคิดมากกว่า เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน แต่หลักคิดในความเป็นมนุษย์ ในความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในงานกับเครื่องมือใหม่ๆ ควรจะเป็นอย่างไร เราจะพัฒนามันอย่างไรเพื่อให้เราใช้ศักยภาพ จุดประสงค์หลักของ Capstoneวัดได้ที่นักศึกษา แม้ไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนต้องได้ แค่ให้ส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจในแนวคิดนี้ในเชิงลึก ทำซ้ำไปเรื่อยๆ แล้วจะเห็นผล ค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมระหว่างอาจารย์กับเด็ก

ดร.รชฏ ขำบุญ รองคณบดีสายงานวิชาการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี เปิดเผยว่า ทักษะความรู้ที่ได้เข้าร่วมในโครงการนี้เกิดข้อดีในสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกนักศึกษาสามารถสร้างธุรกิจใหม่ได้ กับ สอง การปรับมุมมองคิดที่จะปรับธุรกิจเดิมๆ แล้วสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น 

“ไม่ใช่เด็กทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จบไปแล้วจะไปเป็นสตาร์ทอัพ ส่วนหนึ่งอาจต้องการทำงานในบริษัทใหญ่ ซึ่งก็ต้องมีความรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมหรือคิดปรับปรุงช่วยประโยชน์ให้องค์กร เพราะไม่ว่าจะเป็นสตาร์ทอัพ หรือทำงานในองค์กร หลักการเดียวกัน คือ การเข้าใจลูกค้า หาความต้องการของลูกค้าแล้วสนองตอบให้ได้มากที่สุด”

ในกิจกรรมเวิร์คชอปสองวัน เป็นการอบรมที่พยายามนำเสนอเครื่องมือที่หลากหลายที่จะเอาไปใช้ในการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

ผมสอนในระดับปริญญาโท ก็ได้เอาประสบการณ์จากการอบรมไปสอน โดยให้นักศึกษาให้จับกลุ่มสามคน เช่น วิศวะ การตลาด บัญชี แล้วไปทำธุรกิจอาหารเสริม ผลปรากฏว่าได้กำไรเป็นสิบๆ ล้านเมื่อปีที่แล้ว

ผศ.ณธกร อุไรรัตน์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์​ หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมเวิร์คชอป Capstone Project เปิดเผยว่า After school hub เป็นผลงานที่นำเสนอภายใต้การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เริ่มจากมองปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนใกล้ตัว รวมถึงการได้ไปสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนพ่อแม่วัยทำงานทำให้พบว่า การเดินทางไปรับลูกวัยประถมศึกษาหลังเลิกเรียนไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ อีกต่อไป

โรงเรียนเลิกเวลาบ่ายสามโมง การจะเดินทางไปรับที่ต้องฝ่าจราจรติดขัด ทำให้หลายๆ ครั้งไปไม่ทันกับเวลาที่ได้นัดหมายเอาไว้ คลาดกันและทำให้ต้องวนรถหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เริ่มมาคิดถึงแนวทางแก้ปัญหา

ไอเดียที่ทางทีมเรานำเสนอว่าควรจะทำศูนย์รับดูแลเด็กหลังเลิกเรียน เพื่อรอจนกว่าผู้ปกครองจะมารับในตอนเย็นหรือค่ำไปแล้ว นอกจากเป็นจุดศูนย์รวมของเด็กหลังเลิกเรียนแล้วยังมีกิจกรรมต่างๆ เสริมด้วย เช่น สอนการบ้าน อาหารเย็น พ่อแม่เลิกสองทุ่มก็มารับได้

โดยข้อดีของกิจกรรมนี้ อาจารย์ผู้สอนเอาโปรเซสการสอนนี้ไปปรับใช้กับการสอนจริงในคลาสกับนักศึกษา แม้ในตอนที่เรียนก็ได้เรียนรู้จากของจริง ซึ่งได้ผลมากกว่าการเลคเชอร์เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญในบางไอเดียที่นำเสนออาจพัฒนาเป็นธุรกิจจริงได้ในอนาคตของจริง 

เราเริ่มรู้แล้วถึงวิธีคิด และการพัฒนาเป็นธุรกิจ ต่อไปจะเอาตรงนี้ไปพัฒนาเป็นสคริปต์ในการสอน เปลี่ยนบทบาทจากอาจารย์เป็นโค้ช ซึ่งจะเกิดประโยชน์ได้มากกว่าสำหรับนักศึกษา” 

ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ ทวยเจริญ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์​ (CITE) เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้นำเสนอโปรเจ็คเว็บสอนภาษาไทยสำหรับนักศึกษากัมพูชา เนื่องจากมองว่ามีความต้องการของแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาในไทยต้องการเรียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

ก่อนจะทำโมเดล เห็นแล้วว่ามีเว็บไซต์สอนภาษาต่างประเทศเยอะมาก แต่ไม่มีภาษากัมพูชา ซึ่งจากการสอบถามชาวกัมพูชาที่มาทำงานในไทยก็พบว่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อยากมาทำงานในไทยก็ลำบาก เพราะไม่รู้ภาษาไทย เมื่อมาทำงานและเรียนในไทยก็หาที่เรียนลำบาก ทำให้ทางกลุ่มเราคิดที่จะทำโมเดลการเรียนออนไลน์ขึ้นมา ทั้งการเรียนเป็นกลุ่ม ไลฟ์สอนสดโดยนัดเวลาเรียน

จากปีแรกที่ได้เข้าร่วมเวิร์คชอป Capstone จนถึงปีนี้ ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ บอกว่า ได้นับโมเดลวิธีคิดและการโค้ชไปใช้กับนักศึกษามาแล้วในปีที่ผ่านมา ทั้งการสอดแทรกมุมมองความเป็นผู้ประกอบการ การให้นักศึกษาได้ฝึกเขียนแผนธุรกิจ (Business Canvas) รวมถึงการเชิญผู้รู้จากในประเทศและต่างประเทศมาถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

“ในช่วงแรกที่เด็กๆ คิดหัวข้อโปรเจ็คจะเลือกจากสิ่งที่อยากทำ หรือไม่ก็เว็บขายของ แต่มาวันนี้วิธีคิดเปลี่ยนไป เริ่มคิดจากลูกค้าว่ามีปัญหาอะไร แล้วไปช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง ตัวอย่างในปีที่แล้วนักศึกษาเสนอ โปรเจ็ค คนขายหอย มาจากที่บ้านทำธุรกิจฟาร์มหอย แต่ก็เจอปัญหาไม่ สามารถจัดการการเงิน ปัญหาพ่อค้าคนกลาง จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชันมาเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหา” ผศ.ดร.เนื่องวงศ์ กล่าว

ด้าน ชิน วังแก้วหิรัญ ผู้บริหารจาก Vonder chatbot หนึ่งในเมนเทอร์ที่เข้าร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ทอัพใน Capstone Project กล่าวว่า Vonder เป็นสตาร์ทอัพที่ทำทางด้านการศึกษา โดยพัฒนาการเรียนรู้ในนรูปแบบของเกม เมื่อกดเข้าไป เลือกวิชาที่อยากเรียน ซึ่งมีวิชาที่เรียน ได้แก่ อังกฤษ ประวัติศาสตร์ ​วิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสิกส์) ที่เน้นการประสบการเรียนรู้ในแบบInteractive 

จนถึงวันนี้ Vonder ทำธุรกิจมาแล้วปีเศษ ประสบการณ์จากการทำธุรกิจทำให้เรียนรู้ว่า บิสิเนสโมเดล และการหารายได้เป็นเรื่องสำคัญ​ ในปีแรกๆ ทำเฉพาะเกมการเรียนรู้ในกลุ่มนักเรียนแม้จะเป็นโปรดักท์ที่น่าสนใจและสร้างการเรียนรู้ได้ดี แต่ในด้านรายได้กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทำให้เริ่มมองหาโอกาสใหม่ๆ ซึ่งก็พบว่า HR ในแต่ละองค์กรที่วันนี้นำโปรดักส์ของ Vonder เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้กับพนักงานซึ่งตลาดตรงนี้ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในครั้งนี้ อยากชี้ให้เห็นว่าความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเสมอไป ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดและใหญ่ที่สุด คือ อารมณ์ของตัวเอง ต้องรู้จักบริหารจัดการอารมณ์ในสถานการณ์ที่เจอให้ได้ รวมทั้งเรื่องของเงินทุน อย่าประมาท

การทำธุรกิจสมัยนี้ เริ่มต้นมีแค่คอมพิวเตอร์และทีมอีกสองคนก็เพียงพอ เมื่อเทียบกับการลงทุน เริ่มต้นธุรกิจที่ต้องมีสเกลที่ใหญ่กว่านี้มาก อย่างไรก็ดี ขอแค่มีความพร้อมและไม่ประมาทในการประเมินต้นทุน เชื่อว่าอย่างไรก็ได้อะไรที่ล้ำค่ากลับไป แม้ไม่เป็นตัวเงินแต่ก็ได้ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ

จากภาพรวมของปีนี้ ‘Capstone Business Project’ นับเป็นอีกโมเดลการเรียนรู้ที่สำคัญในโลกยุคปัจจุบันที่ให้มุ่งเน้นพัฒนาทักษะแห่งอนาคตให้กับบุคลากรและนักศึกษา DPU ในการมีมุมมองความคิดการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการทำ Startupให้ประสบความสำเร็จอย่างมืออาชีพ ชี้วัดจากปีที่ผ่านมา DPU ส่งนักศึกษาเข้าแข่ง startup Thailand เป็นปีแรกจำนวน 10 ทีม สามารถทะลุ เข้ารอบ 4 ทีม ที่สุดคว้ารางวัลที่ 2 ของภูมิภาคได้เป็นผลสำเร็จ

 

AO07283

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!