- Details
- Category: การแพทย์-สธ
- Published: Friday, 22 September 2017 07:13
- Hits: 3410
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จับมือ แบรนด์ ซันโทรี่ เปิดโครงการ 'แบรนด์ พลังเพื่อเลือดใหม่'ปีที่ 17 BRAND’S Passion Icons'อองตวน-นักมวยไทยไฟท์ และ แป้ง-zbing z. เกมแคสเตอร์หญิง’ ชวนเยาวชนร่วมทำดี บริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วยทั่วประเทศ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จับมือ แบรนด์ ซันโทรี่ เชิญชวนผู้บริจาคโลหิตรุ่นใหม่ให้มีจำนวนมากขึ้น พร้อมกระตุ้นให้ผู้บริจาคโลหิตเดิมเพิ่มการบริจาคจากปีละ 1 ครั้งเป็นปีละ 2 ครั้ง หรือต่อเนื่องทุก 3 เดือน เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤติขาดแคลนเลือด สานต่อโครงการ ‘แบรนด์ พลังเพื่อเลือดใหม่’ปีที่ 17 โดยส่ง 'อองตวน-นักมวยไทยไฟท์ และ แป้ง-zbing z. เกมแคสเตอร์หญิง'BRAND’S Passion Icons ตัวแทนคนรุ่นใหม่ จากสาขาอาชีพที่ได้พิสูจน์แล้วว่า ได้ทำในสิ่งที่ชอบให้เป็นอาชีพที่ใช่และประสบความสำเร็จ ได้มาเชิญชวนเยาวชนไทยบริจาคโลหิต ตั้งเป้าหมายโลหิตที่ได้รับบริจาคจำนวน 66,000 ยูนิต มุ่งกลุ่มเป้าหมายนิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ สร้างจิตสำนึกการเป็น 'ผู้ให้'พร้อมประกวดวิดีโอคลิปและการออกแบบสื่อภาพนิ่ง Infographic และภาพถ่ายเพื่อรณรงค์การบริจาคโลหิต ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และทุนการศึกษา
นาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญในการบริจาคโลหิตโดยสร้างจิตสำนึกของการเป็น “ผู้ให้” และรณรงค์จัดหาโลหิตที่มีคุณภาพปริมาณเพิ่มขึ้น สามารถสำรองโลหิตคงคลังไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินได้ ดังนั้นศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงร่วมกับ บริษัท แบรนด์ซันโทรี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดโครงการ “แบรนด์ พลังเพื่อเลือดใหม่ 2560 (BRAND’S Young Blood 2017) ปีที่ 17 เพื่อรณรงค์ให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาคนรุ่นใหม่ได้ร่วมทำความดีโดยการบริจาคโลหิต ทางโครงการฯ ได้ตั้งเป้าหมายโลหิตที่ได้รับบริจาค จำนวน 66,000 ยูนิต จากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศและเครือข่ายศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
ทั้งนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีภารกิจหลักในการจัดหาโลหิตบริจาคให้มีปริมาณเพียงพอ และปลอดภัย เพื่อนำไปใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในสถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตั้งเป้าหมายการจัดหาโลหิตทั้งประเทศ คือ 2,046,000 ยูนิต และเป็นการจัดหาโลหิตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 696,000 ยูนิตต่อปี ส่วนภูมิภาคต้องจัดหา 1,350,000 ยูนิตต่อปี
จึงจะเพียงพอสำหรับผู้ป่วย ซึ่งปริมาณการใช้โลหิตนั้นจะเพิ่มขึ้น 8-10 % ทุกปี ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
จึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายและภาคีร่วมในการสร้างกลยุทธ์ และประชาสัมพันธ์เชิญชวนบริจาคโลหิต เพื่อกระตุ้นให้มีผู้บริจาคโลหิต เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของตัวผู้บริจาคโลหิต และเพื่อโลหิตที่มีคุณภาพ
นอกจากนี้ สถิติผู้บริจาคโลหิตปีที่ผ่านมา มีผู้บริจาคโลหิตปีละ 1 ครั้ง มากถึงร้อยละ 60 หรือราว 200,000 คน ผู้บริจาคโลหิตปีละ 4 ครั้ง ร้อยละ 6 หรือราว 20,000 คน จึงต้องการรณรงค์ให้ผู้บริจาคโลหิต
เพิ่มความถี่ในการบริจาคโลหิตมากขึ้นจากปีละ 1 ครั้ง เพิ่มเป็น 2 ครั้ง จนถึง 4 ครั้งต่อปี เพื่อให้มีปริมาณโลหิตเพียงพอสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั่วประเทศ
นางสาวกชกร แก้วศรชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แบรนด์ ซันโทรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตแบรนด์ซุปไก่สกัด กล่าวว่า แบรนด์มุ่งมั่นเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนไทยทุกคน และตระหนักถึงความจำเป็นของสถานการณ์การขาดแคลนโลหิตที่ใช้รักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ จึงได้ร่วมกับศูนย์บริจาคโลหิต สภากาชาดไทย จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญร่วมร่วมทำความดีโดยการบริจาคโลหิตที่มีคุณภาพเป็นประจำ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญในการบริจาคโลหิต โดยการสร้างจิตสำนึกของการเป็น “ผู้ให้” เพื่อให้กลุ่มเยาวชนที่มีสุขภาพดีที่ยังไม่เคยบริจาคโลหิตได้เริ่มต้นเป็นผู้บริจาคโลหิตรายใหม่ รวมทั้งเพื่อรณรงค์กระตุ้นให้ผู้บริจาคโลหิตบริจาคโลหิต เป็นประจำสม่ำเสมอทุก 3 เดือนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อนำมาเป็นโลหิตสำรองคงคลังไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ทางโครงการได้ส่ง “อองตวน-นักมวยไทยไฟท์ และ แป้ง-zbing z.เกมแคสเตอร์หญิง' BRAND’S Passion Icons ของแบรนด์ซุปไก่สกัด ซึ่งเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่จากสาขาอาชีพที่ได้พิสูจน์แล้วว่า ได้ทำในสิ่งที่ชอบให้เป็นอาชีพที่ใช่และประสบความสำเร็จ ร่วมรณรงค์ให้เยาวชนไทยได้ร่วม บริจาคโลหิตกันมากขึ้น นอกจากนี้ทางโครงการยังจัดให้มีโรดโชว์ ระหว่างเดือนกันยายน 2560 - เดือนมิถุนายน 2561 ตามหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จำนวน 57 แห่ง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริจาคโลหิตด้วย
ที่สำคัญแบรนด์ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสื่อรณรงค์ การบริจาคโลหิต กับโครงการประกวด “วิดีโอคลิปรณรงค์บริจาคโลหิต การออกแบบสื่อภาพนิ่ง Infographic”
ในหัวข้อ 'BRAND'S Young Blood บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ ยิ่งให้ยิ่งได้สุขภาพดี' เพื่อกระตุ้น และสร้างจิตสำนึกในการเป็น 'ผู้ให้' ให้เกิดขึ้นในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่มาร่วมบริจาคโลหิต ชิงโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย พร้อมทุนการศึกษา เปิดรับผลงาน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน - 15 ธันวาคม 2560
สำหรับ นิสิต นักศึกษา สถาบันการศึกษาที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิต และโครงการประกวดสามารถดาวน์โหลดใบสมัคร และติดตามรายละเอียด ได้ที่ เว็บไซต์ www.blooddonationthai.com และ www.brandsworld.co.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต โทร.0 2255 4567, 0 2263 9600 ต่อ 1752, 1753
3 โซน เสี่ยงเซลล์เสื่อม
ทุกคนบนโลกนี้รู้กันดีว่า 'เซลล์' คือสิ่งเล็กๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของอวัยวะทุกส่วนในร่างกายมนุษย์ ในทุกๆ วันร่างกายของเรามีเซลล์ กว่า 100 ล้านเซลล์ที่ “ตาย” และ “เกิดใหม่” ทุกนาที แต่ไม่ใช่ทุกส่วนที่จะมีการสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทน หรือแม้แต่เซลล์ที่สร้างมาทดแทนก็อาจไม่มีประสิทธิภาพดีได้เท่าเซลล์เดิม ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามและละเลยการดูแลเซลล์ จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “เซลล์เสื่อม” เป็นเหตุให้ร่างกายเผชิญกับความเจ็บป่วย เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมาอย่างคาดไม่ถึง
นายแพทย์สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เผยว่า เมื่อมีอายุมากขึ้นระบบต่างๆ ในร่างกายจะเสื่อมลงทุกวัน แต่ก็จะมีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาซ่อมแซม เป็นกลไกธรรมชาติของร่างกาย “ภาวะเซลล์เสื่อม” ในแต่ละบุคคลเกิดขึ้นไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นเมื่ออายุย่างเข้า 25 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เช่น อาหารปิ้งย่าง อาหารสำเร็จรูป น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ความเครียดสะสม การอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการได้รับสารเคมีบางประเภท ล้วนก่อให้เกิดอนุมูลอิสระมากเกินควร ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในร่างกาย ส่งผลให้เซลล์และสุขภาพเสื่อมลง โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ จึงมักแวะเวียนเข้ามาเยือนมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยู่ในกลุ่ม 3 โซนเสี่ยงเซลล์เสื่อม ดังนี้
โซนมนุษย์เงินเดือน
คนวัยนี้ เป็นวัยกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว ถึงแม้จะเป็นวัยที่ยังแข็งแรง แต่ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องดูแลครอบครัว และคนที่รัก ทำให้ต้องเผชิญกับความเครียดต่างๆ ทั้งจากเรื่องงาน ครอบครัว เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความเครียดที่เกิดภายใน
นอกจากนี้ ความเครียดอีกประเภทที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของร่างกาย โดยที่เราไม่ทันตั้งตัว และไม่สามารถรับรู้ได้ ความเครียดประเภทนี้มักแฝงมากับไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ อาหารการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในยุคของโซเชียลมีเดียที่เข้ามามีอิทธิพลกับคนวัยทำงานอย่างมาก ซึ่งอำนวยให้สามารถประชุมหรือติดต่อตามงานกันได้ตลอดเวลา สาเหตุเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นทำให้เซลล์เกิดการอักเสบ ซึ่งไม่มีอาการบ่งชี้ สะสมเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์และอวัยวะสำคัญของร่างกายเสื่อมลงในที่สุด
และเมื่อใดที่วัยมนุษย์เงินเดือนรู้สึกว่าศักยภาพในการทำกิจวัตรต่างๆ ลดลง เช่น นอนไม่ค่อยหลับ ตื่นยาก รู้สึกสมองเบลอ คิดอะไรไม่ค่อยออก ปวดเมื่อยตามร่างกาย รู้สึกไม่กระปี้กระเปร่า มีอาการซึมเศร้า เบื่อหน่าย รูปร่างเปลี่ยนไป ผิวพรรณเหี่ยวย่น หมองคล้ำ เป็นต้น ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อแก้ไขความ “เสื่อม” ระดับเซลล์โดยด่วน ก่อนที่จะสะสมลุกลามกลายเป็นโรคร้ายที่ยากต่อการรักษา
โซนมนุษย์ป่วย
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการป่วยอยู่แล้ว และจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ยา สารเคมี การฉายรังสี หรือการผ่าตัด เพื่อระงับอาการของโรคนั้นๆ ขณะเดียวกันการใช้ยาหรือสารเคมีบางชนิดเพื่อรักษาโรคไม่ให้ลุกลามด้วยการเข้าไปกำจัดเซลล์ร้ายที่เข้ามาทำลายร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ได้กำจัดเซลล์ดีในร่างกายออกไปด้วย ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ร่างกายอ่อนแอขึ้นกว่าเดิม ภูมิต้านทานลดลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เป็นต้น
ตัวอย่างนี้เห็นได้ดีในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยเคมีบำบัด ดังนั้นกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์และครบทั้ง 5 หมู่ พักผ่อนให้เต็มที่ ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด ออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำได้ และทำจิตใจให้สบาย เพื่อซ่อมแซมและเพิ่มปริมาณเซลล์ดีในร่างกาย ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนและช่วยให้ประสิทธิภาพในการรักษาเป็นไปอย่างเต็มที่
โซนมนุษย์ชรา
มนุษย์วัยนี้เป็นวัยที่เซลล์มีความเสื่อมตามกลไกธรรมชาติมากที่สุด เซลล์บางชนิดในร่างกาย ไม่สามารถแบ่งตัวเพื่อทดแทนเซลล์เดิมที่เสื่อมสภาพหรือเสียหายได้ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เลนส์ตา จอตา อวัยวะรับเสียง กระดูกข้อต่อ และเซลล์ประสาทสมอง เป็นต้น
ทำให้อาการเสื่อมในร่างกายชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้คนชรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูง เช่นโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน นอกจากนี้แล้วคนชรายังมีปัญหาใน เรื่องสายตา สายตาจะพร่ามัวมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ตาสู้แสงไม่ค่อยได้ เนื่องจากเลนส์ตาขาดความยืดหยุ่น จึงทำให้ปรับโฟกัสได้ยาก และการเสื่อมสภาพของเซลล์รับแสงที่จอตา ทำให้ตาอ่อนแอต่อแสง
ซึ่งความเจ็บป่วยเหล่านี้จะบั่นทอนจิตใจและส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนวัยชราแย่ลง แต่ภาวะเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ลดการนำสารอนุมูลอิสระเข้าไปในร่างกาย รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการทานอาหารหวานจัด มันจัด หรือเค็มจัด หลีกเลี่ยงมลภาวะ ออกกำลังกายแบบไม่หักโหม และรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมตามที่ร่างกายต้องการ
นายแพทย์สิทธวีร์ เล่าต่อว่า คนที่อยู่ใน 3 โซนเสี่ยงเซลล์เสื่อม แม้จะเป็นกลุ่มที่น่าห่วง แต่ปัจจุบันมีวิวัฒนาการทางการแพทย์เข้ามาช่วยยืดอายุเซลล์ด้วยการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม อย่างเช่น เวชศาสตร์ชะลอวัย เป็นศาสตร์แนวใหม่ในการดูแลรักษาสุขภาพจากภายใน โดยวิเคราะห์ลงลึกไปถึงระดับพันธุกรรม การทำงานของเซลล์ต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกายของคนเรา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการดูแลรักษาสุขภาพ และป้องกันการเกิดโรค
นอกจากนี้ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นนวัตกรรมยืดอายุเซลล์ด้วยเอ็นไซม์ เอสโอดี (SOD) หรือ Superoxide Dismutase ซึ่งมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ ในมนุษย์ก็มีเอ็นไซม์ชนิดนี้อยู่ในร่างกายของเราตั้งแต่แรกเกิด แต่จะมีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยหลักการทำงานของเอนไซม์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ Primary Antioxidant ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ลึกถึงระดับ DNA ภายในเซลล์ นับว่าเป็นการย้อนวัยเซลล์ในร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นมิติใหม่ในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและมีอายุที่ยืนยาวอีกด้วย
ท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ 3 โซน ตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือมนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้คงไม่มีใครหนีความแก่ชราไปได้ แต่ทุกคนสามารถเลือกที่จะมีอายุที่ยืนยาวและเข้าสู่วัยชราอย่างมีคุณภาพได้ เพียงแค่รู้จักบริหารใจและร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง เพราะทั้งคู่ที่เป็นสิ่งสำคัญในการหล่อหลอมชีวิต ดังนั้นจึงต้องดูแลกายใจให้อยู่ในโซนแห่งความสุข ทำความรู้จักร่างกายตัวเอง และใช้ชีวิตอย่างไม่ฝืนธรรมชาติ เมื่อมีความสมดุล ทุกเซลล์ในร่างกายก็จะแข็งแรงและห่างไกลโรค ส่งผลดีต่อสุขภาพและพบกับความสุขอย่างยั่งยืน ดังคำกล่าวที่ว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”