WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ก.สาธารณสุข ยัน ไทยยังไม่พบผู้ป่วยโรคอีโบลา เร่งจัดระบบรับมือ พร้อมตั้งคณะเชียวชาญด้านวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยอีโบลา

    กระทรวงสาธารณสุข เร่งจัดระบบรับมือโรคอีโบลา ตั้งคณะเชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำด้านการด้านการชันสูตรและวินิจฉัยรักษาโรคอีโบลา ตามมาตรฐานสากล และตั้งทีมงานโฆษกแถลงข่าวสื่อมวลชน ชี้ขณะนี้ไทยยังไม่พบผู้ป่วยโรคอีโบลา ในประเทศ กำลังสอบสวนผู้เดินทางจากประเทศติดโรค 1 ราย ย้ำสื่อมวลชน ประชาชน อย่าเชื่อข่าวลือในโซเซียลมีเดีย เย็นวันนี้(21สิงหาม 2557) ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยอธิบดีกรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ แถลงว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดระบบการรับมือกับไวรัสอีโบลา ทั้งระบบการตรวจเฝ้าระวัง การรักษา การตรวจยืนยันและวินิจฉัยโรคไวรัสอีโบลา โดยได้ตั้งคณะทำงานวินิจฉัยยืนยัน 1 ชุด ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาและด้านการแพทย์ โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญเป็นประธาน ซึ่งจะให้คำแนะนำในการวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยที่เข้าข่ายสงสัยทุกราย โดยจะพิจารณาข้อมูลทั้งด้านผลการตรวจทางคลินิก ผลการสอบสวนด้านระบาดวิทยาและผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ ขณะเดียวกันจะเตรียมจัดอบรมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทั้งโรงพยาบาลรัฐ เอกชน ในวันพรุ่งนี้ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์

    นายแพทย์ณรงค์กล่าวตอว่า ทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคของกระทรวงสาธารณสุข กำลังสอบสวนผู้เดินทางชาวไทย ที่เดินทางกลับมาจากประเทศติดโรคอีโบลา โดยเดินทางมาถึงที่อากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่ออังคารที่ 20 สิงหาคม 2557ซึ่งได้รายงานตัวและได้รับการตรวจคัดกรองตามระบบ ที่ด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ ผลการตรวจวัดอุณหภูมิ ไม่มีไข้ ได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวและพร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อในกรณีที่มีอาการผิดปกติ ต่อมามีผื่นขึ้นและปวดศีรษะ จึงไปตรวจที่โรงพยาบาลเอกชน แพทย์วินิจฉัยเป็นลมพิษ แต่รู้สึกกังวลกับอาการของตัวเอง จึงได้ติดต่อกระทรวงสาธารณสุข ทางสายด่วน 1422ของกรมควบคุมโรค และกรมควบคุมโรคจึงรับตัวมาเข้ารับการดูแลที่สถาบันบำราศนราดูร ซึ่งทีมการแพทย์จะได้วินิจฉัยและให้การดูแลตามแนวทางมาตรฐาน เมื่อมีความคืบหน้าก็จะแจ้งให้ทราบต่อไป

   นอกจากนี้ ขอแนะนำให้ประชาชนติดตามข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข ไม่ควรเชื่อข้อมูลที่เผยแพร่ทางสื่อโซเซียลมีเดียโดยยังไม่ได้ตรวจสอบ เนื่องจากอาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และอาจทำให้ตื่นตระหนกในวงกว้าง ไม่ส่งผลดีต่อประเทศ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะมีการแถลงข่าวทุกวัน โดยทีมโฆษกของกระทรวงฯ

    ทางด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในการวินิจฉัยผู้ป่วยสงสัยโรคอีโบลา จะใช้เกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ซึ่งรวมถึงการมีไข้ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป และมีประวัติเดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค ซึ่งขณะนี้มี 4 ประเทศ คือกินี เซียร์ร่าลีโอน ไลบีเรียและ เมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย ส่วนกรณีผู้สงสัยชาวเวียดนามและพม่ารวม 3 ราย กระทรวงสาธารณสุขกำลังประสานงานตรวจสอบข้อมูลกับกระทรวงสาธารณสุขทั้ง 2 ประเทศอย่างใกล้ชิด และจะแจ้งประชาชนทันทีเมื่อได้รับผลการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!