WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

A19

ทีมศัลยแพทย์ รพ.ตำรวจ โชว์ศักยภาพวงการแพทย์ไทยผ่าตัดไทรอยด์ แบบส่องกล้องไร้แผลเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

     ทีมศัลยแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก ไร้แผลเป็นที่ผิวหนังโดยสิ้นเชิง เป็นรายแรกและรายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นรายที่ 4 ของโลก รองจากทีมศัลยแพทย์เยอรมัน ญี่ปุ่น และจีน ตามลำดับโดย รพ.ตำรวจได้ริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 และนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน ทีมศัลยแพทย์ได้ดำเนินการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ไปแล้ว 14 ราย ได้รับความพอใจอย่างสูงสุดจากคนไข้ทุกราย ขนาดก้อนไทรอยด์ที่ทำการผ่าตัดมีตั้งแต่ 3-10 ซม. (เฉลี่ย 6 ซม.) ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 2 ชั่วโมง เฉลี่ยระยะเวลาพักฟื้น 3-4 วัน โดยไม่เกิดปัญหาแทรกซ้อนใดๆ และมีอาการเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของวงการศัลยแพทย์ไทย และสร้างมาตรฐานใหม่ของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ในอนาคต

     A1นายแพทย์อังกูร อนุวงศ์ ศัลยแพทย์หน่วยผ่าตัดผ่านกล้อง กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เปิดเผยว่า “เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในความสำเร็จของการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก และมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการสร้างมิติใหม่ทางการแพทย์ของไทย โดยวิธีการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไข้ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน และสร้างความมั่นใจให้กับคนไข้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์”

    นพ.อังกูร อธิบายว่า การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทางช่องปากแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ ขนาด ซม.ที่บริเวณรอยต่อระหว่างริมฝีปากล่างกับเหงือกของฟันล่างและด้านข้าง ขนาด 0.5 ซม.อีก 2 รู จากนั้นจะเลาะไปใต้ผิวหนังลงไปถึงคอบริเวณต่อมไทรอยด์โดยใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นมาเป็นพิเศษผ่าตัดโดยใช้กล้องและเครื่องมือตัดต่อมไทรอยด์ออกจากนั้นจึงเย็บแผลด้วยไหมละลาย โดยคนไข้จะสามารถกลับห้องพักฟื้นได้เลยและสามารถจะรับประทานอาหารอ่อนได้ในวันที่สองหลังการผ่าตัด

    “การผ่าตัดแบบนี้จะไม่มีแผลเป็น (scar) เกิดขึ้นที่ผิวหนังเลย 100% เนื่องจากช่องปากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างมาก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายไวมาก และไม่เกิดแผลเป็นหรือพังพืดใดๆเลย ทั้งนี้ ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์ ถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องวิธีอื่นๆ ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น และเราสามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้ทั้ง 2 ข้าง โดยที่ไม่ต้องลงแผลเพิ่มอีก  คนไข้เจ็บน้อยมากและเสียเลือดน้อยมาก (ไม่เกิน 10 ซีซี-20 ซีซี) จากการผ่าตัดของ รพ ตำรวจ พบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 2-3 คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ เหมือนไม่เคยผ่าตัดมาก่อน โดยแพทย์จะรอดูอาการประมาณ 3-4 วัน หากไม่มีปัญหาก็จะให้กลับบ้านได้หลังผ่าตัดคนไข้ก็ไม่ต้องทำแผลใดๆแผลที่เย็บไว้ในปากไหมจะละลายไปเองภายใน 30 วัน ในช่วงนี้คนไข้สามารถใช้ชีวิตและรับประทานอาหารได้ตามปกติ” นพ.อังกูรเผย

   นพ.อังกูร ยังกล่าวเพิ่มเติมว่านอกเหนือจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทางช่องปากหน่วยผ่าตัดผ่านกล้องศัลยกรรม กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ ยังสามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องในโรคที่ซับซ้อนอื่นๆ ได้ทุกโรค อาทิ เช่น การผ่าตัดโรคอ้วนเพื่อลดน้ำหนักผ่านกล้องผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้องผ่าตัดมะเร็งตับ หรือตับอ่อน และถุงน้ำดีผ่านกล้องผ่าตัดมะเร็งลำไส้ผ่านกล้องผ่าตัดเพื่อลดภาวะเหงื่อออกมากผ่านกล้องผ่าตัดก้อนที่เต้านมผ่านกล้องผ่าตัดไตผ่านกล้อง

    ล่าสุด กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ ยังได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดผ่านกล้องศัลยกรรม (Minimally Invasive Surgery Excellent Center) เพื่อทำการตรวจรักษาวิจัย และผ่าตัด โดยใช้การผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงให้แก่ประชาชนทั่วไป และเพื่อเป็นศูนย์กลางทางด้านวิชาการและการผ่าตัดผ่านกล้องชั้นนำของประเทศ และนานาชาติอีกด้วย

    ผู้ป่วยสามารถติดต่อขอรับการตรวจได้ที่ ห้องตรวจโรคศัลยกรรม ตึกอำนวยการชั้น 3 โรงพยาบาลตำรวจ โทร. 02 207 6000 เว็บไซต์ http://www1.pgh.go.th/home.php?

วิวัฒนาการการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์โตในประเทศไทย

    ภาวะต่อมไทรอยด์โตที่พบได้บ่อยในประเทศไทย มักมีสาเหตุมาจากการขาดสารไอโอดีน หรือแม้แต่ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เองทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นจนเห็นได้ชัด การรักษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่คอโตนั้นมักจะเริ่มด้วยการรับประทานยาฮอร์โมนเพื่อกดการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อหวังให้ก้อนยุบลงหรือไม่โตขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่จะลงเอยด้วยการผ่าตัด เพื่อเอาต่อมไทรอยด์ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างออก เพื่อป้องกันการเปลี่ยนเป็นมะเร็ง หรือก้อนโตขึ้นเรื่อยๆจนทำให้ไม่สามารถทานอาหารหรือหายใจไม่สะดวก และในบางกรณีเพื่อความสวยงามของผู้ป่วยเอง

    การผ่าตัดที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ก็คือการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด (Open surgery) โดยศัลยแพทย์จะทำการลงมีดที่บริเวณคอในแนวขวาง (Transverse collar incision) ซึ่งสามารถตัดไทรอยด์ออกได้หมดรวมถึงสามารถเลาะต่อมน้ำเหลืองได้ด้วยในบางกรณี และแน่นอนว่าการผ่าตัดแบบเปิดนี้ ทำให้เกิดแผลเป็นที่คออย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากแผลเป็นจะอยู่ที่คอ ภายนอกร่มผ้า ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดความไม่มั่นใจ

    ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดไทรอยด์ที่คอ ชนิดแผลเล็ก แต่ก็ยังมีแผลเป็นให้เห็นอยู่ที่คอต่อมาได้มีการพัฒนาการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องวีดีทัศน์ หลายๆวิธี เช่น ลงแผลที่รักแร้หน้าอกหัวนม หลังหู เป็นต้น โดยการสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปตัดต่อมไทรอยด์ออก โดยการผ่าตัดผ่านกล้องนี้ ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็นที่คอที่เห็นได้ชัด แต่จะย้ายแผลไปที่บริเวณอื่นๆของร่างกายแทน

    การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆ สำหรับ ในประเทศไทย เทคนิคที่ทำกันแพร่หลาย ก็คือ ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางรักแร้ และในปัจจุบันมีศัลยแพทย์ในเมืองไทยที่สามารถผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางรักแร้ได้ประมาณ 30 คน

     อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดผ่านกล้องทางรักแร้ ยังมีข้อจำกัด เช่น ระยะทางจากรักแร้ไปถึงต่อมไทรอยด์มีระยะทางไกล ทำให้ต้องสร้างพื้นที่ทำงานใต้ผิวหนัง จากรักแร้ขึ้นไปหาไทรอยด์ค่อนข้างไกล เกิดผลให้การผ่าตัดค่อนข้างจะยาก เนื่องจากอุปกรณ์ผ่าตัดที่มีความยาวมักจะชนกันเองหลังผ่าตัดคนไข้มักจะมีปัญหาชาบริเวณระหว่างรักแร้ถึงคอ และใช้เวลาพอสมควรในการที่เส้นประสาทจะกลับมาปกติ (เฉลี่ยมากกว่า 6 เดือน)นอกจากนี้ การผ่าตัดผ่านรักแร้สามารถทำการผ่าตัดได้ทีละข้าง เช่น เข้าทางรักแร้ซ้ายเพื่อผ่าตัดไทรอยด์ข้างซ้าย ถ้าต้องการผ่าไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ก็จำเป็นต้องลงแผลที่รักแร้ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งถือว่าทำให้เกิดแผลต่อคนไข้มากขึ้น และการผ่าตัดชนิดนี้ ก็ยังคงก่อให้เกิดแผลเป็น เพียงแต่แผลเป็นจะย้ายมาที่บริเวณรักแร้แทน ซึ่งยังคงสร้างความไม่มั่นใจให้แก่คนไข้หญิงบางราย

   ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเทคนิคในการผ่าตัดผ่านกล้องผ่านทางช่องปากกับคนไข้จริง ริเริ่มโดยศัลยแพทย์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2555 ต่อมาได้มีศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่น และจีน ได้เริ่มทำการผ่าตัดชนิดนี้ โดยมีเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังทำการผ่าตัดชนิดนี้กันในจำนวนน้อยมาก ส่วนประเทศอื่นยังคงเป็นการทดลองผ่าตัดในร่างอาจารย์ใหญ่ หรือในหมู ยังมิได้ริเริ่มผ่าตัดในคนไข้จริง ซึ่งเทคนิคของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป

    การผ่าตัดแบบนี้ ถือเป็น NOTES (Natural Orifice TransluminalEnsoscopic Surgery) ซึ่งลงแผลผ่านช่องธรรมชาติของคนไข้ จึงไม่เกิดแผลเป็นใดๆหลังผ่าตัดเลย และการผ่าตัด NOTES ในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

     ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก คือ(1) ไร้แผลเป็นที่ผิวหนัง 100 %โดยจะลงแผลขนาดเล็ก 3 แผล 1 ซม.0.5 ซม.และ 0.5 ซม.ที่บริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกล่าง กับริมฝีปากล่าง และสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปตัดและคีบเอาต่อมไทรอยด์ออกผ่านทางปาก และทำการเย็บปิดโดยใช้ไหมละลาย และเนื่องจากช่องปากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างมาก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายไวและไม่เกิดแผลเป็นหรือพังพืดใดๆเลย(2) ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์ ถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องวิธีอื่นๆ  ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น(3) สามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้ทั้ง 2 ข้าง โดยที่ไม่ต้องลงแผลเพิ่มอีก(4) สามารถมองเห็นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงทั้ง 2 ข้างที่วางขนานหลอดลม ได้ง่ายกว่า ทำให้สามารถเก็บเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงนี้ได้ดีกว่าช่วยป้องกันคนไข้เสียงแหบหลังผ่าตัด (5) เสียเลือดน้อยมาก (ไม่เกิน 10 – 20ซีซี) (6) คนไข้มีอาการเจ็บน้อยมาก จากการผ่าตัดของ รพ. ตำรวจ พบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 2-3 คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ เหมือนไม่เคยผ่าตัดมาก่อน และสามารถทานอาหารได้ตามปกติ(7) ไม่พบอาการชาที่ผิวหนังระหว่างคางถึงบริเวณไทรอยด์เดิมเนื่องจากสามารถเก็บรักษาเส้นประสาทบริเวณคาง

     ขั้นตอนการผ่าตัดไทรอยด์ทางช่องปากของทีมศัลยแพทย์ รพ.ตำรวจ มีดังนี้ (1) คนไข้อยู่ในท่านอนหงายแหงนคอเล็กน้อย นำสลบโดยวิสัญญีแพทย์ และใส่ท่อช่วยหายใจ (2) แพทย์ทำความสะอาดช่องปากคนไข้โดยใช้น้ำยาทำฆ่าเชื้อโรคแบบพิเศษ เพราะในช่องปากมีแบคทีเรียมาก (3) เจาะรูเล็กๆขนาดประมาณ 1 ซม.บริเวณตรงกลาง 1 รู ที่บริเวณรอยต่อระหว่างริมฝีปากล่างกับเหงือกของฟันล่างและด้านข้าง 0.5 ซม. อีก 2 รู  และเลาะจากรูที่เจาะในปากลงไปใต้ผิวหนัง ยาวลึกลงไปถึงต่อมไทรอยด์ ที่อยู่บริเวณคอ โดยใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นมาพิเศษ (4) ทำการผ่าตัดโดยใช้กล้องที่มีกำลังขยาย 20 เท่า และเครื่องมือที่มีความยาวประมาณ 30 ซม.สอดเข้าไป ผ่าตัดไทรอยด์ที่อยู่บริเวณคอ (5) ตัดและคีบต่อมไทรอยด์อออกจากรูในช่องปากที่สร้างไว้  จากนั้นทำการห้ามเลือดในบริเวณที่ผ่าตัด (6) เย็บปิดแผลที่ปาก และทำความสะอาด

    หลังผ่าตัด คนไข้สามารถกลับไปที่ห้องพักฟื้น และแพทย์จะเริ่มให้จิบน้ำได้ คนไข้สามารถรับประทานอาหารอ่อนได้ในวันรุ่งขึ้น ปกติแล้ว แพทย์จะให้คนไข้พักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน เพื่อดูอาการ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือปัญหาใดๆก็จะให้กลับบ้านได้ หลังผ่าตัด คนไข้จะไม่ปวดมากเหมือนการผ่าตัดชนิดเปิด บางรายหลังการผ่าตัดวันที่ 2 ก็ไม่มีอาการปวดหลงเหลืออยู่เลย และไม่ต้องทำแผลใดๆ แผลที่เย็บไว้ในช่องปากจะเป็นไหมละลาย ซึ่งจะละลายหมดไปเองภายใน 30 วัน ในช่วงนี้สามารถใช้ชีวิตประจำวัน และรับประทานอาหารได้ตามปกติ เสมือนไม่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อนเลย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!