WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BIOวฑรย วงศหาญกล'ไบโอเนท-เอเชีย'จับมือ 'มหิดล'โชว์ศักยภาพ คิดค้นนวัตกรรมวัคซีนใหม่สู่การผลิตแบบครบวงจรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

    ทีมวิจัย 'ไบโอเนท-เอเชีย'ร่วมมือกับทีมนักวิจัยจาก 'มหาวิทยาลัยมหิดล'คิดค้นนวัตกรรมวัคซีนชนิดใหม่สู่การผลิตแบบครบวงจรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เหนือกว่าด้วยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ทำให้มั่นใจว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า พร้อมลุยพัฒนาการผลิตวัคซีนอื่นๆเพิ่มเติม

     บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ถือเป็นบริษัทแรกเริ่มในไทยที่มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์แบบ Innovative Solution โดยความร่วมมือจากผู้ก่อตั้งชงมีความชำนาญธุรกิจด้านวัคซีนจากสามประเทศคือไทย ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม เริ่มจากการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิตวัคซีน และก้าวเข้าสู่การนำเข้าวัคซีน วิจัยและพัฒนา และจัดจำหน่ายวัคซีนทั้งในประเทศและประเทศใกล้เคียง จนปัจจุบันสามารถก้าวมาเป็นผู้นำด้านวัคซีนในประเทศไทย โดยการวิจัย พัฒนาและผลิตวัคซีนจากต้นน้ำแบบครบวงจรได้เป็นรายแรกของประเทศ

      นายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด กล่าวถึงความสำเร็จดังกล่าวว่า ถือเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทฯ และทีมวิจัยเป็นอย่างยิ่งที่คิดค้นนวัตกรรมวัคซีนชนิดใหม่และผลิตแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงขั้นตอนสุดท้ายได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยวัคซีนที่ผลิตได้จากการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 2 ชนิดได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคไอกรน และวัคซีนรวมป้องกันโรคไอกรน คอตีบ และบาดทะยัก ซึ่งวัคซีนไอกรนดังกล่าวใช้วิธีทางพันธุวิศวกรรมเพื่อทำให้ความเป็นพิษของโปรตีนแอนติเจนหมดไป ซึ่งให้ผลดีกว่า ปลอดภัยกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้สารเคมี ไบโอเนท-เอเชียถือเป็นบริษัทที่สองของโลกที่สามารถผลิตวัคซีนไอกรนโดยใช้กระบวนการกำจัดความเป็นพิษของโปรตีนแอนติเจนโดยวิธีทางพันธุวิศวกรรมได้สำเร็จ

      กระบวนการผลิตวัคซีนโดยทั่วไปนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่ (1) การคิดค้นกล้าเชื้อเพื่อพัฒนาเป็นวัคซีน (2) การทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ และ (3) การผลิต บรรจุและจัดจำหน่าย ซึ่งผู้ผลิตวัคซีนในประเทศไทยส่วนมากจะสามารถผลิตแบบบรรจุในขั้นตอนสุดท้ายได้เพียงเท่านั้น ความสำเร็จครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกสำหรับการผลิตวัคซีนแบบครบวงจรอย่างแท้จริง

      นายวิฑูรย์ เปิดเผยต่อว่า ในครั้งนี้เราได้รับความร่วมมือจากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลในการคิดค้นกล้าเชื้อขึ้นมา และได้ร่วมกันทำการวิจัยอย่างทุ่มเทและต่อเนื่องร่วมกับทีมวิจัยคุณภาพจากทางไบโอเนท-เอเชีย โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เราใช้ระยะเวลาในการศึกษายาวนานถึง 10 ปีก่อนที่จะสามารถผลิตวัคซีนได้สำเร็จ ซึ่งใช้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 3,500 ล้านบาท

      สำหรับ วัคซีนทั้งสองชนิดที่พัฒนาขึ้นมาได้สำเร็จนั้นได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ให้ผลิตและจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายในประเทศไทย ช่วงเดือนมีนาคม 2560 ก่อนจะขยายการจำหน่ายในภูมิภาคอื่นๆทั่วโลกต่อไป

       “เรามีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาวัคซีนที่มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทั้งในและต่างประเทศมีสุขภาพที่ดี ไร้โรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเรามีแผนกลยุทธ์ที่จะพัฒนาวัคซีนในการป้องกันโรคอื่นๆ ที่มีความร้ายแรงมากขึ้น ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยที่สามารถนำไปสู่การต่อยอดและพัฒนานวัตกรรมใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จในขั้นต่อไปได้ ซึ่งสิ่งที่น่ายินดีที่สุดก็คือนับจากนี้เป็นต้นไปประชาคมโลกจะรู้จักประเทศไทยในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศทั่วโลกนายวิฑูรย์กล่าวทิ้งท้าย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!