WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a 1ปลาร้าต้องต้มสุก

กรมอนามัย เผย กินปลาร้าต้องต้มสุก โซเดียมสูง เสี่ยงโรคไต

     กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย กินปลาร้าต้องต้มสุก เลือกซื้อปลาร้าจากแหล่งน่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน และควรกินให้พอเหมาะ เนื่องจากมีโซเดียมสูง หากบริโภคเป็นประจำเสี่ยงเกิดโรคไตได้

     นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีข่าวสำนักพระบิดา มีการเปิดโรงงานผลิตอาหาร ปลาร้าบอง น้ำปลาร้า และนำไปขายในชุมชนข้างนอก นั้น ทำให้ประชาชนบางราย อาจเกิดความวิตกกังวลต่ออาหารอาหารประเภทนี้ กรมอนามัย จึงมีข้อแนะนำผู้บริโภคโดยต้องเลือกซื้อปลาร้าที่ต้มสุก สะอาด มีแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ในกรณีที่ซื้อแบบบรรจุขวดควรดูเลขสารบบอาหาร (เลข อย.) หากซื้อแบบไม่บรรจุขวด ควรดูว่ามีสิ่งเจือปน สีและกลิ่นผิดแปลกจากที่เคยกินหรือไม่ โดยเลือกซื้อ จากสถานที่จำหน่ายที่น่าเชื่อถือและคุ้นเคย

    และก่อนบริโภคทุกครั้งควรนำไปทำให้สุกโดยปรุงด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที เพื่อลดความเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ และสำหรับผู้ประกอบการนั้นควรคำนึงถึงความสะอาดปลอดภัย เลือกวัตถุดิบหรือปลาที่มีคุณภาพ และมีระยะเวลาในการหมักที่เหมาะสม หากเป็นปลาส้มให้หมักนานมากกว่า 3 วัน ส่วนปลาร้าให้หมักนานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป

     โดยกระบวนการผลิตจะต้องมีเครื่องมือ และเครื่องใช้ที่สะอาด มีมาตรฐาน และมาตรการป้องกันการปนเปื้อน น้ำที่ใช้ในการผลิตจะต้องมีคุณภาพน้ำดื่มตามมาตรฐานของกรมอนามัย สถานที่เก็บวัตถุดิบต้องสะอาดเป็นสัดส่วน มีการป้องกันการปนเปื้อน ส่วนผู้ปฏิบัติงานต้องมีสุขอนามัยดี

    'ทั้งนี้ สำหรับด้านโภชนาการ ปลาร้าดิบปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 148 กิโลแคลลอรี มีสารอาหารประเภทโปรตีน 15.30 กรัม ไขมัน 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.90 กรัม เหล็ก 3.40 กรัม วิตามินบี 1 0.02 กรัม วิตามินบี 2 0.16 กรัม และไนอะซิน 0.80 กรัม ซึ่งจัดว่าเป็นอาหารที่มีโภชนาการสูง เพราะปลาร้า คือแหล่งโปรตีนชั้นดีเมื่อเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์อื่นๆ มีวิตามินแร่ธาตุหลายชนิด

     และยังเป็นแหล่งของโพรไบโอติกส์อีกด้วย แต่ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมปลาร้าต่วงที่มาจากทั้งโรงงาน และตลาดปริมาณรวมโซเดียมของเกลือและผงชูสใกล้เคียงกัน โดยปลาต่วงของโรงงานจะมีโซเดียม 5,057 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และจากตลาดจะมีโซเดียม 5,145 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จที่นิยมนำมาปรุงอาหาร มีโซเดียม 5,647 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม

     ขณะที่ปลาร้าสับแจ่วบอง มีโซเดียม 5,791 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าใน 1 วัน ไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัม หรือเฉลี่ยไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร ดังนั้น ปลาร้าไม่ควรบริโภคมากกว่า 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน หากบริโภคเป็นประจำ หรือมากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไตเรื้อรัง'อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!