WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A98964

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สร้างความพร้อมประเทศไทยในการรับมือโควิด-19

      ผู้เชี่ยวชาญชี้ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสร้างศักยภาพไทยในการรับมือโรคระบาดโควิด-19 ชี้มีครบสามองค์สำคัญ คือ ประชาชนเข้าถึงบริการ ค่ารักษาพยาบาลไม่แพง และบริการมีคุณภาพ

      เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพเข้าร่วมเสวนา UHC: The key system to fight COVID-19 and build back better ณ กระทรวงการต่างประเทศ ในงานวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 12 ธันวาคมทุกปี จัดโดยกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

      นพ. จอส ฟอนเดลาร์ (Jos Vandelaer) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวในระหว่างเวทีเสวนาว่า โลกได้รับสองบทเรียนหลักจากการระบาดของโควิด 19 หนึ่งคือนานาประเทศไม่พร้อมในการรับมือโรคระบาด ทั้งๆ ที่มีสัญญาณว่าจะเกิดการระบาดครั้งใหญ่

sme 720x100

    และสอง ประเทศที่มีระบบสุขภาพเข้มแข็งสามารถจัดการและควบคุมโรคระบาดได้ดีกว่าประเทศที่มีระบบสุขภาพอ่อนแอ ทั้งยังสามารถให้บริการสุขภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับโควิด 19 ได้อย่างต่อเนื่อง

     “เมื่อเราพูดถึงความมั่นคงด้านสุขภาพ ย่อมหมายถึงความสามารถในการรับมือวิกฤติอย่างโรคระบาด และนั่นย่อมหมายถึงการมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” นพ.ฟอนเดลาร์ กล่าว

      “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องมี 3 องค์ประกอบนี้ คือ การเข้าถึงบริการ ราคาเข้าถึงได้ และบริการมีคุณภาพ ประเทศไทยมีทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ นั้นหมายถึงการมีเม็ดเงินลงทุนในโครงสร้างสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ที่เพียงพอ มีงบประมานและห่วงโซ่อุปทานพร้อม ทำให้มีความพร้อมเมื่อประสบโรคระบาด” ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าว

    ขณะที่ นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เมื่อพิจารณาระบบสุขภาพไทยแล้ว พบว่ามี 6 ปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการจัดการและควบคุมโควิด 19 ได้แก่ 1) หน่วยงานต่างๆมีผู้นำเข้มแข็ง และใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในการตัดสินใจ 2) รัฐบาลมีระบบบริหารจัดการที่สามารถปรับตัวได้เร็ว 3) มีทรัพยากรสาธารณสุขพร้อม 4) มีประสบการณ์จากการรับมือโรคระบาดในอดีต เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ และ H1N1 5) มีการสื่อสารความเสี่ยงสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่องและโปร่งใส และ 6) ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการรับมือโรคระบาด

TU720x100

     นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่าโควิดทำให้ สปสช. และหน่วยงานด้านสุขภาพต้องปรับวิธีการทำงาน เช่น การมีสิทธิประโยชน์เดียวข้ามระบบหลักประกันสุขภาพ โดยประชาชนจากทุกระบบต้องสามารถเข้าถึงการตรวจและการรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

    นอกจากนี้ ยังเพิ่มการให้บริการสุขภาพอื่นๆ เช่น บริการปรึกษาแพทย์ทางไกล และการส่งยาทางไปรษณีย์ เพื่อให้ผู้ป่วยยังเข้าถึงบริการภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

    ในส่วนของเรื่องงบประมาณ แต่เดิมนั้น สปสช. ไม่ได้มีงบประมาณมาจัดการโควิดโดยเฉพาะ แต่ได้รับงบประมาณอุดหนุนเพิ่มเติมจากรัฐบาล ทำให้สามารถทำสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด ไปพร้อมๆกับสิทธิประโยชน์สำหรับโรคอื่นๆ

     อย่างไรก็ตาม นพ.จเด็จ กล่าวว่ายังมีความท้าทายที่ต้องนำมาทำงานต่อ เช่น การพัฒนากลไกทางการเงินที่พร้อมรับมือโรคระบาดในอนาคต และการทำระบบฐานข้อมูลสุขภาพข้ามระบบประกันสุขภาพ

QIC 720x100

      ด้านนายทาคาฮิโระ โมริตะ (Takahiro Morita) หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) ประจำประเทศไทย กล่าวว่าการรับมือโรคระบาดจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือข้ามประเทศ ในส่วนของไจก้า ได้ทำงานร่วมกับไทยมายาวนานในการสร้างระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง รวมถึงผลักดันระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเวทีโลก

     นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในช่วงโรคโควิดระบาด เช่น ส่งวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ประเทศไทยมากกว่า 2 ล้านโดส บริจาคเครื่องผลิตออกซิเจนให้ผู้ป่วยโควิด และร่วมทำงานกับผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบวินิจฉัยโรค 

1AA1A3A9896

อนุทิน เผยระบบหลักประกันสุขภาพของไทย ช่วยให้ทุกคนได้เข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะช่วงโควิด 19

     รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดงานวันหลักประกันสุขภาพสากล เผยระดับโลกชื่นชมความสำเร็จของประเทศไทย ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าระบบหลักประกันสุขภาพเกิดขึ้นได้แม้มีงบประมาณปานกลาง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการสุขภาพได้ โดยเฉพาะช่วงโควิด 19 ประเทศไทย ให้การตรวจหาเชื้อ รักษาพยาบาล และฉีดวัคซีน ทั้งคนไทยและต่างชาติ ตามหลักการ'ไม่มีใครปลอดภัย จนกว่าทุกคนจะปลอดภัย'

        วันนี้ (9 ธันวาคม 2564) ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดงานวันหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล 2021 : ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ลงทุนในระบบสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน จัดโดยกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย โดยมี นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมงานด้วย

ais 720x100

      นายอนุทินกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2555 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 12 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันหลักประกันสุขภาพสากล เพื่อสนับสนุนให้ทุกประเทศมีระบบหลักประกันสุขภาพ โดยปีนี้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ คือ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ลงทุนในระบบสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน เพื่อสนับสนุนประเทศต่างๆ ให้มีการลงทุนด้านสุขภาพอย่างเพียงพอ ให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและครบวงจรลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า เป็นระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับทุกคน ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการตรวจหาเชื้อโควิดทั้ง RT-PCR  ATK การรักษาพยาบาล และการรับวัคซีนป้องกันโรคทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากจะไม่มีใครปลอดภัยจนกว่าพวกเราทุกคนจะปลอดภัยทั้งหมด

     “ประเทศไทยดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพมากว่า 2 ทศวรรษ ได้รับการยอมรับความสำเร็จและพิสูจน์ในเวทีระดับโลกว่า ระบบหลักประกันสุขภาพไม่ใช่เป้าหมายที่เกินฝัน เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ช่วยให้คนเข้าถึงการรักษา ลดภาระค่ารักษาพยาบาล โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็ง โรคไต การฟอกเลือด ช่วยปกป้องประชาชนและส่งเสริมการเข้าถึงระบบสุขภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการลงทุนในระบบสุขภาพของประเทศไทย ทั้งนี้ การส่งเสริมและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบหลักประกันสุขภาพ ไม่ใช่แค่เพื่อการต่อสู้กับโรคโควิด 19 แต่เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)”นายอนุทินกล่าว

EXIM One 720x90 C J

 

 Click Donate Support Web

 

GC 720x100

BANPU 720x100


NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!