WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AAGนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์

สธ. ชี้ให้ยาฟาวิพิราเวียร์เร็ว ลดความรุนแรงของโควิด 19 ได้ สอดคล้องกับงานวิจัยต่างประเทศ

      กระทรวงสาธารณสุข เผยผลการศึกษาการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์รักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในไทยปี 2563 พบว่าหากได้รับยาเร็วตั้งแต่เริ่มมีอาการภายใน 4 วัน ช่วยลดอาการรุนแรงได้ร้อยละ 30 สอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศ 

       ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าว ยาฟาวิพิราเวียร์กับการรักษาโควิด 19 ว่า ปัจจุบันยังไม่มียาที่ขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาโควิด 19 การนำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการรักษา เนื่องจากเป็นยาต้านไวรัสที่ออกฤทธิ์ยังยั้งจำนวน RNA ทำให้กำจัดไวรัสออกจากร่างกายได้ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในการระบาดระลอกแรกปี 2563 มีการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ในประเทศต่างๆ เช่นประเทศจีน พบว่า ลดการติดเชื้อได้ดีกว่าใช้ยาต้านไวรัสโลพินาเวียร์ (Lopinavir) และยาริโทนาเวียร์ (Ritonavir) ที่รัสเซียพบว่า กำจัดเชื้อโควิด 19 ได้ดีกว่าการรักษาตามมาตรฐานในวันที่ 5 นอกจากนี้การศึกษาจากหลายสถาบันของไทยในการระบาดระลอกแรกปี 2563 จำนวน 424 คน พบว่า หากได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ภายใน 4 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะลดความรุนแรงได้ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลังมีอาการ 4 วัน อนึ่ง จากการศึกษาผู้ป่วยกลุ่มเล็ก ๆ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่ากลุ่มที่มีอาการปอดบวมรุนแรงอาการจะดีขึ้นเฉลี่ยภายใน 14 วันส่วนกลุ่มที่ปอดบวมไม่รุนแรงจะดีขึ้นใน 9 วัน

      คณะกรรมการกำกับการดูแลรักษาโรคโควิด 19 ที่ประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากกระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยและสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น และโรงเรียนแพทย์ อาทิ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ เป็นต้น จึงได้กำหนดการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ไว้ในแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีการทบทวนและปรับปรุงเป็นระยะ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ทั้งประสบการณ์ดูแลรักษาผู้ป่วย และรายงานการศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งได้หารือเพื่อทำการศึกษาวิจัย ยาใหม่ๆ เช่น ยาไอเวอร์เม็คติน ฟลูวอกซามีน เป็นต้น

        สำหรับ การวิจัยของ HITAP ได้ทบทวนจาก 12 การศึกษาในต่างประเทศ บางรายงานพบว่ายาฟาวิพิราเวียร์  มีประสิทธิผลในการรักษาโควิด และบางรายงานไม่มีประสิทธิผล ซึ่งประสิทธิผลในการรักษาต้องพิจารณาจากหลายประเด็น เช่น ความรุนแรงของผู้ป่วยโควิด สถานที่การศึกษา เช่น ในหอผู้ป่วยนอก/ หอผู้ป่วยใน ขนาดและปริมาณยาที่ใช้รักษาที่แตกต่างกัน เป็นต้น และส่วนใหญ่ใน 12 การศึกษาเป็นการเปรียบเทียบกับยาอื่นๆ ที่ใช้รักษาในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการศึกษาที่มีผลเหมือนกันคือ ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประสิทธิผลในการลดอาการทางคลินิกใน 7 วัน และ 14 วัน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้ยา ซึ่งสนับสนุนแนวทางการรักษาของไทยที่ปรับปรุงล่าสุด ฉบับที่ 17 ที่เริ่มให้ยาเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มมีอาการ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!