WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa2ASSS

สสส. ร่วมกับ เครือข่ายสื่อสุขภาวะลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ หนุนสื่อเคเบิลท้องถิ่น รุกนำเสนอคอนเทนต์รณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงให้ตอบโจทย์สังคม ในยุค Digital Disruption และ New Normal

        โครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อสุขภาวะลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ (Work Shop) ในรูปแบบการจัดกิจกรรม’แชร์วงคุย บอกกล่าวประสบการณ์ สู่การเรียนรู้ของตน’ภายใต้ชื่องาน ‘เปิดมุมมองการทำสื่อให้ดัง ปังทุกแพลตฟอร์ม’โดยมี นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวเปิดงาน และนายณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและการตลาดดิจิทัล คอลัมนิสต์ พร้อมด้วย นายธีมะ กาญจนไพริน (จั๊ดซัดทุกความจริง) ผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่และพิธีกร ช่อง One และนายกฤชอรรณัฐ แสงโชติ Digital Content Manager เพจ ‘อีจัน’ สำนักข่าวออนไลน์ ร่วมเป็นวิทยากร ในการแลกเปลี่ยนมุมมอง

      และชวนกันคิดเพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารในประเด็นลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในรูปแบบและแพลตฟอร์มใหม่ , การปรับตัวของสื่อและแนวทางการนำเสนอเนื้อหาและการสื่อสารให้น่าสนใจ (Content & Communication Trend) พร้อมเปิดเวทีพูดคุยในประเด็น ‘ปรับตัวอย่างไร เมื่อสื่อมีทางเลือกหลายแพลตฟอร์ม’ โดยกิจกรรมดังกล่าวมีผู้บริหาร-ผู้ประกอบการ และทีมผลิตสื่อเคเบิลท้องถิ่นภายใต้การทำงานของเครือข่ายสื่อเคเบิลสุขภาวะ จำนวนกว่า 10 สถานี เข้าร่วมรับการอบรม ร่วมกับเครือข่ายสื่อเชิงประเด็นลดปัจจัยเสี่ยง ของ สสส. ทั้งประเด็นเหล้า บุหรี่ การพนัน  และอุบัติเหตุ ผสานพลังเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ รวมทั้งสิ้นกว่า 70 คน

         นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เปิดเผยว่า สื่อเคเบิลทีวี เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายสำคัญซึ่งจะมีส่วนในการช่วยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของ สสส. และเครือข่ายภาคี ออกสู่ภาคประชาสังคม แต่จากบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปการนำเสนอรูปแบบสื่อจึงจำเป็นต้องปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เหตุนี้ สสส.จึงจัดให้มีโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อเคเบิลท้องถิ่นเข้าสู่เครือข่ายสื่อสุขภาวะ ที่มีความรู้ความสาสมารถในการสร้างสรรค์ และผลิตเนื้อหา (Content) ได้อย่างน่าสนใจ มีรูปแบบหรือเทคนิคการนำเสนอชวนติดตามสอดคล้องกับความนิยมของการรับชมข่าวสารในสังคมปัจจุบัน และเพื่อเปิดโอกาสการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานระหว่างคนทำสื่อเคเบิล ร่วมกับสื่อออนไลน์ หรือ สื่อข้ามแพลตฟอร์มต่างๆ

        ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังจะเป็นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายในส่วนของสื่อเคเบิลท้องถิ่น ทั้งในด้านความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์การนำเสนอประเด็น รวมไปถึงเทคนิคการทำสื่อในยุคการเปลี่ยนผ่านจากระบบเคเบิลสู่ระบบดิจิทัลทีวีอย่างมีประสิทธิผล โดยสามารถใช้รูปแบบการสื่อสารและเครื่องมือการสื่อสารในทุกแพลตฟอร์มได้อย่างเข้าใจและเหมาะสมกับโลกยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) และวิถีชีวิตใหม่ ( New Normal)

         นางสาวรุ่งอรุณ กล่าวด้วยว่า สื่อเคเบิลทีวี เป็นสื่อท้องถิ่นที่เกิดจากคนทำสื่อจากคนในพื้นที่  ภายในจังหวัดของตนเอง เพื่อสื่อสารความเคลื่อนไหวในชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง และมีความพยายามในการปรับตัวเองสู่ความเป็น “สื่อเคเบิลดิจิทัลทีวี” มากยิ่งขึ้น ด้วยการขยายการรับชมจากระบบเคเบิลเพียงอย่างเดียวมาสู่การรับชมผ่านสื่อออนไลน์ และสื่อช่องต่างๆ มากขึ้น ดังนั้น สื่อเคเบิล จึงเป็น ‘พื้นที่สื่อ’ และ ‘คนทำสื่อ’ ที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพสู่ ‘เครือข่ายสื่อสุขภาวะ’ ที่นำเสนอองค์ความรู้ และรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติสู่การมีพฤติกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดี ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพและสังคม ในแนวคิด ‘คนบ้านเดียวกันพูดจาภาษาเดียวกัน’

       “แต่ละพื้นที่จะมีบริบทที่แตกต่างกัน เคเบิลทีวีจะเข้าใจและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้อย่างใกล้ชิด จึงจะเป็นอีกเครือข่ายสื่อที่สำคัญของ สสส. ในการช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม โดยช่วยรณรงค์ขับเคลื่อนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในท้องถิ่นได้ โครงการนี้จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมศักยภาพสื่อในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารให้เข้าถึงประชาชนได้อย่างตรงกับความต้องการของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป”นางสาวรุ่งอรุณ กล่าวในตอนท้าย

         ด้าน นายณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและการตลาดดิจิทัลและในฐานะวิทยากร กล่าวความตอนหนึ่งว่า แม้ในยุค digital disruption ที่มีการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงของสื่อที่สำคัญ แต่หากวิเคราะห์โดยท่องแท้แล้ว ‘สื่อ’ ก็ยังต้องขับเคลื่อน โดย ‘คน’ ไม่ใช่ ‘เทคโนโลยี’ ดังนั้น เราต้องดูกลุ่มเป้าหมาย (Target) ว่า เราต้องการสื่อสารหรือพูดกับใคร ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงความต้องการ อยู่ในความสนใจและเป็นที่น่าเชื่อถือของกลุ่มเป้าหมายนั้น  เพราะถ้าสื่อก๊อปปี้ หรือเห็นคนอื่นทำ แล้วก็ทำตาม ๆ กัน  โดยไม่ศึกษาเรื่องกลุ่มผู้ชมก็จะเป็นการสื่อสารที่ไม่ตรงเป้าหมาย จึงต้องชัดเจนว่าเราต้องการสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายใด ทั้งนี้ ในการสื่อสารอาจแบ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรองได้ โดยจะมีเทคนิคหรือ tactic ในการสื่อสารไปยังแต่ละกลุ่มที่ไม่เหมือนกัน เพราะปัจจุบัน content มีมากมายจนล้น คนจะเลือกเสพสื่อที่ตรงกับที่เขาต้องการ ดังนั้น หากต้องการให้เขาดูเราต้องทำ Content ให้ตรงใจเขา และต้องเข้าถึงได้ง่าย ที่สำคัญต้องมีคุณค่ากับกลุ่มเป้าหมายนั้นด้วย 

     โดยส่วนตัวมองว่า การทำสื่อ หรือ การสื่อสารในประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพ หรือรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เป็นเนื้อหา (Content) ที่สนองความต้องการพื้นฐานของผู้ชมอยู่แล้ว เพราะเป็นประโยชน์ และทำให้ชีวิตของเขาดีขึ้น แต่การจะดึงดูให้น่าสนใจหรือชวนติดตามนั้น อาจต้องมีการผสมผสามนเชิงเทคนิคการเล่าเรื่อง การนำเสนอ ให้เข้ากับเอกลักษณ์ของสื่อเองหรือตรงกับกลุ่มผู้ชมของสื่อนั้นๆ เป็นสำคัญ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!