WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร

บทความให้ความรู้

แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร…ภัยร้ายของกระเพาะอาหาร

     ใครมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้องบ่อยๆ อย่านิ่งนอนใจ เพราะคุณอาจกำลังติดเชื้อเอช.ไพโลโร อยู่ก็เป็นได้ ซึ่งเชื้อนี้สามารถสร้างปัญหาให้เราได้ตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ แบบปวดท้อง ท้องอืด ไปจนถึงโรคร้ายอย่างมะเร็งกระเพาะอาหาร

      บทความตอนนี้ จึงได้นำคำแนะนำของ นพ.ปารินทร์ ศิริวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมระบบโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนวเวช มาบอกเล่าให้ได้ทราบถึงอันตรายของเชื้อชนิดนี้ รวมทั้งการวินิจฉัยและรักษาหากติดเชื้อขึ้นมา

       เอช.ไพโลไร (H pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ถูกพบบนพื้นผิวของกระเพาะอาหารครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1984 โดย Barry J. Marshall and Robin Warren นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ปัจจุบันพบว่ามากกว่า 50% ของประชากรโลกมีการติดเชื้อเอช.ไพโลไร ซึ่งติดต่อผ่านทางน้ำลายและการกินอาหารร่วมกันโดยไม่ใช้ช้อนกลาง

1aแบคทีเรียในกระเพาะ

      การติดเชื้อเอช.ไพโลไร จะก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื้อกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก นำไปสู่การเกิดอาการไม่สบายท้อง มีอาการปวดท้อง อืดแน่นท้อง และก่อให้เกิดโรคในกระเพาะอาหารมากมาย เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

     การวินิจฉัยการและการรักษาทำได้หลายวิธี ได้แก่ 1.การส่องกล้องในกระเพาะอาหาร (EGD) เพื่อตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ 2.การตรวจลมหายใจ (UBT) 3.การตรวจการติดเชื้อในอุจจาระ (Stool H pylori Antigen) แต่วิธีที่เป็นมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยคือ การส่องกล้องเพื่อเข้าไปตัดชิ้นเนื้อในกระเพาะอาหารมาตรวจ โดยวิธีการส่องกล้องในกระเพาะอาหารนั้นทำได้ไม่ยุ่งยาก เมื่อทำเสร็จแล้วพักสังเกตอาการเพียงครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงก็สามารถกลับบ้านได้ การส่องกล้องทางกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องนั้นนอกจากจะตรวจเรื่องของการติดเชื้อเอช.ไพโลไรแล้ว ยังสามารถตรวจว่ามีแผลในกระเพาะอาหารหรือมีมะเร็งกระเพาะอาหารหรือไม่

       ปัจจุบันนี้ทางสมาคมโรคทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยแนะนำให้ผู้ป่วยอายุเกิน 50 ปี ที่มีอาการปวดท้องเกิดขึ้นใหม่ ควรได้รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนทุกราย หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อเอช.ไพโลไรจะได้รับการรักษาโดยการให้ยายับยั้งการหลั่งกรดร่วมกับยาปฏิชีวนะ เมื่อได้รับการรักษาควรกลับมาตรวจยืนยันการติดเชื้อว่าได้หายขาดแล้ว

       สําหรับ ผู้ที่สงสัยว่าอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหาร หรือคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรตรวจหาความเสี่ยง หรือปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายต่อไป

     หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร สามารถขอรับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่โรงพยาบาลนวเวช โทร.02 483 9999 หรือ www.navavej.com

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!