WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDปิดนาน

กรมอนามัยเผย โรงหนัง – ห้าง - ผับ ปิดนาน อากาศไม่ถ่ายเท เสี่ยงเชื้อราเกาะพื้นผิว

     กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขเผย สถานที่ที่ไม่มีอากาศถ่ายเท เช่น โรงหนัง ห้างสรรพสินค้า ผับ ที่ปิดให้บริการเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงเชื้อราขึ้นตามพื้นที่ผิววัสดุ และเครื่องหนัง เมื่อสถานการณ์ปกติต้องทำความสะอาดให้ถูกหลักสุขาภิบาลอย่างเร่งด่วน

        แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวจากกรณีเฟซบุ๊ก Chong Andy ได้แชร์ภาพจากโรงหนังแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย โดยพบว่าหลังจากปิดโรงหนังมานานไม่มีอากาศถ่ายเท ทำให้เชื้อราจำนวนมากขึ้นบริเวณที่นั่งทางเดินซึ่งเป็นพรม เนื่องจากไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศ เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่สินค้าประเภทเครื่องหนังขึ้นราในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเชื้อราในอากาศมีการกระจายตัวผ่านสปอร์ขนาดเล็ก โดยสปอร์จะล่องลอยไปตามอากาศและไปตกอยู่ในที่ที่สภาวะเหมาะต่อการเจริญเติบโต สปอร์จึงเป็นตัวสำคัญในการแพร่

      นอกจากนี้ ในที่ที่แสงส่องไม่ถึงและมีการระบายอากาศไม่ดีจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วดังนั้น ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทย หลายสถานที่ต้องปิดให้บริการ อาจมีความเสี่ยงที่อุปกรณ์หรือวัสดุที่เป็นพื้นผิวที่มีความชื้นง่าย เช่น เบาะนั่ง เครื่องหนัง หรือฝาผนังที่มีความชื้นจะมีเชื้อราได้

      แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าวต่อไปว่า การเกิดเชื้อราเกิดจากปัจจัยหลัก 3 ประการคือ 1) อาหารสำหรับ การเติบโตของรา 2) ความชื้นในอากาศ และ 3) การเคลื่อนที่ของอากาศ นอกจากนี้ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ความขรุขระของพื้นผิว อุณหภูมิที่เชื้อราสามารถเจริญได้ดีอยู่ในช่วง 25-35 องศาเซลเซียส และปริมาณเชื้อราในอากาศ ซึ่งสาเหตุของการเกิดเชื้อราในอาคารหรือห้างสรรพสินค้านั้น เกิดจากการปิดระบบปรับอากาศที่ไม่มีการระบาย อากาศใดๆ ส่งผลให้เกิดความชื้นสะสมอยู่ภายในอาคาร มีการปิดอาคารไว้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เมื่ออากาศไม่มี การเคลื่อนที่ เชื้อราที่อยู่ในอากาศในรูปแบบของสปอร์จึงตกลงไปยังวัสดุที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ง่ายเช่น วัสดุที่เป็นหนัง โดยสาเหตุการเจริญเติบโตของเชื้อราในอาคารที่พบบ่อยคือ ในท่ออากาศที่มีการควบแน่นของน้ำ เนื่องจากใส่ฉนวนของท่ออากาศไม่เพียงพอ บริเวณพรมที่มีความเสียหายจากการได้รับน้ำหก และยังรวมถึงฝนที่เข้ามาภายในอาคาร ทำให้เกิดการสะสมความชื้นบนพื้นผิวของอาคารด้วย

   “ทั้งนี้ ผู้ดูและสถานที่หรือผู้ทำความสะอาดต้องตรวจเช็กวัสดุพื้นผิวภายในอาคาร และสังเกตตามมุมที่มี ขอบไม้ หรือแหล่งที่อาจเป็นอาหารของเชื้อรา เมื่อพบควรกำจัดด้วยการเช็ดเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายด้วยน้ำสบู่ น้ำส้มสายชู คลอรีน หรือแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดพื้นผิววัสดุต่างๆ ส่วนพื้นห้องให้ใช้สบู่และน้ำหรือผงซักฟอก ทำความสะอาด อาจใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรท์ เช็ดพื้น หรือใช้แอลกอฮอล์70เปอร์เซ็นต์ เช็ดผนัง โต๊ะ และทิ้งให้แห้งเปิดหน้าต่าง หรือเปิดระบบเฟรซแอร์ เพื่อให้อากาศใหม่เข้ามาเพื่อถ่ายเท และไล่อากาศเก่าออกไป”อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!