WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3184 GSK logo sจีเอสเค จับมือสถาบันวิจัยทางการแพทย์บิลและเมลินดา เกตส์
ต่อยอดการพัฒนาวัคซีนวัณโรค

          • ผลการศึกษาวิจัยวัคซีนทางเลือกป้องกันวัณโรค M72/AS01E ระยะ IIb ของจีเอสเค พบว่าสามารถลดอัตราการเกิดวัณโรคปอดระยะแสดงอาการได้ถึงครึ่งหนึ่งเมื่อฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงที่ยังไม่มีอาการ
          • การพัฒนาวัคซีนป้องกันวัณโรคนับเป็นวาระด้านสุขภาพระดับโลกที่มีความสำคัญ เพื่อยุติการแพร่ระบาดของโรควัณโรค และเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
          • ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนทางเลือกสำหรับกลุ่มประเทศรายได้ต่ำที่มีภาระโรควัณโรคในระดับสูง
  
          บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น จำกัด (มหาชน) หรือ จีเอสเค ร่วมกับสถาบันวิจัยทางการแพทย์บิลและเมลินดา เกตส์ พัฒนาต่อยอดวัคซีนทางเลือกเพื่อป้องกันวัณโรค โดยจีเอสเคได้มอบสิทธิ์การผลิตวัคซีนทางเลือกเพื่อป้องกันวัณโรค M72/AS01E ของบริษัทแก่สถาบันฯ ในการพัฒนาวัคซีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำวัคซีนดังกล่าวไปใช้ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำที่มีภาระโรควัณโรคในระดับสูง

          ดร. โธมัส บริวเออร์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ จีเอสเค วัคซีน กล่าวว่า “จีเอสเคมีความภูมิใจอย่างยิ่งในการพัฒนาวัคซีนทางเลือกเพื่อป้องกันวัณโรคที่มีผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกที่ดีในกลุ่มเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการวัคซีนเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของวัณโรคมากที่สุด เรามีความยินดีสำหรับความร่วมมือครั้งสำคัญนี้ที่จะสนับสนุนให้พันธมิตรต่างๆ สามารถนำนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ของเราไปต่อยอดให้เกิดการพัฒนาที่มากขึ้นในอนาคต”

          วัณโรคนับเป็นโรคติดเชื้อที่ร้ายแรงที่สุดในโลก โดยในปี 2561 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 10 ล้านคน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 1.5 ล้านคน ผู้ติดเชื้อกว่าร้อยละ 97 ของการติดเชื้อวัณโรคทั่วโลกนั้น อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลางซึ่งมีภาระโรคในระดับสูง โดยปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ได้รับการรับรองว่าสามารถป้องกันวัณโรคปอดได้ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ป่วยด้วยวัณโรคมากที่สุด โดยคิดเป็นจำนวนร้อยละ 89 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในปี 2561 ทั้งนี้ได้มีการฉีดวัคซีนบีซีจี ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตอ่อนฤทธิ์เพื่อใช้ในการป้องกันวัณโรคในทารกแรกเกิดและเด็กเล็กตลอดระยะเวลาเกือบศตวรรษ แม้บีซีจีจะให้ผลที่ดีในการป้องกันวัณโรคชนิดรุนแรงในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บีซีจีสามารถป้องกันวัณโรคปอดได้อย่างจำกัด ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดของวัณโรค

          สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ สถาบันวิจัยทางการแพทย์บิลและเมลินดา เกตส์ จะเป็นผู้นำในการพัฒนาวัคซีนทางเลือกเพื่อป้องกันวัณโรคและสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางคลินิกต่อไปในอนาคต ในขณะที่จีเอสเคจะเป็นผู้จัดหาสารเสริมฤทธิ์วัคซีน (adjuvant) AS01 ให้กับโครงการพัฒนาวิจัยนี้ โดยผลการศึกษาทางคลินิกในระยะ IIb ในประเทศแอฟริกาใต้ เคนย่า และแซมเบีย โดยความร่วมมือกับองค์กรคิดค้นวัคซีนป้องกันเอดส์ (International AIDS Vaccine Initiative: IAVI) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่า วัคซีนทางเลือกเพื่อป้องกันวัณโรค M72/AS01E แสดงให้เห็นถึงข้อมูลด้านความปลอดภัยที่ยอมรับได้ และสามารถลดอัตราการเกิดวัณโรคปอดระยะแสดงอาการได้ถึงครึ่งหนึ่งเมื่อฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงที่ยังไม่มีอาการและไม่ติดเชื้อเอชไอวี
          นายฟิลลิป ธอมสัน ประธานฝ่ายกิจการสัมพันธ์ทั่วโลก จีเอสเค กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นและน่าจดจำในความพยายามของเราที่ต้องการส่งเสริมระบบสาธารณสุขทั่วโลกผ่านนวัตกรรมทางการแพทย์ สำหรับจีเอสเค การเป็นพันธมิตรในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถสร้างแนวทางที่ยั่งยืนเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้คนบนโลกใบนี้ ด้วยการทุ่มเทความพยายามและความเชี่ยวชาญในงานด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาวิจัย พร้อมกับการสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ”

          วัณโรคนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญสำหรับประเทศไทย โดยประเทศไทยถูกจัดให้เป็น 1 ใน 14 ประเทศในโลกที่มีภาระวัณโรคสูง ทั้งวัณโรค วัณโรคที่มีการติดเชื้อเอชไอวี และวัณโรคดื้อยา โดยองค์การอนามัยโลกประมาณการว่า ในปี 2560 ไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับมาเป็นซ้ำ 108,000 ราย สำหรับวัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis จากคนสู่คนผ่านทางอากาศ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเลือดหรือเสมหะปนมากกว่า 2 สัปดาห์ เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และหากมีการรักษาที่ล่าช้าหรือไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เสียชีวิต ผลกระทบของวัณโรคยังส่งผลต่อสุขภาพจิต เศรษฐกิจ และภาวะทางสังคมของผู้ป่วย

 


AO3184

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!