WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaBลดขยะ

กรมอนามัย แนะ ปชช.ทั่วไป - ไม่ป่วย เลือกสวมหน้ากากผ้าป้องกัน ซักสะอาดใช้ซ้ำได้ ลดเพิ่มขยะ

      กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะในช่วงที่มีการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 ประชาชนทั่วไป ที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ให้สวมหน้ากากผ้าที่สะอาดแทนหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ในแหล่งแออัด หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะที่ผู้คนหนาแน่น ซักให้สะอาดนำมาใช้ซ้ำได้ ไม่เพิ่มปริมาณขยะ

       แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากปริมาณความต้องการหน้ากากอนามัยในช่วงนี้เวลานี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ดร.สาธิต ปิตุเตชะ) ได้ส่งต่อความห่วงใยไปยังประชาชนพร้อมแนะนำทางเลือกในช่วงที่มีการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 ประชาชนทั่วไปที่ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีผู้คนแออัด ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากาก แต่หากจำเป็นต้องเข้าไปในแหล่งชุมชนที่มี ผู้คนหนาแน่น หรือใช้รถขนส่งสาธารณะร่วมกันเป็นจำนวนมาก สามารถป้องกันตนเองได้ด้วยการสวมหน้ากากผ้า ที่สะอาดแทน ส่วนหน้ากากอนามัยเหมาะสำหรับใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม โดยข้อดีของหน้ากากผ้าที่แนะนำให้ใช้นอกจากจะช่วยป้องกันฝุ่นขนาดใหญ่ทั่วไปแล้ว ยังนำมาซักให้สะอาดแล้วใช้ซ้ำได้อีก ช่วยประหยัดงบประมาณในการหาซื้อหน้ากากอนามัยเนื่องจากสามารถเย็บใช้ได้เอง ช่วยลดปัญหาขาดแคลน และยังช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดจากการทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอีกด้วย

    “ทั้งนี้ สำหรับการป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัยนั้น หลักสำคัญต้องพิจารณาจากสถานการณ์คือ 1. ตนเองไม่สบาย หรือ 2. แพทย์และพยาบาลดูแลผู้ป่วยโดยไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยนั้น ๆ จะสามารถแพร่เชื้อออกมา ทางละอองฝอยจากการพูด ไอ จามหรือไม่ และ 3 .คนปกติที่ต้องเข้าไปในสถานการณ์ที่มีคนหนาแน่นโดยห่างกัน น้อยกว่า 1 เมตร โดยที่ไม่ทราบว่าคนที่ยืนอยู่ใกล้ชิดนั้นป่วยหรือไม่และสามารถจะแพร่เชื้อได้หรือไม่ ส่วนวิธีการกำจัดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว หากเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้ทิ้งลงในถังขยะติดเชื้อที่มีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดเจน ส่วนประชาชนทั่วไปให้ทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิด ที่สำคัญต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งทั้งก่อนใส่และหลังทิ้งหน้ากากอนามัยเพื่อสุขอนามัยที่ดี”อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

กรมควบคุมโรค ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดสัมมนาวิชาการ โรคไวรัสโคโรนา 19 เน้นสร้างความรู้รอบ รู้เท่าทัน และสื่อสารแม่นยำ

     กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดสัมมนาวิชาการ โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) เพื่อค้นหาปัญหา ช่องว่าง และโจทย์วิจัย รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานเชิงวิชาการ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้รอบ รู้เท่าทัน และสื่อสารแม่นยำ

          ที่ห้องประชุมประเมินจันทวิมล กรมควบคุมโรค นายแพทย์สมบัติ แทนประเสริฐสุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค และประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาวิชาการ ‘โรคไวรัสโคโรนา 19 รู้รอบ เท่าทัน สื่อสารแม่นยำ’ ว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 จากประเทศจีน มีการรายงานครั้งแรกเมื่อปลายปี 2562 การระบาดในประเทศจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการป้องกันโรคดังกล่าว กรมควบคุมโรคได้ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน เป็นระดับ 3 ตามข้อสั่งการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการดำเนินงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกรมฯ รวมทั้งการสื่อสารและจัดการกับข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อลดความตื่นตระหนกของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัญหา ช่องว่าง และโจทย์วิจัย รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ และประสบการณ์ทำงาน ระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ จากกรมฯต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ผู้แทนองค์การอนามัยโลก และหน่วยงานให้ทุนวิจัย โดยมีเป้าหมายการสัมมนาในวันนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน มีความรู้รอบ ทั้งมาตรการป้องกันควบคุมโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การดูแลรักษาผู้ป่วย รู้เท่าทัน กับสถานการณ์ และการเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้ง หาช่องว่าง หรือปัญหา ที่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม และสื่อสารแม่นยำ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ข้อเท็จจริง และแนวทางการดำเนินงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ให้กับประชาชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป

     นายแพทย์สมบัติ กล่าวต่อไปว่า ในอดีตที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้จากการระบาดของเชื้อไวรัส ทั้งโรคซาร์ส ปี 2003 ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และโรค MERS-CoV ปี 2012 ซึ่งในการระบาดแต่ละครั้งเราได้บทเรียนสำคัญ โดยเฉพาะแนวทางและมาตรการควบคุมป้องกันการระบาดแบบใหม่ๆ โดยมีการบูรณาการร่วมกับหลายภาคส่วน เกิดเครือข่ายทั้งภายในและนอกกระทรวงสาธารณสุข และการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 ในครั้งนี้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดี แต่ต้องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่เลวร้ายในอนาคตด้วย นอกจากนี้ก็พร้อมที่จะเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาเช่นกัน

   ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร นักวิชาการจากหน่วยงานในสังกัดกรมฯ รวม 70 คน และผ่านระบบ video conference ไปยังสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ โดยวิทยากรบรรยายได้รับเกียรติจากกองระบาดวิทยา สถาบันบำราศนราดูร สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้แทนองค์การอนามัยโลก

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทั้งจีโนมสู่การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัย

     กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาต่อยอดการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (whole genome sequencing) สู่ชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่มีความแม่นยำ รวดเร็ว นำไปสู่ผลการตรวจที่ถูกต้อง และขยายขีดความสามารถสู่ห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั่วประเทศ รู้ผลการตรวจรวดเร็ว สนับสนุนการควบคุมและป้องกันโรคภายในประเทศ โดยบริการตรวจคู่ขนานกับห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งใช้เทคนิคการตรวจที่ต่างกัน อีกทั้งร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกด้วยการแบ่งปันข้อมูลและสนับสนุนการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน

      นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์แพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในขณะนี้ ท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ได้มอบนโยบายและสั่งการให้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน (EOC) ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขขึ้น เพื่อรับมือควบคุมการระบาดของเชื้อโรคนี้ และมอบให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ดูแลพัฒนาห้องปฏิบัติการให้สามารถตรวจวินิจฉัยโรคนี้ให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ รวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยและการป้องกันควบคุมโรค องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศกฎอนามัยระหว่างประเทศ (IHR 2005 ) กำหนดให้ประเทศสมาชิกพัฒนาสมรรถนะของประเทศให้พร้อมรองรับโรคระบาดและสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการป้องกัน ตรวจจับและตอบสนองต่อการระบาด เพื่อหวังจะลดความเสี่ยงตลอดจน ความเสียหายจากการระบาดของโรคอุบัติใหม่ต่างๆ หนึ่งในสมรรถนะหลักที่สำคัญ

      ได้แก่ สมรรถนะด้านระบบห้องปฏิบัติการสาธารณสุข ซึ่งส่งผลให้สามารถตรวจจับโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว สามารถควบคุมและจัดการปัญหาได้ทันการณ์ เมื่อมีโรคอุบัติใหม่ระบาด ห้องปฏิบัติการมีหน้าที่สำคัญคือต้องพยายามตรวจพิสูจน์ให้ได้ว่าเชื้อโรคนั้นคือเชื้ออะไร จากนั้นจะต้องพัฒนาวิธีการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อมาใช้ในการตรวจชันสูตรผู้ป่วยจำนวนมากให้ได้อย่างรวดเร็ว และถ่ายทอดให้ห้องปฏิบัติการเครือข่ายนำไปใช้ประโยชน์เพื่อรองรับสถานการณ์หากพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งต้องเร่งวิจัยพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคขึ้นมาใช้ ภารกิจเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในระดับนานาชาติ องค์การอนามัยโลกได้เชิญชวนให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกัน โดยแบ่งปันข้อมูลสำคัญเช่น ข้อมูลพันธุกรรมของเชื้อโรค วิธีการตรวจ ตลอดจนทรัพยากรชีวภาพ เช่น เชื้อโรค เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วนเหล่านี้ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่ประเทศที่ยังไม่พร้อม เพื่อให้สามารถควบคุมโรคได้ทันการณ์

      นายแพทย์โอภาส กล่าวต่ออีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการแห่งชาติด้านสาธารณสุข และเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงไข้หวัดใหญ่ของภูมิภาค SEAR ได้ตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยวิธีการตรวจรหัสพันธุกรรมตลอดทั้งจีโนม (whole genome sequencing) ภายใน 2 วัน หลังได้รับตัวอย่างผู้ป่วยรายแรก และได้แบ่งปันข้อมูลรหัสพันธุกรรมนี้กับเครือข่ายห้องปฏิบัติการอ้างอิงไข้หวัดใหญ่ผ่านศูนย์ข้อมูล GISAID เพื่อให้นานาชาติใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการวิจัยพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคขึ้นมาใช้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้ควบคุมการระบาดได้อย่างทันการณ์ นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาความพร้อม โดยให้ความช่วยเหลือในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการสนับสนุนน้ำยาตรวจวิเคราะห์ ทั้งนี้ด้วยตระหนัก ในความจริงที่ว่าโรคติดต่อนั้นไร้พรมแดน การให้ความช่วยเหลือมิตรประเทศเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยเสริมภูมิให้แก่ภูมิภาคในการจัดการการระบาดครั้งนี้

      “ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับตัวชี้วัดความมั่นคงด้านสุขภาพให้มีความพร้อมในลำดับ 6 ของโลก โดยมีคะแนน สมรรถนะด้านระบบห้องปฏิบัติการเต็ม 100 สมรรถนะระบบห้องปฏิบัติการของประเทศ หมายความรวมตั้งแต่เครือข่ายห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลระดับอำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ เครือข่ายห้องปฏิบัติการอ้างอิง ขีดความสามารถ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระบบการส่งต่อตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อสอบสวนโรคและการยืนยันทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ”นายแพทย์โอภาส กล่าว

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!