WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaหัวใจล้มเหลว

สถาบันโรคทรวงอก เตือนผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว หากพบอาการและสัญญาณเตือนของโรค อย่าละเลยให้รีบมาพบแพทย์ทันที

    กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอกเตือนผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว หากพบมีอาการหายใจลำบากอ่อนเพลีย อาการบวมตามอวัยวะต่างๆ อย่าละเลย ควรรีบมาพบแพทย์หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะหัวใจ ล้มเหลวและเสียชีวิตได้

     นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการการทำงานของหัวใจที่เกิดความผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายและรับเลือดกลับเข้าหัวใจได้ตามปกติปัจจัยเสี่ยงสาคัญของภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากความผิดปกติของ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจรูมาติก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รวมทั้งความผิดปกติ จากการติดเชื้อไวรัสโลหิตจางขั้นรุนแรงและภาวะไทรอยด์เป็นพิษอาการและสัญญาณเตือนของโรคผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก ในขณะที่ออกแรงขณะนอนราบ อาการอ่อนเพลียทำให้ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกายลดลง อาการบวมตามอวัยวะต่าง จากภาวะคั่งน้ำและเกลือ เช่น เท้าบวม ท้องบวม มีน้ำคั่งในปอดและอวัยวะภายในซึ่งเมื่อภาวะเหล่านี้ผู้ป่วยต้องรีบเดินทางมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้อาการแย่ลงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้

        นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า แนวทางการวินิจฉัยของโรค ภาวะหัวใจล้มเหลวแพทย์จะซักประวัติจร่างกาย ประเมินภาวะสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายและทำการตรวจ ห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ตรวจเลือดและปัสสาวะ x-ray ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตรวจUltrasoundหัวใจ หากพบว่ามีอาการเข้าได้กับภาวะหัวใจล้มเหลว แพทย์จะรีบทำการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างรวดเร็วที่สุด สำหรับแนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาการควบคุมปัจจัยเสี่ยง การใช้เครื่องกระตุกหัวใจ อัตโนมัติ/เครื่องกระตุกหัวใจแบบถาวร การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ/ การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและการวินิจฉัยของอายุรแพทย์หัวใจ นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องรู้จักดูแล สุขภาพตนเองในภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนี้ ควรชังน่้าหนักก่อนทานอาหารเช้าทุกวันหรือภายหลังเข้าห้องน้าขับถ่ายช่วงเช้า หากพบว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1-1.5 กก. ภายใน 1 – 2 วันให้รีบมาพบแพทย์ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม ควบคุม การรับประทานเกลือโซเดียม จำกัดปริมาณการดื่มนั้าตามแผนการรักษาของแพทย์หลีกเลี่ยงการเดินทางไกลคนเดียว ไม่เครียด งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรหักโหมจนเกินไป ตามคำแนะนำแพทย์ เช่น การเดินราบ หากมีอาการหอบเหนื่อยควรหยุดพักทันที และต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!