WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปลอดเหล้า

'อนุทิน' หนุนดูแล 'คนไทยไร้สถานะ' ให้เข้าถึงบริการสุขภาพ ยืนยันหลักการ 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง'

     อนุทิน หนุนดูแล 'คนไทยไร้สถานะ' ให้เข้าถึงบริการสุขภาพ ยืนยันหลักการ 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง'คณะทำงานบูรณาการฯ ชง บอร์ด สปสช. แก้ปัญหาทั้งระบบ ตั้ง ‘ศูนย์ประสานงานเแก้ไขปัญหา’ดึงหน่วยบริการร่วมเป็นกลไกสู่กระบวนการพิสูจน์สถานะ พร้อมเสนอ 2 แนวทาง ขยายกองทุนคืนสิทธิให้ครอบคลุม หรือตั้งกองทุนรักษาพยาบาลคนไทยไร้สถานะ ช่วยเข้าถึงการรักษาระหว่างรอพิสูจน์ก่อน

      ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน ได้รับทราบผลการดำเนินงานพัฒนาการเข้าถึงบริการระบบหลักประกันสุขภาพของกลุ่มคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน หรือ “คนไทยไร้สถานะ” และเห็นชอบข้อเสนอในเชิงงบประมาณ นำเสนอโดยคณะทำงานบูรณาการการเข้าถึงบริการระบบหลักประกันสุขภาพของกลุ่มคนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน ภายใต้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันสุขภาพของทุกภาคส่วน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

     นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะทำงานบูรณาการการเข้าถึงบริการระบบหลักประกันสุขภาพของกลุ่มคนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน กล่าวว่า จากการทำงานของคณะทำงานฯ ซึ่งได้มีการประชุมร่วมกัน 4 ครั้ง พบว่าคนที่เข้าไม่ถึงบริการหลักประกันสุขภาพสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มคนที่มีหลักฐานว่าเป็นคนไทย เช่น มีบัตรประชาชน สูติบัตร แต่เข้าไม่ถึงหลักประกันสุขภาพ 2.กลุ่มคนที่มีปัญหาสถานะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและสันนิษฐานว่าเป็นคนไทย อาจมีหลักฐานไม่เพียงพอและอยู่ระหว่างรอพิสูจน์สถานะ และ 3.กลุ่มคนที่ไม่ใช่คนไทย

     คณะทำงานได้จัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่แก้ไขปัญหาได้ง่ายที่สุด ประสานกับสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา” ทั้งที่อำเภอและเทศบาล พร้อมประสานกับ สปสช.ในการย้ายสิทธิให้สามารถเข้ารับบริการยังหน่วยบริการในพื้นที่ได้

      กลุ่มที่ 2 นอกจากใช้กลไกของศูนย์ประสานงานสนับสนุนการแก้ไขปัญหาแล้ว จะทำสำรวจค้นหาคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน จัดทำระบบลงทะเบียนบุคคลที่หน่วยบริการเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สถานะ จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการเข้าถึงบริการเพื่อให้มีงบประมาณรองรับ และประสานกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนงบประมาณการตรวจดีเอ็นเอ

     และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่คนไทย ให้ประสานกระทรวงสาธารณสุขเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพแรงงานต่างด้าวให้ครอบคลุม อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อรุนแรง ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำคำของบประมาณเพิ่มเติมสำหรับวัคซีน ยาต้านไวรัสและยาต้านวัณโรค ให้กับประชากรทั้ง 3 กลุ่มก่อน

       นายบุญธรรม กล่าวว่า ส่วนข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการเข้าถึงบริการระบบหลักประกันสุขภาพของกลุ่มคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนที่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สิทธิ์ ให้มีงบประมาณวงเงิน 100-120 ล้านบาทเพื่อรองรับ โดยมี 2 ทางเลือก คือ 1.เพิ่มกลุ่มเป้าหมายคนไทยไร้สถานะในกองทุนคืนสิทธิ กระทรวงสาธารณสุขทำคำของบประมาณเพิ่มเติม และ 2.ตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยให้กับหน่วยบริการที่ดูแลคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน หรือที่เรียกว่ากองทุนรักษาพยาบาลคนไทยไร้สถานะ

               ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เสนอให้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ สปสช.ทำหนังสือประสานไปยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้พิจารณากลุ่มเป้าหมายและตั้งงบประมาณในกองทุนคืนสิทธิเพื่อดูแลสุขภาพกลุ่มคนไทยที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน และสนับสนุนให้หน่วยบริการและกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ในการสำรวจและลงทะเบียนกลุ่มคนไทยไร้สถานะเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานพิสูจน์สถานะ พร้อมกันนี้ให้ สปสช. ทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย ในการขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตั้งงบประมาณสำหรับการตรวจดีเอ็นเอให้กับกลุ่มคนไทยไร้สถานะในพื้นที่ และสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาคนที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนผ่านศูนย์ประสานงานเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา

      นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นด้วยตามข้อเสนอ ซึ่งเป็นหลักการเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Living no one behind.) และเรื่องสุขภาพการรักษาพยาบาลคงปฏิเสธกันไม่ได้ จึงขอรับข้อเสนอไปผลักดันต่อ ส่วนของงบประมาณจะนำมาจากไหนนั้น แม้ว่าทางสำนักงบประมาณจะปิดงบประมาณปี 2563 ไปแล้ว แต่ยังมีงบกลางอยู่ที่สามารถแปรญัตติได้ เป็นหน้าที่ของตนในการเดินหน้าเรื่องนี้ 

     นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า คนเหล่านี้เป็นกลุ่มสำคัญที่สุดในหลักการของการดำเนินระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติในปลายปีนี้ และขณะนี้ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญในประเด็น Living no one behind. เพราะคนไร้สถานะเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมมากที่สุด เนื่องจากไม่ถูกระบุสัญชาติว่าเป็นประชากรของประเทศใด แต่คนเหล่านี้เป็นคน เป็นมนุษย์ ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยให้การยอมรับอยู่ ดังนั้นเราจึงต้องทำให้คนเหล่านี้ได้สิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพ เช่นเดียวกับที่ได้ให้สิทธิการศึกษากับกลุ่มเด็กที่ไร้สถานะขณะนี้จำนวน 50,000-60,000 คน และเรื่องนี้ได้เคยนำเสนอเข้า ครม.มาแล้ว แต่ถูกดึงออกไป

     พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ในการดำเนินการเรื่องนี้มองว่าข้อมูลคนไทยไร้สถานะที่ได้ยังไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด มีเพียง 55 จังหวัดเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องดำเนินการให้ครบถ้วนทุกจังหวัดเพื่อที่จะได้นำเสนอพิจารณาในคราวเดียวกัน รวมถึงให้ครอบคลุมในทุกสถานพยาบาล ทั้งโรงเรียนแพทย์ รพ.สังกัดหน่วยงานต่างๆ ไม่แต่เฉพาะ รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น เพราะเรื่องนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!