WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDBBCสาธารณสขไทย

สาธารณสุขไทย เป็นเจ้าภาพประชุมผู้บริหารกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือและตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า

       ประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บริหารเพื่อพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาค ในการเตรียมความพร้อมรับมือและตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเปิดตัวคู่มือปฏิบัติงานเตรียมความพร้อมและตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามบริบทของแต่ละประเทศ

     ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตันฯ กรุงเทพฯ นายแพทย์สมบัติ แทนประเสริฐสุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดการประชุมระดับผู้บริหารเพื่อพัฒนาความร่วมมือระดับภูมิภาค ในการเตรียมความพร้อมรับมือและตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการสนับสนุนขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ อาทิ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) และมูลนิธิเครือข่ายฝึกอบรมระบาดวิทยาภาคสนามอาเซียน (ASEAN+ FETN Foundation) จัดระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2562

     ผู้บริหารจากหน่วยงานป้องกันควบคุมโรคของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย บรูไน ดารุสสาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเชีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม รวมถึงประเทศญี่ปุ่น และเครือข่ายการพัฒนา ได้มาร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ในการเตรียมความพร้อมรับมือและตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสซิก้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เมื่อย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ.2015-2016 โรคติดเชื้อไวรัสซิก้าได้เริ่มก่อการระบาดในลาตินอเมริกา ส่งผลกระทบรุนแรงทางด้านการแพทย์ สังคม และเศรษฐกิจ เพราะนอกจากก่อให้เกิดโรคที่เคยพบมาก่อน ได้เกิดปัญหาเด็กศีรษะเล็กขึ้น และก่อความกังวลในวงกว้าง จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ.2016 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ให้ความสำคัญกับโรคนี้ เนื่องจากมียุงลายที่เป็นพาหะนำโรคนี้

     นายแพทย์สมบัติ กล่าวต่อไปว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนขององค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้จัดการประชุมระดับภูมิภาคเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ระหว่างปี ค.ศ.2017-2019 โดยมีผู้แทนของหน่วยงานป้องกันควบคุมโรคของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้เชียวชาญด้านโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์การระบาดของโรค มาตรการและเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรค และได้ตกลงกันร่วมพัฒนาคู่มือปฏิบัติงานเตรียมความพร้อมและตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Zika Operational Guidelines for the Preparedness and Response of Southeast Asian Countries) ซึ่งได้ดำเนินการมาจนสำเร็จลุล่วงแล้ว  

     ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอคู่มือปฏิบัติการฉบับดังกล่าว ต่อผู้บริหารของทุกประเทศ เพื่อจะได้พิจารณานำไปใช้ประโยชน์ตามบริบทของแต่ละประเทศ ในการต่อสู้กับภัยสุขภาพของภูมิภาค ได้แก่ โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า รวมทั้งโรคติดต่อนำโดยยุงลาย โดยเฉพาะไข้เด็งกี่และโรคชิกุนกุนยา ซึ่งกรมควบคุมโรคเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือปฏิบัติการฉบับดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศในภูมิภาค ในการนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางสุขภาพต่อไป

          ข้อมูลจาก : สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค

 

The Executive Conference Advancing the Regional Collaboration on Zika Virus Preparedness and Response in Southeast Asian Countries

      Today, 23 August 2019, the Department of Disease Control (DDC), Thailand Ministry of Public Health, is organizing “ The Executive Conference Advancing the Regional Collaboration on Zika Virus Preparedness and Response in Southeast Asian Countries" with the support of USAID, FAO, WHO, U.S. CDC, ASEAN Plus FETN Foundation, and relevant international organizations during 22 – 23 August 2019 at the Millennium Hilton Bangkok Hotel in Bangkok, Thailand.

      The executives of disease prevention and control authorities from Southeast Asian countries including Brunei Darussalam, Cambodia, Indonesia, Lao PDR, Malaysia, Myanmar, Philippines, Singapore, Thailand, Vietnam, and Japan and other relevant stakeholders are gathering here to jointly address the public health significance of the Zika Virus that requires proper preparedness and effective response.

    During 2015 and 2016, Zika Virus started to cause an epidemic in Latin America with major medical, social, and economic implications. Besides the usual disease symptoms, newborns with microcephaly triggered deep concerns. The World Health Organization hence declared the situation as a Public Health Emergency of International Concern (PHEIC) in 2016. Countries in the Southeast Asian region then prioritized Zika Virus based on the region’s existing Aedes mosquitoes as the vector population that are able to transmit the virus.

       The Department of Disease Control (DDC), Thailand Ministry of Public Health, with the support of USAID, FAO, WHO, U.S. CDC, and relevant international organizations has organized a series of the Zika Virus regional meeting during 2017 to 2019. Representatives of the disease prevention and control authorities from Southeast Asian countries and vector-borne diseases experts have joined the meetings. The assessment of the outbreak situation, existing interventions and promising tools for effective prevention and control have been reviewed. Efforts have been put for the development of “the Zika Operational Guidelines for the Preparedness and Response of Southeast Asian Countries” that finally have been accomplished.

      The Thailand DDC is most honored to present the guidelines to the concerned executives for their recognition and utilization to fight our common threats, the Zika Virus Disease and other mosquito-borne diseases especially Dengue and Chikungunya, according to each country's own context. Thailand DDC is definitely confident that the guidelines will be helpful for each country in the region to use in the health security promotion in the near future.

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!