WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผ่านโยบายลดชม.เรียน ... ผลบวกหรือลบ? ระบบการศึกษาไทยได้อะไรจากนโยบายนี้?



 

มติชนออนไลน์ :  นโยบายการปรับลดเวลาเรียนในโรงเรียนจากแนวคิดของ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้รับความสนใจจากคนในสังคม ล่าสุด นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ผู้ที่รับนโยบายมาดูแลในขั้นต่อมาแถลงข่าวแจกแจงรายละเอียดนโยบายนี้ให้เห็นภาพมากขึ้น 
     นายกมล รอดคล้าย ระบุว่า จากนโยบายนี้ นโยบายเบื้องต้นคือ เวลาเรียนช่วงเช้าถึงเวลาประมาณ 14.00 น. นักเรียนจะได้เรียนวิชาการใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลังจากนั้นจะเป็นการทำกิจกรรมที่เน้นด้านปฏิบัติและบูรณาการ ในเบื้องต้น สพฐ.ได้กำหนดกิจกรรม 4 แบบ ได้แก่ กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ ที่เน้นให้เด็กทำกิจกรรมนอกห้องเรียน, กิจกรรมเสรี ให้โรงเรียนจัดตามความเหมาะสมและความพร้อม, กิจกรรมสอนอาชีพ และ กิจกรรมสอนเสริมวิชาการ โดยนายกมล เชื่อว่า แนวทางนี้จะพลิกโฉมการศึกษาไทยได้ พร้อมยอมรับว่าครูอาจจะต้องเหนื่อยในช่วงแรก
http://www.matichon.co.th/online/2015/09/14413581571441360233l.jpg
        สำหรับ นโยบายนี้ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นว่า ในระยะสั้นถือเป็นเจตจํานงค์ที่ดีที่จะช่วยลดความเครียดเรื่องการเรียนให้แก่เด็ก และการขยับตารางเรียนกลุ่มวิชาสาระหลักให้เรียนเสร็จในแต่ละวันเร็วขึ้น จะช่วยให้เด็กเรียนวิชาทักษะ อย่างศิลปะ ดนตรี การงานอาชีพ รวมถึงคอมพิวเตอร์ได้ดียิ่งขึ้น แม้เดิมทีอาจจะมีตารางเรียนอยู่แล้ว แต่บางโรงเรียนอาจอาจจะให้น้ำหนักค่อนข้างน้อย แต่หากจัดตารางเรียนรูปแบบนี้ จะช่วยให้มีความชัดเจนในเรื่องของการเน้นกลุ่มวิชาทักษะมากขึ้น เพราะธรรมชาติของผู้เรียนในหนึ่งวันย่อมมีความล้าเป็นปกติอยู่แล้ว หากเปลี่ยนมาเป็นการเรียนนอกห้องเรียน หรือได้ออกมาเคลื่อนไหวบ้าง จะช่วยให้เด็กมีความตื่นตัวได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อพึงระวังอยู่
       "เราต้องไม่มองไปแค่ว่าวิชาเหล่านี้คือวิชากิจกรรม แต่ 5 วิชาหลักที่เรียนอยู่เป็นวิชาวิชาการ เพราะในความเป็นวิชาวิทย์ คณิต อังกฤษ สังคม ภาษไทย มันจัดกิจกรรมเป็นลักษณะกิจกรรมที่เด็กมีส่วนร่วมได้ เป็น Active Learning ได้ ก็คงไม่ต้องขนาดที่ว่าให้ 5 วิชาแรกเรียนในห้องเรียนแล้วก็เป็นการเรียนบรรยาย ที่เหลือเป็นวิชากิจกรรม แล้วเรียนเป็น Action แต่จริงๆ 5 วิชาแรกก็เรียนเป็นกิจกรรมที่เด็กมีส่วนร่วมได้ ตื่นตัวได้เช่นเดียวกันใช่มั้ยครับ"
     อย่างไรก็ตาม ผศ.อรรถพล มองว่า โรงเรียนหลายแห่งในประเทศไทยมีความหลากหลายเรื่องหลักสูตร หากมีการปรับตารางเรียนจริง ต้องดูตามบริบทของโรงเรียน
     ขณะที่ในระยะยาว ผศ.อรรถพล เชื่อว่า ยังเป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นถึงความแออัดของหลักสูตรตารางการเรียนการสอนที่ส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างยาวนานตั้งแต่ประกาศใช้หลักสูตรเมื่อปีพ.ศ.2551มีวิชาเรียนเพิ่มเติมเข้ามาตลอด อีกทั้งบางวิชายังมีเนื้อหาซ้ำซ้อนกัน ทำให้เด็กต้องเสียเวลาเข้าเรียนเนื้อหาซ้ำกัน เพราะฉะนั้นถ้าจะทำในระยะยาว จะต้องทบทวนหลักสูตรการเรียนใหม่ทั้งหมด พร้อมวางแผนทำหลักสูตรฉบับใหม่ขึ้นมา โดยอิงจากเด็กเป็นตัวตั้งถึงจะส่งผลประโยชน์มากที่สุด เพราะที่ผ่านมาเอาวิชาเป็นตัวตั้ง จึงส่งผลให้เด็กเรียนเยอะมากแต่ไม่ได้ผล 
 
"เรียนเยอะไม่ได้แปลว่ามีคุณภาพ เรียนเยอะไม่ได้แปลว่าเด็กจะมีความรู้เพิ่มขึ้นใช่มั้ยครับ แต่ทำยังไงให้เรียนแล้วเด็กการันตีได้ว่าเด็กเข้าถึงคุณภาพการศึกษาจริงๆ คุณภาพการเรียนการสอนจริงๆ จะมีประโยชน์มากกว่า" ผศ.อรรถพล กล่าวย้ำ
      ที่ผ่านมามีผู้ตั้งข้อสงสัยแนวทางนโยบายของรัฐบาลนี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรรถพล แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ถือเป็นปกติของแต่ละรัฐบาล เพราะว่าในเชิงของการบริหารจัดการทางด้านการเมืองเข้ามาก็คือคุมนโยบายการจัดการ และต้องการนโยบายที่เห็นผลเร็ว แต่นโยบายที่เห็นผลเร็วนั้นมักจะทำให้ผู้คนคำนึงถึงว่า "จะยั่งยืนหรือไม่" 
http://www.matichon.co.th/online/2015/09/14413581571441360216l.jpg
      นโยบายการลดชั่วโมงการเรียน พอประกาศออกมาเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน อย่างที่ทุกคนเข้าใจว่าเลิกเรียนบ่าย 2 แต่จริงๆ แล้วเลิกเรียนเวลาเดิมแต่ลดชั่วโมงเรียนวิชาหลักเร็วขึ้น แสดงว่าเรื่องนโยบายในแง่การสื่อสารสำคัญมาก การเข้ามาประกาศนโยบายที่ตอบโจทย์ความต้องการคนในสังคมอยู่เป็นเรื่องที่ ฝ่ายการเมืองมักจะคิดว่าต้องเร่งทำ แต่นโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มใหญ่ของประเทศอย่างเช่นกับโรงเรียนที่ผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากคงต้องทำอย่างรอบคอบคงจะมองผลแค่ระยะสั้นๆ ไม่ได้ ต้องมองถึงผลระยะยาวถ้าต้องการปฏิรูปการศึกษา ต้องทำให้ยั่งยืน ซึ่ง 10 กว่าปีมานี้เราควรที่จะมีบทเรียนได้แล้วว่าเราปล่อยให้โรงเรียนให้ระบบการศึกษาถูกรบกวนด้วยการเมืองขนาดนี้ไม่ได้อีกต่อไป
     เมื่อผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นนักเรียนย่านสามย่านพบว่า เด็กนักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายการลดชั่วโมงการเรียนของวิชาหลัก เพราะที่ผ่านมารู้สึกเหนื่อยล้าและเครียดกับการเรียนทำให้ไม่ได้รับความรู้เท่าที่ลงแรงไป หากมีการปรับใช้จริงก็จะมีเวลาผ่อนคลายมากขึ้น และที่สำคัญยังได้ทบทวนการเรียนการสอนในแต่ละวันอีกด้วย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!