WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11717 NXPO

สอวช. เผยความท้าทายการพัฒนากำลังคนในอนาคต พร้อมชี้แนวทางปลดล็อกการขับเคลื่อนอุดมศึกษาไทย สนับสนุนการพัฒนาทักษะบุคลากรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

          ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เข้าร่วมเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “NXPO: Building Future Skills” ในการสัมมนาประจำปี Thailand Competitiveness Conference 2023 Building a Future-Proof Nation จัดโดย สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (Thailand Management Association: TMA) ณ โรงแรม วอลดอร์ฟ แอสโทเรีย กรุงเทพ

          ดร.กิติพงค์ กล่าวถึงความท้าทายของประเทศไทยที่จะสามารถนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เข้าไปช่วยขับเคลื่อนได้ รวม 5 ประการ 1) การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) จากตัวอย่างในหลายประเทศที่มีแนวทางนำประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลางผ่านการทำบริษัทเทคโนโลยี หรือการนำเอานวัตกรรมเข้าไปขับเคลื่อนธุรกิจ โดยเราได้ตั้งเป้าเพิ่มจำนวน IDE ที่มีรายได้เฉลี่ย 1,000 ล้านบาท จำนวน 1,000 ราย เพื่อเป็นส่วนช่วยขยับรายได้ของประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น 2) การเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมมูลค่าสูง (High value add) โดยมีอุตสาหกรรมสำคัญในประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ที่ต้องส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ในการผลิต เช่น กลุ่มอาหารแห่งอนาคต (future food) ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ไม่ใช่แค่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) แต่จะต้องมองไปถึงระบบอัตโนมัติ (autonomous) หรือในอุตสาหกรรมชีวภาพ ที่ตอนนี้คนไทยมีขีดความสามารถในการผลิตยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceutical) ได้เอง 3) การขยับสถานะของประชากรฐานราก (social mobility) หรือประชากรที่อยู่ในฐานของพีระมิดของประเทศ เป็นส่วนจำเป็นที่จะทำให้ภาพรวมของประเทศขยับต่อไปได้ 

          4) เรื่องของความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เชื่อมโยงกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งในปีนี้จะมีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ และประเทศไทยเตรียมนำโชว์เคสของประเทศเราไปนำเสนอ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการทำสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองคาร์บอนต่ำ ที่เป็นการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งของทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึง สอวช. กำลังอยู่ระหว่างขับเคลื่อนการทำมหาวิทยาลัยสีเขียว (green university) หรือมหาวิทยาลัยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วย (net zero university) และ 5) การพัฒนาและยกระดับทักษะบุคลากรในประเทศ เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยสนับสนุนให้ปัจจัยทั้ง 4 ส่วนแรกเกิดขึ้นได้

          “ยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย เราเปลี่ยนจากการใช้ชีวิตแบบ 3 ขั้นตอน (three-stage life) เป็นชีวิตแบบหลากหลายขั้น (multi stage Life) คือ เกิด เรียน ทำงาน กลับมาปรับหรือเพิ่มทักษะ และกลับไปทำงานใหม่ ซึ่งความก้าวหน้าในอนาคตจะทำให้คนมีอายุยืนและแข็งแรงขึ้น โดยข้อมูลจากแบบสำรวจสมรรถนะบุคลากรในอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ สอวช. รวบรวมไว้ แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งงานที่สำคัญในแต่ละอุตสาหกรรมต้องมีสมรรถนะอย่างไร เพื่อช่วยเป็นแนวทางให้มหาวิทยาลัยปรับการเรียนการสอนให้ตอบทักษะความต้องการที่เปลี่ยนไป ซึ่งการผลิตคนรูปแบบเดิมจะไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างเท่าทัน” ดร.กิติพงค์ กล่าว

          ทั้งนี้ สอวช. ได้ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาการด้านกำลังคนของประเทศในหลายรูปแบบ อาทิ การสนับสนุนให้เกิดการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (higher education sandbox) เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมด้านการอุดมศึกษารูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ติดข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบเดิม โดยเป็นการทำงานแบบ co-creation ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีจุดเด่นคือการเปิดโอกาสให้นิสิตที่เรียนจบในแต่ละปีตามโมดูล เมื่อได้รับประกาศนียบัตร (Certificate) รับรองแล้ว สามารถออกไปประกอบอาชีพได้ทันทีโดยไม่ต้องรอจบการศึกษา 4 ปี และยังสามารถสะสมหน่วยกิตที่เรียนแล้วไว้ได้ในคลังหน่วยกิต และกลับมาเรียนต่อเพื่อเพิ่มเติมทักษะหรือปรับตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ หรือหลักสูตรการผลิตบุคลากร High-tech Entrepreneur โดย International School of Management (ISM) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ Harbour.Space University ประเทศสเปน ที่นำเอาผู้ประกอบการระดับโลกเข้ามาให้ความรู้ เพื่อพัฒนาให้นักศึกษาในหลักสูตรออกไปเป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้ขั้นแนวหน้า (frontier knowledge) ด้านเทคโนโลยี

          นอกจากนี้ สอวช. ยังได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI พัฒนาแพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ หรือ แพลตฟอร์ม STEMPlus ขึ้น เป็นแพลตฟอร์มที่รองรับการพัฒนากำลังคนตามความต้องการ รวบรวมหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนากำลังคน พร้อมสิทธิประโยชน์ที่สถานประกอบการจะได้รับ ทั้งในการจ้างงานบุคลากรด้าน STEM และการส่งบุคลากรในหน่วยงานเข้าฝึกอบรม โดยในปีที่ผ่านมามีผู้ผ่านการฝึกอบรมไปแล้วกว่า 50,000 คน และอยู่ระหว่างขยายผลสิทธิประโยชน์ในรูปแบบ cashback ไปยังกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก SME สตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นการออกแบบระบบการให้มาตรการจูงใจที่จำเพาะต่อความต้องการที่แตกต่างกันของภาคธุรกิจ รวมถึง สอวช. ยังสนับสนุนให้มีโมเดลการฝึกอบรมระยะสั้นในรูปแบบ Bootcamp สำหรับบุคลากรที่ต้องการทำงานในทักษะเฉพาะ โดยความร่วมมือกับองค์กรเจเนเรชั่น ประเทศไทย (Generation Thailand) เพื่อพัฒนากำลังคนให้มีงานทำแบบเร่งด่วนตอบโจทย์ตลาดงานทั้งด้านดิจิทัลและด้านการดูแลผู้สูงอายุในโครงการ GenNX Model อีกด้วย

 

 

11717

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!