WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11042 KMUTT SE2022

มจธ. - .เกียวโต จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 8 : The 8th International Conference on Sustainable Energy and Environment (SEE 2022)

          บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และเครือข่ายความร่วมมือ 5 มหาวิทยาลัยไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 8 : The 8th International Conference on Sustainable Energy and Environment (SEE 2022) ขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2565 อาคารเคเอกซ์ (Knowledge Exchange – KX) การประชุมวิชาการนานาชาติ SEE เป็นเวทีที่มุ่งเน้นการนำเสนอความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ตลอดจนการนำเสนอแนวทางการหยุดยั้งภาวะโลกร้อนและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยทั่วโลก

          สืบเนื่องมาจากการปล่อยก็าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นเรื่องเร่งด่วนของประชาคมโลก การประชุมระดับสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ที่จัดขึ้น เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 1 .. 2564 ที่ผ่านมาจึงมีความเข้มข้นและจริงจังเป็นพิเศษ โดยผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลกประมาณ 70 ประเทศรวมทั้งนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ได้ประกาศเจตนารมณ์ในที่ประชุมเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในส่วนของประเทศไทยนั้น ได้ตั้งเป้าหมายภาวะความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี .. 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero GHG emission) ในปี .. 2065 ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Net-Zero เพิ่มขึ้นอีกเป็นประมาณ 130 ประเทศ (รวมประเทศที่ประกาศเจตนาที่จะตั้งเป้าหมายในไม่ช้าด้วย)

 

11042 KMUTT รศดร บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร

 

          รศ.ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านวิจัยและนวัตกรรม มจธ. และประธานคณะกรรมการวิชาการของ SEE 2022 กล่าวว่า จากภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระตุ้นให้ทุกประเทศต้องมีมาตรการที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีหมุดหมายสำคัญ 2 ช่วง คือ ภายในปี .. 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 45-50% และภายในปี ..2050 จะต้องลดเหลือสุทธิเป็นศูนย์ ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (องค์ประกอบส่วนใหญ่ของก๊าซเรือนกระจก) และจะต้องใช้การดูดซับคาร์บอนด้วย เพื่อให้ปริมาณการปล่อยสุทธิเท่ากับศูนย์ จึงเป็นที่มาของการกำหนดโจทย์หรือประเด็นหลัก (theme) การประชุมนานาชาติ หรือ SEE ครั้งที่ 8 ซึ่งได้แก่The Road to Net-Zero: Energy Transition Challenges and Solutions” หรือหนทางสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ : ความท้าทายและแนวทางในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน” 

          “ที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันดำเนินการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนที่จะนำไปสู่ Net Zero กันอยู่แล้ว แต่การจัดประชุมครั้งนี้จะเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยที่มีความเข้มข้นมากขึ้น มุ่งเน้นผลงานที่จะทำให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น อันจะเป็นการสนับสนุนและเร่งรัดกระบวนการที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นเกิน 1.5 - 2 องศาเซลเซียส เพราะหากอุณหภูมิสูงขึ้นอีกสัญญาณโลกร้อนจะถึงจุดอันตราย ความเสียหายที่ตามมาจะประเมินค่าไม่ได้ สำหรับการประชุมครั้งที่ 8 นี้ มีความแตกต่างจากครั้งก่อนหน้าทั้งรูปแบบและเนื้อหา โดยรูปแบบการประชุมจะเป็นแบบ Hybrid คือ มีทั้ง Onsite และ Online คาดว่าปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 200 - 250 คน แบ่งเป็น Onsite และ Online อย่างละครึ่ง ในส่วนของเนื้อหานั้น มีด้วยกัน 5 หัวข้อหลัก (Topic) ได้แก่ Topic A: Future energy systems, Topic B: Bio-circular economy มุ่งเน้นระบบการผลิตและการปริโภคพลังงานและวัสดุชีวภาพในแนวทางที่นำไปสู่การแก้ปัญหาโลกที่ท้าทาย อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ขยะมูลฝอย และมลพิษ Topic C: Smart cities and electric mobility, Topic D: Environmental and climate technologies and management และ Topic E: Energy and climate policy ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหัวข้อใหม่ที่มีความสำคัญต่อการลดก๊าซเรือนกระจก โดย รศ.ดร.บัณฑิต กล่าวเสริมว่า ในหัวข้อ A: Future Energy System (ระบบพลังงานในอนาคต) จะมีการนำเสนอเรื่องใหม่ๆที่เกี่ยวกับ Power system transformation เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบกำลังไฟฟ้าจะเป็นกุญแจสำคัญในการรองรับพลังงานหมุนเวียนปริมาณมาก โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่มีความผันแปรมาก โครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้าที่ใช้จะต้องรักษาเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือของระบบได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) ไฮโดรเจนและการกักเก็บพลังงาน เพื่อให้ระบบมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเอื้อต่อการซื้อขายไฟฟ้าและการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ เป็นต้น

          การประชุมครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ (Keynote speakers) จำนวน 10 ท่านจาก 7 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และไทย มาร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 “On The Road to Net-Zero” กลุ่มที่ 2 “Smart Energy Systems and Cities” และกลุ่มที่ 3 “Circular Bioeconomy” นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอผลงานจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอีก 2 หัวข้อในการประชุมภาคพิเศษ (Special Session) คือ Waste Recycling and Waste Utilization และ Role of AFOLU in Net-Zero Emission Development (AFOLU: Agriculture, Forestry and Other Land Use)

 

11042 JGSEE รศดร สาวิตรี การีเวทย์

 

          ด้าน รศ. ดร.สาวิตรี การีเวทย์ ประธานสายวิชาสิ่งแวดล้อม JGSEE และเลขาธิการคณะกรรมการจัดงาน SEE 2022 กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากระบบพลังงานไฟฟ้าในอนาคตแล้ว ยังมีเรื่องสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจ เช่น ในหัวข้อ “Waste Recycling and Waste Utilization” จะเน้นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยจากขยะมูลฝอยหลังโควิด-19 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง JGSEE มจธ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ National Institute for Environmental Studies ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหัวข้อนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายด้าน BCG ในระดับประเทศและระดับสากลอีกด้วย ส่วนหัวข้อ “Role of AFOLU in Net-Zero Emission Development” มุ่งเน้นเรื่องป่าไม้กับการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงบทบาทของการปลูกป่าและการปลูกพืช ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการดูดซับคาร์บอน เพื่อนำระบบทั้งหมดของประเทศสู่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG emission) โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านนี้มานำเสนอพร้อมข้อสรุปถึงสถานการณ์ของประเทศไทย ปัจจุบัน

          การประชุมวิชาการนานาชาติ SEE 2022 ครั้งนี้ มีผู้สนใจทั้งจากภาคการศึกษา องค์กรด้านการวิจัย หน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในหัวข้อต่างๆ รวมเกือบ 120 บทความ จาก 14 ประเทศ โดยหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ หัวข้อ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ “Bio-Circular Economy” ประมาณร้อยละ 25 บทความทั้งหมด รองลงมา คือ ระบบพลังงานไฟฟ้าในอนาคต ร้อยละ 20 โดยจะมีรางวัล Best Student Paper Awards สำหรับบทความที่มีการนำเสนอได้โดดเด่นที่สุด ซึ่งคัดเลือกจากคุณภาพการนำเสนอแบบปากเปล่าและเนื้อหาของบทความ และที่พิเศษกว่าทุกครั้ง คือ มีตัวแทนจากวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 2 ฉบับเข้าร่วมงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผลงานที่นำเสนอในงาน SEE 2022 เข้ารับการคัดเลือกให้ตีพิมพ์ในวารสารดังกล่าวได้โดยตรง ได้แก่ Journal of Sustainable Consumption and Production (SCP) และ International Journal of Energy for a Clean Environment (IJECE)

          คณะผู้จัดงาน SEE 2022 คาดหวังว่าการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ จะเป็นโอกาสให้คนรุ่นใหม่ทั้งอาจารย์และนักศึกษาที่เข้ามามีส่วนร่วมจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ และแลกเปลี่ยนความรู้ในวิทยาการที่กำลังพัฒนากันอยู่ และจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจเรื่องการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จะมีผลกระทบต่อคนรุ่นใหม่มากกว่ารุ่นเก่า รวมทั้งเกิดโอกาสและช่องทางสร้างความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนางานในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไป

 

A11042

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!