WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

KomilO แอปฯ ตรวจจับการเป็นสัดของโคนม ฝีมือคนไทย ผลงานสร้างสรรค์โดยนักศึกษา มจธ.

          จากโจทย์ต้นทุนต่ำ ใช้งานง่าย” สู่การเป็นแอปพลิเคชัน KomilO ระบบ IoT ฝีมือคนไทย โดยนักศึกษา มจธ. ที่ตรวจจับการเป็นสัดของโคนม ด้วยเซ็นเซอร์ที่มีความแม่นยำสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

 

10355 ทีมKomilO 01

          รศ. ดร.ราชวดี ศิลาพันธ์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ทีมนักศึกษา โปรเจกต์ KomilO ได้แก่ มินธร พันธ์ถาวรวงศ์ นักศึกษาปริญญาเอก ตรีเทพ แซ่โง้ว นักศึกษาปริญญาเอก กฤษกร ลาศรี ศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี กณวรรธณ์ ผึ่งผดุง ศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี ฐิติกร วังแสน นักศึกษาปริญญาโท และ วรวลัญช์ ตรีทิพยะนันท์ ศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

          แอปพลิเคชัน KomilO และระบบวิเคราะห์การเป็นสัดของโคนมด้วยเทคโนโลยี IoT ถูกวิจัยและสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหา โคผสมติดยาก ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาของฟาร์มโคนม เนื่องจากโคแม่พันธุ์จะไม่ผลิตน้ำนม หากไม่มีการผสมพันธุ์ ตั้งท้อง และคลอดลูกโคนม จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่า ฟาร์มโคนมไทยส่วนใหญ่สามารถตรวจพบโคที่แสดงอาการเป็นสัดและผสมพันธุ์สำเร็จได้ไม่ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากตรวจจับสัดล่าช้าและผิดพลาด เกษตรกรจึงต้องเลี้ยงโคนมท้องเปล่าจนถึงรอบเป็นสัดครั้งต่อไป ซึ่งโดยปกติโคมีวงรอบการเป็นสัดเฉลี่ย 21 วัน

 

10355 KomilO app

 

          มินธร ฝ่ายเครือข่ายสื่อสารเล่าถึงการทำงานในครั้งนี้ว่า การออกแบบและพัฒนาระบบวิเคราะห์การเป็นสัดของโคนมด้วยเทคโนโลยี IoT แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. เซ็นเซอร์ 2. ระบบเครือข่ายสื่อสาร และ 3. แอปพลิเคชันและการจัดการข้อมูล ซึ่งในส่วนสุดท้ายนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับแจ้งเตือนสภาวะการเป็นสัด รวมถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผสมเทียมแจ้งเตือนไปยังสมาร์ทโฟนของเกษตรกร

          ความยากของการทำระบบเน็ตเวิร์ก คือ เนื่องจากระบบเน็ตเวิร์กต้องเป็นตัวกลางในการรับข้อมูลจากฝั่งเซนเซอร์และต้องส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังแอปพลิเคชัน ซึ่งหากระบบเน็ตเวิร์คทำงานผิดพลาด ข้อมูลส่งไปไม่ถึงแอปพลิเคชัน จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และการทำนายการเป็นสัดของโคนม ดังนั้นจึงต้องออกแบบเน็ตเวิร์กให้เสถียรมากที่สุด” 

 

10355 ทีมKomilO 02

 

          ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน KomilO มีการทำงานด้วยระบบเซนเซอร์สองตัว ติดบริเวณหูและโคนหางของโคนม โดยเซนเซอร์บริเวณหูมีขนาดเท่ากับนามบัตร ทำหน้าที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวของโคนม เพื่อนำไปแยกแยะพฤติกรรมต่างๆ ได้แก่ เดิน กิน ยืน นอน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องจักร และนำพฤติกรรมที่แยกแยะได้ไปใช้ทำนายการเป็นสัด ผ่านเงื่อนไขที่กำหนดโดยมีสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำปรึกษาตลอดการทำงาน

 

10355 ทีมKomilO 03

 

          นอกจากนี้ยังมีเซนเซอร์บริเวณโคนหาง เนื่องจากขนของโคนมมีลักษณะ มัน และลื่น รวมทั้งโคนมมีการเคลื่อนไหวร่างกายค่อนข้างมาก จึงมีการออกแบบโดยใช้วัสดุซิลิโคนที่ยืดหยุ่นและเกาะติดเข้ากับโคนหาง โดยใช้ผ้าบางติดกาวยึดบนตัวโคนม และมีสายรัดหางปรับความยาวได้ เซนเซอร์ดังกล่าวทำหน้าที่ตรวจจับการถูกขึ้นขี่ของโคนมตัวเมีย ซึ่งการถูกขึ้นขี่เป็นพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงการเข้าสู่สภาวะการเป็นสัด โดยข้อมูลจากเซนเซอร์จะถูกส่งผ่านเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สายไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อประมวลและวิเคราะห์ผลนั่นเอง

          ทั้งนี้ เซนเซอร์ทั้ง 2 แบบ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา กินพลังงานต่ำ โดยเซนเซอร์บริเวณหูสามารถใช้งานได้ถึง 14 วันต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ส่วนเซนเซอร์บริเวณโคนหางสามารถใช้งานได้เป็นหลักเดือนต่อการชาร์จ 1 ครั้ง โดยปัจจุบันยังอยู่ในการทดลองเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งทางทีมงานยอมรับว่าต้องมีการพัฒนาให้เสถียรมากขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานในเชิงพาณิชย์

 

10355 KMUTT 02

 

          ด้าน ตรีเทพ แสดงความคิดเห็นถึงการทำงานว่า แม้การทำงานในครั้งนี้จะเป็นการทำงานที่ต้องใช้เวลา ทั้งการหาข้อมูล การลงพื้นที่ และการพัฒนาแอปพลิเคชัน แต่สิ่งเหล่านี้ถือเป็นประสบการณ์การทำงานเป็นทีมเวิร์คที่ดี มีการพูดคุยสนับสนุนการทำงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทั้งทีมงาน สัตวแพทย์และเกษตรกร

          เช่นเดียวกับกฤษกร กล่าวว่า การได้ทำงานชิ้นนี้รู้สึกภาคภูมิใจมากและถือเป็นงานที่ท้าทาย เนื่องจากมีการแก้ไขในเรื่องการออกแบบดีไซน์หลายรอบเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด นอกจากนี้ ตนยังเห็นว่าหลายฝ่ายควรให้การสนับสนุนเกษตรกรในการเลี้ยงโคนมเพื่อผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ เพราะน้ำนมวัวที่มีคุณภาพจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศด้วย

          อย่างไรก็ตาม การทำงานในครั้งนี้ถือเป็นการใช้โจทย์จากความเดือดร้อนของเกษตรกรเป็นตัวตั้ง โดยในอนาคตยังต้องมีการปรับรูปแบบเพื่อให้เกิดความเสถียรภาพมากที่สุด เพื่อเข้าสู่โหมดการนำไปใช้จริงในเชิงพาณิชย์นั่นเอง

          “การผลิตอุปกรณ์หรือเครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมาใช้เองส่งผลให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านการเกษตร สามารถต่อยอดงานวิจัยและไปใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรไทย และถือเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาทางด้านเกษตรปศุสัตว์โดยฝีมือคนไทยในราคาที่สามารถจับต้องได้รศ. ดร.ราชวดี กล่าวทิ้งท้าย

 

A10355

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!