WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9214 PSU 02

นักวิจัย .. โชว์ความสำเร็จแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 24 ชมชูสกัดจุลินทรีย์ Super BACT มีคุณภาพสูง พร้อมขยายผลขับเคลื่อนเพิ่มผลผลิตภาคเกษตร

          มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (..) โดยนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ .. โชว์ความสำเร็จโครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมงผนึกความร่วมมือ Bioaxel สกัดจุลินทรีย์ Super BACT จากผักตบชวาได้ค่าจุลินทรีย์ที่ผ่านมาตรฐานทุกตัวรับรองกรมวิชาการเกษตร พร้อมชงผลการวิจัยสู่คณะกรรมการอำนวยการบูรณาการ วางเป้าหมายลดวัชพืชจากผักตบชวากว่า 302,854.27 ตันต่อเดือน และเตรียมขยายผลขับเคลื่อนภาคการเกษตรประเทศไทยให้เติบโตยั่งยืน 

 

9214 PSU รศดร จุฑารัตน์

 

          รศ.ดร.จุฑารัตน์ เอี้ยวกฤตยากร สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (..) เปิดเผยว่า นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ .. นำโดย ผศ.ดร.จุฑารัตน์ เอี้ยวกฤตยากร สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ และรศ.ดร.วิไลวรรณ โชติเกียรติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จับมือร่วมกับบริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด เพื่อดำเนินโครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่แพร่พันธุ์จำนวนมากและกลายเป็นวัชพืชในแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ โดยมาสู่การแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกร

 

9214 PSU 04

9214 PSU 01

 

          สำหรับการวิจัยโครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง ได้นำผักตบชวามาผ่านกระบวนการย่อยด้วยเครื่อง Bioaxel ของบริษัท ไบโอแอ็กซ์เซล จำกัด จนได้จุลินทรีย์ Super BACT มาผสมจนได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเครื่องดังกล่าวมีประสิทธิภาพการย่อยจุลินทรีย์อย่างรวดเร็วจากปกติต้องใช้ระยะเวลา 1-2 เดือน และจุลินทรีย์ที่ได้ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพจากกรมวิชาการเกษตร พบว่ามีค่าผ่านมาตรฐานทุกตัว เมื่อนำปุ๋ยมาให้เกษตรกรได้ทดลองที่แปลงนา อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง บนพื้นที่ 5 ไร่ การแตกกอของต้นข้าวเพิ่มปริมาณมากขึ้น รวงยาวให้ผลผลิตดีขึ้นและที่สำคัญมีต้นทุนการปลูกข้าวลดลง

 

9214 PSU 03

 

          ล่าสุดผลการวิจัยในครั้งนี้ นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ .. กับบริษัท Bioaxel ได้นำการวิจัยจากห้องปฎิบัติการสู่การแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้มีโอกาสนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวา ครั้งที่ 2/2564 โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยการวิจัยในครั้งนี้วางเป้าหมายได้นำผักตบชวาซึ่งเป็นวัชพืชที่เป็นปัญหาสำคัญต่อแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ กว่า 302,854.27 ตันต่อเดือนและเตรียมขยายผลไปเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ในการเกษตรหรือส่งเสริมการผลิตเพื่อจำหน่ายในอนาคต

 

9214 ปนะธีร์ ฬารวิจิตรวงศ์

 

          นายปนะธีร์ ฬารวิจิตรวงศ์ เกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ได้เข้าร่วมโครงการ แปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง” เพื่อเป็นต้นแบบชุมชนในการจัดการวัชพืชโดยแปรรูปผักตบชวามาพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้ทดลองนำปุ๋ยใส่ในนาข้าว ปรากฏว่าต้นข้าวเจริญเติบโตเพิ่มผลผลิตได้ดียิ่งขึ้น ถือว่าเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพสูงและมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมากนัก และที่สำคัญยังช่วยลดผลกระทบจากปัญหาวัชพืชของแม่น้ำและลำคลอง โดยพร้อมนำการแปรรูปผักตบชวาสู่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงขยายผลไปยังชุมชนที่ประกอบการอาชีพเกษตรกรต่อไป

          ทั้งนี้ .. พร้อมนำการวิจัยโครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงภายใน 24 ชั่วโมง มาร่วมส่งเสริมภาคการเกษตรให้มีผลผลิตที่ดีขึ้นภายใต้ต้นทุนการดำเนินที่ลดลง ตลอดจนมุ่งเสริมสร้างรายได้จากการนำวัชพืชและผักตบชวามาทำปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนดียิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจแปรรูปผักตบชวา สู่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ งานบริการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อประสานงานไปยังนักวิจัยได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 07428 8028 ในวันและเวลาราชการ

 

A9214

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!