- Details
- Category: การศึกษา
- Published: Saturday, 02 July 2022 17:07
- Hits: 1990
มรพ.ร่วม สสส. ชูละครสร้างการเรียนรู้-ชุมชนคนสู้หวย เปลี่ยนเรื่องเล่น เป็นเรื่องเล่า สร้างสังคม ลด ละ เลิกพนัน
โครงการ “๙ สู่ชีวิตพอเพียง” เป็นภารกิจสำคัญที่มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน (มรพ.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักชัยในการใช้ชีวิตของประชาชน ภายใต้เครือข่ายชุมชนต้นแบบลด ละ เลิกการพนัน เพื่อถวายเป็นปฏิบัติบูชาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร และอาศัยแนวทางนี้รณรงค์ให้ลดละเลิกการพนัน
ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์การพนันในสังคมไทย ของศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2560 ที่ชี้ชัดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดิน คือ การพนันสองอันดับแรกของคนไทยในทุกภูมิภาค มีผู้เล่นทั้งสิ้นมากกว่า 25 ล้านคน (เป็นผู้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล 21 ล้านคน และผู้ซื้อหวยใต้ดิน 17 ล้านคน และบางคนซื้อทั้งสองชนิด) และมีปริมาณเงินรวมของการซื้อหวยทั้งสองชนิด ถึง 250,000 ล้านบาท/ปี (จากรายงานของศูนย์ customer insight ธนาคาร TMB ปี 2561) ทำให้การดำเนินการในระยะที่ 2 ของโครงการฯมุ่งไปที่การลดละเลิกการเล่นหวยในชุมชนเป็นประเด็นสำคัญ ด้วยแนวทางการรณรงค์ “เปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออม”
จนถึงวันนี้ การทำงานตามโครงการ ๙ สู่ชีวิตพอเพียง ได้สร้างเมล็ดพันธุ์คนชุมชนที่เติบโตเป็น “ชุมชนคนสู้หวย” นับเป็นมิติของการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชุมชน ที่แต่ก่อนคนส่วนใหญ่จะเล่นพนัน ด้วยการแทงหวยมากที่สุด ทว่าในวันนี้ ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ “อย่าให้หวยเป็นปัญหา” เพื่อกระตุกเตือนให้ประชาชนในชุมชน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันสร้าง ถ้าไม่อยากมีปัญหาจากหวยและการพนัน ต้องทำอย่างไร? ... ซึ่งหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้นี้เอง ได้มีกิจกรรม “ละครสร้างการเรียนรู้” ซึ่งพัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นจากเครือข่ายละครหยุดพนัน มาเป็นพลังสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง นำ “เรื่องเล่น” มาสู่ “เรื่องจริง” เพื่อสร้างสังคมลด ละ เลิก การพนัน ในที่สุด
ชุมชนบ้านหนองคูน้อย อ.ท่ามะตูม จ.สุรินทร์ หนึ่งในพื้นที่ต้นแบบเครือข่ายรณรงค์หยุดพนันที่มีการสานต่องานตามโครงการ “๙สู่ชีวิตพอเพียง” โดยนำศาสตร์ของละครเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์สร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงเกี่ยวกับพนัน
นายบุญสืบ พันธ์ประเสริฐ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะปราง จ.สระบุรี และในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน จ.สระบุรี และหนึ่งในผู้มีบทบาทในการนำละครมาเป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นรณรงค์ลด ละ เลิกพนัน เล่าว่า เดิมเราทำงานกับเครือข่ายครอบครัวอยู่แล้ว และมีการทำงานเชิงประเด็น ลด ละ เลิกการพนัน ใช้ละครในการพัฒนาคนร่วมกับกลุ่มชาวบ้านในประเด็นต่างๆ อยู่แล้ว จึงเสนอทาง มรพ. ในการสร้างละครสะท้อนปัญหาชุมชนในประเด็นของการพนัน ซึ่งก็มีทั้ง หวย ฟุตบอล ฯลฯ ภายใต้โครงการ “๙สู่ชีวิตพอเพียง” ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง น่าน พะเยา กาฬสินธุปัจจุบันสถานการณ์พนัน เราต้องทำการรณรงค์ในทุกมิติและทุกช่วงวัย โดยรูปแบบการดำเนินงานจะแตกต่างออกไปตามแต่ละช่วงวัย ทั้งวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงวัย เราขับเคลื่อนในทุกทิศทางและทุกวัย จะทำให้เราเห็นมุมที่แตกต่างของแต่ละวัย ประเด็นของการขับเคลื่อนรณรงค์ก็จะเข้มแข็งขึ้น
“การนำเสนอเนื้อเรื่องของละครจะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จะทำให้คนดูเข้าถึงและสนุกไปด้วย เพราะเขารู้สึกว่ามันใกล้ตัวเขาและมันเป็นปัญหาปัจจุบัน ละครจะสะท้อนให้เห็นความน่ากลัวของพนัน ซึ่งการพนันดูเหมือนไม่มีอะไร เป็นเหมือนสิ่งสวยงามที่ยั่วยวนให้คนเข้าไป ดึงเราเข้าไปสู่กับดัก กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะยากในการเอาตัวเองออกมา ในส่วนของน้องๆ ที่เข้ามาร่วมเล่นละครสะท้อนปัญหาเหล่านี้ ผมมั่นใจว่าในกระบวนการทำงาน สิ่งที่เขาได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงนี้จะเป็นเมล็ดพันธุ์ฝังอยู่ตัวและเป็นภูมิคุ้มกันตัวเขาไปตลอด” นายบุญสืบกล่าว
นางอรชร อุนัยบัน หรือ ครูแจ๋ว อดีตครูภาษาไทยวัยเกษียณและในฐานะผู้จัดทำละคร กล่าวว่า วิธีผสมผสานการละเล่นโดยสอดแทรกเนื้อหาการรณรงค์หยุดพนัน ชักชวน ลด ละ เลิกการพนัน โดยยังคงความบันเทิงด้วยนั้น อาศัยการเล่าเรื่องด้วยภาษาอีสานซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น เด็กๆ จะเข้าถึงบทละครได้มากกว่าและสื่อสารการแสดงออกมาได้ดี เมื่อตัวละครสมบทบาทโดยเยาวชน เราก็พยายามส่งเสริมให้เขาสามารถสะท้อนปัญหาของชุมชนที่หลงเข้าไปสู่วงการพนัน บทละครจะสะท้อนให้เห็นว่าคนที่เข้าสู่วงการพนันแล้วยากที่ครอบครัวจะมีความสุขได้ การดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบละครจะสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ไขปัญหา เด็กๆ ที่มาร่วมถ่ายทอดและซึมซับเรื่องราวของละครว่าการพนันสร้างปัญหาอย่างไร เขาสามารถเสริมบทให้ครูได้ เพราะเขารู้วิถีชุมชนของตนเองเป็นอย่างไร เด็กๆ สามารถถ่ายทอดออกมาได้ว่าความสุขอยู่ที่ไหน เด็กๆ ที่เข้ามาร่วมแสดงละคร เขามีความมุ่งมั่นมาก ชวนผู้ปกครองมาดูพวกเขาเล่น ขณะเดียวกันภายใต้การสวมบทบาทของแต่ละตัวละคร เด็กๆ ยังได้ฝึกการใช้ภาษาและฝึกการเอ็นเตอร์เทนด้วย
นายวัชรณัฐ วรสิงห์ (น้องแม็ก) นักเรียนชั้น ม.4 และ ด.ญ.เขมิกา เสาวรส (น้องเอิร์น) นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ ตัวแทนน้องๆ คณะละครของครูแจ๋ว ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า การเข้ามาเล่นละครทำให้ทั้งคู่ได้พัฒนาตนเองมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด การสื่อสารกับคนอื่น มีความกล้าที่จะแสดงออกและเมื่อเห็นรอยยิ้มของผู้ชมแล้ว ทำให้ทั้งคู่มีความสุขไปด้วย นอกจากนี้ การเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดปัญหาของการหลงเข้าสู่วงการพนัน นอกจากสวมบทบาทในละครแล้ว ในชีวิตจริง ทั้งคู่ยังได้ชักชวนบุคคลใกล้ชิดไม่ว่าจะคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องให้ลด ละ เลิกการพนัน และนำเงินที่จะซื้อหวยนั้นนำกลับมาเป็นเงินออมแทน เมื่อเกิดการชักชวนอย่างต่อเนื่อง ผลปรากฏว่าผู้ปกครองของทั้งคู่ ค่อยๆ ลดการเล่นการพนัน การซื้อหวย และนำเงินมาเก็บออมแทน ทำให้มีเงินเก็บซึ่งแตกต่างเดิมที่ไม่มีเลย
นายศรีสุวรรณ ควรขจร กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัญหาการเล่นพนันมีความร้ายแรง ไม่ต่างจากบุหรี่และสุรา การสูบบุหรี่อันตรายทั้งสุขภาพต่อคนสูบและคนรอบข้างลูกหลาน สุราอาจทำให้กลายเป็นผู้พิการได้จากพฤติกรรมดื่มแล้วขับ ส่วนการพนันที่อาจทำให้ถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวได้ การเล่นพนันอาจกลายเป็นการเสพติดจนล้มเลิกความคิดไม่ได้ นำไปสู่การล้มเหลวด้านครอบครัว หน้าที่การงาน ความเชื่อถือ และส่งผลต่อรายได้ลดน้อยลงจนเกิดปัญหาหนี้สินตามมา ถ้าลดละเลิกคุณภาพชีวิตจะกลับมามีความสุข อยากให้กำลังใจคนที่ยืนหยัดและตั้งใจลดละเลิกพนันและเปลี่ยนเงินซื้อหวยเป็นเงินออม” นายศรีสุวรรณ กล่าวในตอนท้าย
A7072