WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

6370 NXPO 01

อวช. แนะแนวทางการผลิตกำลังคนระดับบัณฑิตศึกษา เน้นผลิตบัณฑิตแบบ Co-creation ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม พร้อมรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต

 

          ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมเวทีเสวนาพิเศษในหัวข้อ “Graduate Education in the Disruptive World: Demand Oriented Curriculum Design and Use of Sandbox” ในการจัดการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 54 (The 54th National Graduate Research Conference) “บัณฑิตศึกษากับการศึกษาที่ออกแบบได้ Graduate Studies and Personalized Education” จัดโดย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และผ่านระบบออนไลน์

 

6370 NXPO 02

 

          ดร. กิติพงค์ เปิดเผยข้อมูลจากสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum: WEF ที่ระบุว่า สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะการเกิด Technology disruption จะส่งผลให้ในปี .. 2025 จะมีงานประมาณ 85 ล้านตำแหน่งถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีตำแหน่งงานใหม่เกิดขึ้นกว่า 97 ล้านตำแหน่ง ซึ่งงานที่มีความต้องการมากขึ้นจะเป็นงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ข้อมูล ระบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ รูปแบบการใช้ชีวิตของคนก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากชีวิตสามขั้น (Three-stage Life) ไปสู่สังคมสูงวัยและชีวิตหลากหลายขั้น (Multi-stage Life) มนุษย์จะมีอายุยืนยาวขึ้น มีระยะเวลาทำงานนานขึ้น มีมากกว่าหนึ่งอาชีพในช่วงชีวิต และในแต่ละช่วงอาจมีทั้งการศึกษาและการทำงานผสมผสานกัน

          จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการแย่งชิง Talent ข้ามประเทศและข้ามอุตสาหกรรม ปัจจุบันเริ่มพบปัญหาว่า จำนวนเด็กที่เข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาน้อยลงมาก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมยิ่งมีการแย่งชิงนักศึกษาในกลุ่ม Talent มากขึ้นด้วย ในเชิงนโยบาย อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่เข้าไปสำรวจนักเรียนทุนเสมอภาคในพื้นที่ 29 จังหวัด พบว่ามีนักเรียนจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงการศึกษาและมีเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาค่อนข้างเยอะ ซึ่งถือเป็นปัญหาที่จะส่งผลกระทบในการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาด้วยเช่นกัน

 

TU720x100

 

          สอวช. ได้จัดทำรายงานการศึกษาระบบอุดมศึกษาไทยในบริบทของประเทศพัฒนาแล้ว (ฉบับที่ 1: การผลิตและพัฒนากำลังคนตามความต้องการของประเทศ) พบว่า ทิศทางการปรับตัวของระบบอุดมศึกษาไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนในหลายด้าน อาทิ เปลี่ยนจาก Three-stage life ไปสู่ Multi-stage life การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต, การปรับหลักสูตรจากเดิมที่เป็น Supply-driven ไปสู่ Co-creation เป็นการออกแบบโมเดลการศึกษาร่วมกับเอกชนหรือภาคส่วนที่ต้องใช้บัณฑิต ตัวอย่างกรณีศึกษาโครงการ Hi-FI หรือ Higher Education for Industry Consortium เป็นโครงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนในภาคอุตสาหกรรม ด้วยการนำนักศึกษาระดับปริญญาโท เข้าไปเรียนรู้การทำงานร่วมกับสถานประกอบการ เน้นให้เป็นการเรียนรู้แบบ Learning by doing ในการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้จริง

 

6370 NXPO 03

6370 NXPO 04

 

          อีกหนึ่งตัวอย่างคือโครงการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมด้วยการวิจัย และพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม (Research Development and Industrialization Capability, RDI) แนวคิดสำคัญคือนำเอานักศึกษาปริญญาโท ในด้านวิศวกรรมเข้าไปทำงานในโรงงาน ไปช่วยกลุ่มธุรกิจ SMEs โดยให้มี senior manager ที่เคยทำงานในด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง (mentor) และให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกับวิศวกรของโรงงาน ก็จะสามารถช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้

 

วิริยะ 720x100

 

          ตัวอย่างกรณีศึกษาจากประเทศจีน มีแนวทางการจัดการศึกษาที่เรียกว่าปริญญาบราวนี่ที่เป็นหนึ่งในโมเดลแก้จนให้คนจีน มีการออกแบบหลักสูตรที่ไม่ได้วัดระดับการศึกษาจากจำนวนปีที่เรียน แต่วัดจากผลผลิตหรือประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติจริง ทำให้นักศึกษาที่จบการศึกษาไปได้วุฒิการศึกษาและยังได้มีแนวทางการประกอบอาชีพได้ทันที

 

6370 NXPO 05

 

          ในส่วนของมาตรการส่งเสริมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (อว.) ได้ออกแบบการให้สิทธิประโยชน์ แรงจูงใจให้กับภาคเอกชน เช่น มาตรการ Thailand Plus Package เป็นมาตรการทางภาษีและการส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูงและการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง โดยผู้ประกอบการที่ส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือการฝึกอบรมในหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจากกระทรวง อว. จะสามารถนำค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ถึง 250% นอกจากนี้ ยังมีกลไกสนับสนุนการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ หรือ Higher Education Sandbox เป็นการจัดทำหลักสูตรการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องอิงจากมาตรฐานเดิม เพื่อทลายข้อจำกัดต่างๆ ที่เคยมี ถือเป็นการพลิกโฉมการผลิตกำลังคนของระบบอุดมศึกษาของประเทศ

 

6370 NXPO 06

 

          ในช่วงท้ายของการเสวนา ดร. กิติพงค์ ยังได้ฝากถึงมหาวิทยาลัยให้ใช้โอกาสที่เปิดกว้างมากขึ้นในปัจจุบัน ในการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ปรับเปลี่ยนแนวคิดของมหาวิทยาลัยในการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งมหาวิทยาลัยต้องมีการปรับบทบาทให้อยู่ในรูปแบบของพี่เลี้ยง ที่พร้อมให้คำปรึกษานักศึกษาได้ตลอดเวลา ที่สำคัญบทบาทที่โดดเด่นของบัณฑิตวิทยาลัย คือการบูรณาการการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นำจุดแข็งในมหาวิทยาลัยมาปะติดปะต่อรวมกันเพื่อสร้างบัณฑิตในรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นได้

 

A6370

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100PTG 720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!