WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

สอวช. แนะมหาวิทยาลัยราชภัฏปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

เตรียมความพร้อมสร้างบัณฑิตตอบโจทย์งานรูปแบบใหม่ และรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

 

12296 NXPO PKRU 5

          ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เพื่อร่วมบรรยายพิเศษ ในหัวข้อประเด็นสำคัญการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษาภายใต้กิจกรรมบรรยายพิเศษแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมมอบนโยบายสภามหาวิทยาลัย “5 ปีข้างหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต PKRU Next” จัดขึ้น ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ และผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้ร่วมรับฟังกว่า 380 คน

          ดร. กิติพงค์ กล่าวว่า ในโลกยุคใหม่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงตลาดบุคลากรและระบบการจ้างงาน มีการลดจำนวนพนักงานลงชั่วคราว 25% และเลิกจ้างถาวรกว่า 20% ส่วนสำคัญคือมหาวิทยาลัยต้องมาดูว่าจะเตรียมบัณฑิตให้จบออกไปแล้วสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานและมีอาชีพได้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ส่งเสริมคือการ Reskill Upskill ให้สอดคล้องกับภาคส่วนที่จะเปิดรับบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลายสาขาที่แม้ภาคเศรษฐกิจจะซบเซาแต่ธุรกิจนั้นยังมีการเติบโต เช่น อุตสาหกรรมอาหาร, ดิจิทัล, โลจิสติกส์ เป็นต้น

 

12296 NXPO PKRU 1

 

          ในแง่ของการเกิด Digital Disruption จะทำให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นของกิจการในทุกองค์กร เกิดการเรียนรู้แบบใหม่ ที่มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรงในการปรับตัวเพื่อผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์งานใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล, ปัญญาประดิษฐ์, อีคอมเมิร์ซ, วิศวกรหุ่นยนต์, ผู้เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์, ระบบอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานใหม่ในด้านสังคม เช่น ผู้สนับสนุนด้านสังคมและอารมณ์, นักบำบัดคู่สมรสและครอบครัว, ผู้ให้คำปรึกษาด้านอาชีพ, ผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิการและที่พักอาศัย เป็นต้น

 

 

sme 720x100

 

 

          “การเปลี่ยนแปลงในส่วนของ Digital Transformation ยังทำให้มหาวิทยาลัยถูกโหมกระหน่ำด้วยยุคของผู้บริโภคเชื่อมโยงกับ Customer Experience, Learner Experience ที่ลูกค้าหรือนักศึกษาคาดหวังจะได้จากมหาวิทยาลัย เช่น การดูแลที่ดี การให้บริหารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนวิธีคิดจากที่มองว่าลูกค้า/นักเรียน เป็นผู้มาเรียนรู้จากเรา เป็นการให้ประสบการณ์ที่ดีกลับไปด้วย อีกประเด็นที่น่าสนใจคือแนวโน้มในประเทศไทยพบว่า คนจะมีอายุยืนขึ้นและมีชีวิตหลากหลายขั้น (Multi-Stage Life) จากที่เกิด ศึกษา ทำงาน และเกษียณ เปลี่ยนเป็นเกิด ศึกษา ทำงาน ศึกษา/เพิ่มทักษะ ทำงาน/เปลี่ยนอาชีพ พักชั่วคราว เพิ่มทักษะ ทำงาน และเกษียณในอายุที่สูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้าจำนวนคนไทยที่มีอายุ 100 ปีจะมีมากขึ้นด้วย ทำให้ระบบการศึกษาต้องปรับเปลี่ยน ไม่เพียงดูแลเฉพาะนักศึกษาที่อยู่ในระบบเท่านั้น แต่ต้องรองรับคนที่ต้องการเปลี่ยนงานและคนที่ต้องการ Reskill Upskill ด้วยดร. กิติพงค์ กล่าว

 

12296 NXPO PKRU 2

 

12296 NXPO PKRU 3

 

          สำหรับกลุ่มเป้าหมายและจุดเน้นของการศึกษา คือการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ตอบโจทย์การทำงานและการใช้ชีวิต และการสร้างภูมิคุ้มกันต่อภาวะผันผวนของตลาดงานกลุ่มนักศึกษา จะต้องสร้าง Skillset ที่ตอบโจทย์การทำงาน ทำธุรกิจ สามารถแข่งขันในตลาดงานได้ และมีภูมิคุ้มกันต่อภาวะวิกฤต ส่วนกลุ่มกำลังแรงงานที่มีจำนวนมากที่สุด จะต้องยกระดับกำลังแรงงานสู่ Skilled Worker และสร้างภูมิคุ้มกันด้านทักษะให้กับแรงงานกลุ่มเปราะบาง ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและผู้กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ (45-60 ปี) จะต้องพัฒนาให้เป็น Active Ageing Workforce สร้าง Life Skills สำหรับใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และสร้าง Career Skills พร้อมกลับสู่ตลาดแรงงานเสมอ

 

 

EXIM One 720x90 C J

 

 

          จากข้อมูลที่ สอวช. ได้รวบรวมและสังเคราะห์ พบว่า ระบบอุดมศึกษาไทยจะต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ (Shift Paradigm) ใน 10 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) จาก Content-based ไปสู่ Competency-based: การสร้างการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก 2) จาก Supply-driven ไปสู่ Co-creation: การออกแบบโมเดลการศึกษาร่วมกับเอกชน 3) จาก Degree-oriented ไปสู่ Employability-oriented: การปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 4) จาก Three-stage Life ไปสู่ Multi-stage Life: การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5) จาก Institution-based ไปสู่ National Credit Bank: การจัดตั้งหน่วยงานกลางสำหรับการสะสมหน่วยกิต 6) จาก Limited Access ไปสู่ Opened Access: การตรวจสอบมหาวิทยาลัยด้วยการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล 7) จาก Local Perspective ไปสู่ Global Perspective: การสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพไปสู่ระดับสากล 8) จาก กระจุก ไปสู่ กระจายโอกาสทางการศึกษา: การเพิ่มการเข้าถึงการศึกษา ทั้งในเชิง Accessibility และ Affordability 9) จาก Supply-side ไปสู่ Demand-Directed Financing: นโยบายการสนับสนุนงบประมาณเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ และ 10) Towards Creative Ecosystem: การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และทุนมนุษย์ โดยการพัฒนานิเวศสร้างสรรค์

 

12296 NXPO PKRU 4

 

          อย่างไรก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เกิดนวัตกรรมมากมาย เพื่อรองรับโจทย์ความต้องการที่ต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมเชิงนโยบาย เช่น ในประเทศสิงคโปร์ ที่มี SkillsFuture Credit สำหรับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี จะมี Credit Account เพื่อใช้ในการสะสมหน่วยกิตสำหรับนำไปใช้พัฒนาทักษะในหลักสูตรต่างๆ, นวัตกรรมเชิงโมเดลการจัดการศึกษา มีการแข่งขันของหน่วยงานฝึกอบรมภาคเอกชนและการผลิกผันในระบบอุดมศึกษา, นวัตกรรมเชิงหลักสูตร เช่น Generation Foundation Model สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่ต้องการหางาน ให้เข้ารับการฝึกอบรม และจับคู่ตำแหน่งงานในสถานประกอบการ, นวัตกรรมเทคโนโลยีระบบการศึกษา หรือ EdTech เป็นเทคโนโลยีที่นำมาผนวกเข้ากับระบบการศึกษา ซึ่งพัฒนาเป็นสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ, University-Industry Co-Creation การพัฒนากำลังคนร่วมระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรม หรือการ Upskilling & Employment Matching Platform คนว่างงานในพื้นที่

 

 

ais 720x100

 

 

          สำหรับตัวอย่างเครื่องมือสนับสนุนการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) อาทิ การเลื่อนตำแหน่ง . รศ. และ ผศ. ที่ไม่อาศัยงานตำราหรืองานวิจัย, การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox), มาตรการ Thailand Plus Package การรับรองการจ้างแรงงานลูกจ้างที่มีทักษะสูงและการรับรองหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์, แพลตฟอร์มพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงตอบการลงทุนของภาคผลิตและบริการ เป็นต้น

          ในส่วนการจัดทำ Strategic Action Plan ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดร. กิติพงค์ กล่าวถึง ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (.. 2560 - 2579) มีวิสัยทัศน์คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และเป็นสถาบันหลักที่บูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ โดยแบ่งเป็น 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การพัฒนาท้องถิ่น 2) การผลิตและพัฒนาครู 3) การยกระดับคุณภาพการศึกษา และ 4) การพัฒนาระบบบริหารจัดการ

 

A12296

Click Donate Support Web
GC 720x100

TU720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!