WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

11604 Mahidol Engin

วิศวะมหิดล - อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ถอดบทเรียนและแนวโน้มหุ่นยนต์การแพทย์

          มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน และสมาคม IEEE Robotics Automation Society Thailand Chapter จัดสัมมนาหุ่นยนต์การแพทย์ Reinventing University : Mahidol Medical Robotics Program ถอดบทเรียนและแนวโน้มของหุ่นยนต์การแพทย์ เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับทิศทางการผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของไทย โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร กล่าวเปิดงานผ่านระบบออนไลน์ 

 

11604 Mahidol Engin2

 

          รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า งานครั้งนี้เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังมุ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และ อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและหุ่นยนต์การแพทย์ ความโดดเด่นของมหิดลคือเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในโลกที่มีโรงเรียนแพทย์ถึง 3 แห่ง ตลอดระยะเวลา 20 ปี ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดศูนย์เครือข่ายวิจัย BART LAB เราได้สร้างบุคลากรและวิจัยพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์การแพทย์ต่อเนื่องมา เพิ่มศักยภาพบุคลากรและขีดความสามารถของประเทศไทย ทั้งนวัตกรสร้างหุ่นยนต์ เครื่องมือฝึกผ่าตัดสำหรับแพทย์ การร่วมวิจัยพัฒนานวัตกรรมโดยวิศวกรและบุคลากรแพทย์ที่ตอบสนองการใช้งานได้จริงและทำงานร่วมกับแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความก้าวหน้าของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หุ่นยนต์ฟื้นฟูสุขภาพ หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะในโรงพยาบาลและ Telemedicine ตลอดจนเครื่องมือแพทย์ของไทย วิศวกรรมชีวการแพทย์ยุคใหม่ต้องไม่หยุดนิ่งที่จะเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตไปกับ Deep Tech และเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง 5G Metaverse มาใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพและการแพทย์

 

11604 Mahidol Engin3

 

          ศาสตราจารย์ เฟอร์ดินานโด โรดริเกซ เบนา ผู้อำนวยการศูนย์หุ่นยนต์การแพทย์แฮมลีน (Hamlyn) และหัวหน้าห้องปฏิบัติการเมคคาทรอนิคในการแพทย์ มหาวิทยาลัย อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ถอดบทเรียนและแนวโน้มของหุ่นยนต์การแพทย์ ว่า เรากำลังก้าวสู่โลกใหม่ของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก 1. หุ่นยนต์ผ่าตัด 2. หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพ และ 3. หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ การดำเนินงานของศูนย์หุ่นยนต์การแพทย์ Hamlyn เป็นศูนย์กลางการวิจัยแบบบูรณาการ การสอนข้ามคณะ และการวิเคราะห์แปลผลการทดสอบทางคลินิก

          แนวโน้มการพัฒนาหุ่นยนต์ในการผ่าตัด ในคอนเซ็ปต์ Hands-On Robotics ก้าวผ่านอุปสรรคความท้าทายสู่การใช้งานที่ง่ายมีประสิทธิภาพสูงในระบบผ่าตัด เช่น การผ่าตัดหัวเข่าด้วยหุ่นยนต์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำของการผ่าตัด โดยผสานระบบผ่าตัดได้อย่างราบรื่นด้วยระบบอัตโนมัติอย่างไร้รอยต่อ และการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะ นอกจากนี้ Augmented Reality (AR) เทคโนโลยีโลกเสมือนในการผ่าตัดจะมีบทบาทสำคัญในการแพทย์ ซึ่งมีระบบคอมพิวเตอร์สนับสนุนและเชื่อมต่อโดยแพทย์ใช้ AR Headsets เข้าไปยังขั้นตอนการทำงานของหุ่นยนต์ผ่าตัดโดย Headset จะสื่อสารโดยตรงกับหุ่นยนต์ผ่าตัด การปรับ Calibrated ระบบประสานงานของหุ่นยนต์ รวมทั้งระบบสามารถทำภาพฮอโลแกรม 3 มิติ (Holograms) ของสรีระเป้าหมายที่จะผ่าตัดได้

 

11604 AR HeadSet

 

          หุ่นยนต์ผ่าตัด ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์ในการผ่าตัด (New Surgical Assistants) ขณะที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงมากขึ้น อาทิ Machine Learning สามารถจับภาพอวัยวะมนุษย์ได้แม่นยำ ส่วนอุปกรณ์อัจฉริยะ หรือ Smart Devices จะมีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับมัลติสเกล Self Steering Cochlear Implants ทำให้สามารถวิเคราะห์การออกแบบ งานประดิษฐ์ (Fabrication) และกลไกควบคุมจุดผ่าตัด ระบบเชื่อมต่อหุ่นยนต์และ AR สนับสนุน ตลอดจนหุ่นยนต์ Endovascular Robotics หรือ CathBot สำหรับผ่าตัดหลอดเลือด และการบังคับทิศทางด้วยเข็ม Biomimetic Needle Steering เป็นต้น

          ในอนาคตการพัฒนาพลังของซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์จะยิ่งมีศักยภาพพุ่งสูง เทคโนโลยีที่น่าตื่นตาตื่นใจจะมาถึงด้วยคุณสมบัติที่ชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น ราคาถูกลงและมีขนาดเล็กลง เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างพลานุภาพของคอมพิวเตอร์ อย่างคลาวด์คอมพิวติ้ง เอไอ เทคโนโลยี AR ที่จะเสริมสร้างการมองเห็นและเข้าไปได้ แต่ก็ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญระดับสูงภายใต้มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติอันเข้มงวด

 

hino2021

 

          รศ.ดร. นายแพทย์สิทธิพร ศรีนวลนัด Chief of Urology คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึง เทคโนโลยีหุ่นยนต์ผ่าตัดในประเทศไทย เข้ามาในปี 2550 ใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น ผ่าตัดมะเร็ง ภาวะอุดตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งได้ผ่าตัดแล้วรวม 2,300 ราย นับว่ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งข้อดีของระบบหุ่นยนต์ผ่าตัด คือ ช่วยให้แพทย์สามารถทำงานในพื้นที่จำกัดและขั้นตอนที่ซับซ้อนอ่อนไหวได้อย่างยืดหยุ่น แม่นยำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ประหยัดเวลา และควบคุมการผ่าตัดได้ดียิ่งกว่าแบบเดิม แผลเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว หุ่นยนต์ของศิริราชพยาบาล มี 9 ประเภท หนึ่งในนั้นเป็นระบบหุ่นยนต์ดาวินชี่ (Davincii System) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ตัวเลขทั่วโลกมีระบบดาวินชี่ 31 มี.. 2564 จำนวนรวม 5,989 ยูนิต แบ่งเป็นสหรัฐ 3,640 ยูนิต ยุโรป 1,093 ยูนิต เอเชีย 961 ยูนิต และภูมิภาคอื่นๆ 295 ยูนิต

 

11604 ระบบหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดDavincii

ระบบหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Davincii

 

          ในช่วง 10 ปี การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยระบบหุ่นยนต์ในประเทศไทยมีราว 1,000 เคส โดย รพ.ศิริราชพยาบาลมากเป็นอันดับหนึ่ง และรพ.รามาธิบดี เป็นอันดับสอง อาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าและความสำเร็จของการพัฒนาการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์มาจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การศึกษาวิจัยและพัฒนา 2.การเรียนการสอน ผลิตบุคลากร 3.การบริการทางการแพทย์

          ปัญหาคือ ประเทศไทยเป็นผู้ซื้อและผู้ใช้เทคโนโลยี เราไม่มีเทคโนโลยีที่เป็นของเราเอง ทั้งนี้แนวโน้มในอนาคตจะเป็นระบบผ่าตัดครบทุกขั้นตอนที่ควบคุมและจบในกระบวนการเดียวกันอย่างอัตโนมัติ (Single-Port Surgery) ซึ่งหลายเทคโนโลยี เช่น IoT, AR ช่วยให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อนาคตเราต้องเชื่อมต่อระบบสื่อสารไร้สายกับ AR ซึ่งหลายประเทศดำเนินการกันแล้วโดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุน เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน

 

11604 หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะDoctoSight1และ2

หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ DoctoSight 1 และ 2 ในโรงพยาบาล

 

          คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รศ.นายแพทย์รัฐพล ตวงทอง ได้คิดค้นระบบหุ่นยนต์ผ่าตัดที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิต อาทิ พัฒนาเทคโนโลยีปลูกถ่ายเส้นผมด้วยหุ่นยนต์ (Mahidol Hair Robotics Transplantation) ที่ก้าวล้ำ ร่วมกับ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณะวิศวะมหิดล ย่นเวลาจากวิธีเดิมได้ถึง 4 เท่า และมีอัตราการเจริญเติบโตของรากผมที่ปลูกใหม่กว่า 90% 

          คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้ร่วมพัฒนาหุ่นยนต์ผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดย รศ.นาวาโท ดร.สรยุทธ ชำนาญเวช โครงการ The Assistive Cobot for Spinal Surgery (AcoSS) เฟสที่ 1 เป็นการทดสอบผ่าตัดกระดูก และเฟสที่ 2 เป็นการทดสอบผ่าตัดกับครูใหญ่ นอกจากนี้ยังพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมะเร็งต่อมใต้สมองผ่านช่องรูจมูก นับเป็นผู้บุกเบิกครั้งแรกของประเทศไทยและอาเซียน และเมื่อมองไปในอนาคต กำลังศึกษาเทคโนโลยี AR/VR ในการผ่าตัด รวมทั้งสาร Polymer ในการปลดปล่อยยาตามที่กำหนด

          ในด้านหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพ . แพทย์หญิงพีรยา รุธิรพงษ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้พัฒนา ระบบหุ่นยนต์ Sensible Step ใช้สำหรับฝึกเดินในผู้ป่วยทางสมอง (Robotics Gait Training) ทั้งยังฝึกการใช้แขนสำหรับผู้ป่วยโรคสโตรกหรือหลอดเลือดสมองได้ผลดียิ่ง นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบหุ่นยนต์อุปกรณ์สวมเดินสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ช่วยให้สามารถเดินได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน การรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพได้เร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยห่างไกลจากความพิการ นวัตกรรมจากประเทศไทยนี้ชนะรางวัล World Federation for Neuro Habilitation : WFNR Franz Gersten Award 2021 อีกด้วย

 

A11604

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!