WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

8116 NXPO

สอวช. ร่วมเวที ทปอ. แนะแนวทางจัดตั้ง Holding Company ในมหาวิทยาลัยไทย สร้างโอกาสการเติบโตด้านเทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม นำไปสู่การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

          ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้รับเชิญจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อบรรยายและแลกเปลี่ยนแนวทางการจัดทำ Holding Company และกลไกลการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ผ่านระบบออนไลน์ ในการประชุมคณะกรรมการวิจัยและนวัตกรรม ทปอ. ครั้งที่ 4/2564 ซึ่งมีรองอธิการบดีที่ดูแลเกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยและสถาบันสมาชิก ทปอ. กว่า 35 แห่ง เข้าร่วมการประชุม เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานการจัดตั้ง Holding Company ในมหาวิทยาลัย

          ในช่วงต้นของการบรรยาย ดร. กิติพงค์ ให้ข้อมูลถึงมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีต่อคนต่อปีที่ประเทศไทยมีการเติบโตค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างสิงคโปร์ ที่มีการทำเรื่องเทคโนโลยี และทำ Holding Conpany มาเป็นเวลามากกว่า 20 ปี หรือเกาหลีใต้ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในประเทศอย่างมากเช่นเดียวกัน และจากข้อมูลของธนาคารโลกตั้งแต่ปี 1980 จนถึงปี 2020 อัตราการเติบโตของจีดีพีต่อปีของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงติดอยู่ในกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง

          เมื่อมองถึงโครงสร้างการส่งออกสินค้าไทยในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา พบว่าไม่มีการเติบโตในกลุ่มสินค้าไฮเทค ในขณะเดียวกันบริษัทใหญ่ 10 อันดับแรกในตลาดหุ้นไทยทั้งหมดอยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจแบบเก่า (Old Economy) ต่างจากในสหรัฐอเมริกาที่เป็นกลุ่มบริษัทไฮเทค ประเทศไทยจึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น ซึ่งส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลางได้คือการทำเรื่องเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม รวมถึงการสร้างและขายการเติบโตของผู้ประกอบการ/ธุรกิจฐานนวัตกรรมให้มากยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าในการเพิ่มผู้ประกอบการ/ธุรกิจฐานนวัตกรรมที่มียอดขาย 1,000 ล้านบาท จำนวน 1,000 ราย และมี 5 บริษัทเข้าไปอยู่ในกลุ่มบริษัทชั้นนำของโลก Fortune Global 500 Biggest Company ด้วย นอกจากนี้ข้อมูลจาก Crunchbase พบว่าตัวเลขมูลค่าการระดมทุนของสตาร์ทอัพไทยในไตรมาสแรกของปี 2021 อยู่ที่ 1,058 ล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของจีดีพีเท่านั้น โดยรัฐบาลตั้งเป้าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการวิจัยและพัฒนา (GERD) ต่อจีดีพีให้ขึ้นไปเป็นร้อยละ 2 สอวช. จึงให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพควบคู่กับการหนุนให้มีการริเริ่มในมหาวิทยาลัย

 

8116 NXPO1

          “จากข้อมูลของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) พบว่า ระบบนิเวศนวัตกรรมที่สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม หรือ IDE (Innovation-Driven Enterprise) มีปัจจัยสำคัญ 5 ส่วนที่ต้องทำงานร่วมกัน คือ 1) ผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในประเทศ 2) Risk Capital ที่ลงทุนในนวัตกรรมที่มีความเสี่ยงอยู่แล้ว แต่ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงให้ได้ 3) องค์กร ที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการตลาดและขยายตลาดไปสู่เวทีโลก 4) ภาครัฐ ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือให้ถูกจุด ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของระบบนิเวศนวัตกรรม 5) มหาวิทยาลัย ที่เป็นแหล่งความรู้และสำคัญมากต่อการเกิดขึ้นของธุรกิจฐานนวัตกรรม เพราะมีทั้งเรื่องการผลิตคน การสั่งสมและเชื่อมโยงเทคโนโลยี และมีภาคีเครือข่ายความร่วมมือ รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานที่เปิดให้ใช้ประโยชน์ในวงกว้าง ซึ่งในส่วนความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนการส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรม ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวง อว. ก็มีความคืบหน้าไปมากในหลายส่วนทั้งด้านการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจฐานนวัตกรรม การสร้างกลไกตลาดนวัตกรรม การลดความเสี่ยงภาคธุรกิจ การสร้างแรงจูงใจ/สิทธิประโยชน์ ด้านการเงิน/คลัง การลงทุนที่แรงพอ การปรับโครงสร้างระบบสนับสนุนและระบบบริหารจัดการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ที่มีประสิทธิภาพ การเพิ่มสมรรถนะวิจัย โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม (วทน.) และบุคลากรมีคุณภาพ รวมถึงการปลดล็อกกฎหมาย/กฎระเบียบ ที่เอื้อต่อการวิจัยและนวัตกรรมของภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีการทำเรื่องแนวทางการจัดตั้ง Holding Company ของสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยของรัฐด้วยดร. กิติพงค์ กล่าว

          สำหรับ University Holding Company เป็นกลไกการบริหารการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมอย่างมืออาชีพ เป็นหน่วยธุรกิจ มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกมาจากมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่บริหารธุรกิจอย่างมืออาชีพ มีความยืดหยุ่นสูง มีการบริหารการลงทุนเพื่อนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย ออกไปจัดตั้งธุรกิจ (Spin-off) เมื่อจัดตั้งขึ้นแล้วเอกชนสามารถเข้ามาร่วมลงทุนได้ ตัวอย่างกรณีศึกษาในต่างประเทศที่มีการจัดตั้ง Holding Company อาทิเช่น Tsinghua Holding Co., Ltd. และ Tus-holding Co., Ltd. ในประเทศจีน LiU Holding ในประเทศสวีเดน Industrial Technology Investment Corporation (ITIC) ในไต้หวัน ส่วนในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยที่เริ่มจัดตั้ง Holding Company แล้ว ได้แก่ CU Enterprise ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บจก. อ่างแก้ว โฮลดิ้ง ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บจก. M Venturer ของมหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท นววิวรรธ จำกัด ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ TUIP ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรูปแบบการจัดตั้ง Holding Company ของมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มจัดตั้งได้เพียง 1-2 ปี ขนาดบริษัทยังมีขนาดเล็ก (0.25-200 ล้านบาท) โดยมหาวิทยาลัยเข้าไปถือหุ้นในสัดส่วนเกือบ 100% และมีคณะผู้บริหารบริษัทเป็นผู้บริหารจากมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ที่จัดตั้งจะมีฐานงานวิจัยที่พร้อมใช้ประโยชน์ แต่ในการลงทุนยังไม่กล้าลงทุนเป็นตัวเงิน แต่เน้นลงทุนด้วยอสังหาริมทรัพย์ (Investment Property: IP)

 

8116 NXPO2

 

          จากการศึกษาของ สอวช. พบว่า ข้อจำกัดของการร่วมลงทุนของสถาบันอุดมศึกษา/สถาบันวิจัยกับภาคเอกชน ผ่านกลไก Holding Company แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ 1) กฎระเบียบ (Regulatory) ยังขาดความเข้าใจเรื่องการจัดตั้งและสถานภาพของ Holding Company มีข้อจำกัดในการดำเนินงาน ความยืดหยุ่น การตัดสินใจ และความรับผิดชอบของผู้บริหาร 2) การส่งเสริม ยังขาดความชำนาญและความสามารถในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมของบุคลากรมืออาชีพ และ 3) เงินทุน บางมหาวิทยาลัยมีงบประมาณจำกัดในการลงทุน หรือบางมหาวิทยาลัยมีงบประมาณ แต่ขาดกลไกหรือมีข้อจำกัดทางกฎระเบียบภายในในการร่วมลงทุน

 

8116 NXPO3

          ทั้งนี้ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีนโยบายเกี่ยวกับ University Holding Company คือ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งและดำเนินการ Holding Company ได้ตามกฎหมาย โดยจัดทำแนวทางปฏิบัติ (Guideline) เพื่อสร้างความเข้าใจ, ส่งเสริมด้านเงินทุนในการร่วมลงทุนของ University Holding Company, กระทรวง อว.สนับสนุนการปรับปรุงระเบียบภายในมหาวิทยาลัยให้เอื้อต่อการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม รวมถึงสภานโยบายฯ ส่งเสริมมหาวิทยาลัยสร้าง Spin-off/startup เป็นต้น สำหรับการจัดทำแนวทางปฏิบัติ (Guideline) เพื่อการจัดตั้งและดำเนินการ Holding Company ที่ สอวช. จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัตินำไปใช้ในการจัดตั้งและดำเนินงาน Holding Company ได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง, แนวทางการจัดตั้ง Holding Company, การกำกับดูแล, การส่งเสริมและสนับสนุนการนำความรู้ ผลงานวิจัย หรือนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ รวมถึงเรื่องของบุคลากรทั้งในการคัดเลือกสรรหา และสนับสนุนการสร้าง พัฒนาบุคลากรมืออาชีพเพื่อมาปฏิบัติงาน

          ดร. กิติพงค์ ยังได้เพิ่มเติมในตอนท้ายของการบรรยายว่า ประเทศไทยยังมีผลงานวิจัยที่ออกมาเป็นสิทธิบัตรจำนวนไม่มากนัก ในขณะที่การลงทุนเรื่องการวิจัยและพัฒนาเพิ่มสูงขึ้น จึงต้องมีการกระตุ้นให้อาจารย์หรือนักวิจัยในมหาวิทยาลัยทำวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยก็ต้องมีความยืดหยุ่นในการให้อาจารย์หรือนักวิจัยสามารถนำผลงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ มีช่วงเวลาการทำงานทั้งในมหาวิทยาลัยและทำงานกับบริษัท โดยมีกฎระเบียบกติการะบุให้ชัดเจน

 

A8116

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!