WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7482 NXPO

สอวช. ชู อววน. เสริมพลังกระจายรายได้สู่คนฐานราก แนะองค์กรในระบบมองภาพความสำเร็จของการปฏิรูปในทิศทางเดียวกัน พร้อมส่งเสริมการทำงานร่วมกันทั้งในและนอกกระทรวง

           ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมภายใต้การอบรมหลักสูตรการพัฒนานโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมสำหรับบุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดนักคิดนโยบายรุ่นใหม่ ด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อววน. ของประเทศ โดยการเสวนาในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรมและฟังการเสวนาผ่านระบบออนไลน์รวมกว่า 90 คน

           ในการแลกเปลี่ยนถึงความสำคัญของระบบ อววน. ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า อววน. เป็นเรื่องของขีดความสามารถของประเทศที่เป็นฐานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งขีดความสามารถนี้ต้องนำไปพิจารณารวมกับเรื่องอื่นอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิทยาการ วิชาการ หรือเรื่องคน หากถามว่าที่ผ่านมาระบบ อววน. ประสบความสำเร็จในระดับใด ต้องพิจารณาว่าดูย้อนหลังไปกี่ปี ถ้านับตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (.. 2504-2509) มาถึงปัจจุบันรวม 60 ปี ถือว่ามีการพัฒนาไปมาก สมัยก่อนไม่มีแม้กระทั่งทุนสนับสนุนการวิจัย ขาดทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และองค์กรที่ให้การส่งเสริม แต่ปัจจุบันมีทุนวิจัยเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีสถาบันวิจัยที่ทันสมัยและมีการส่งเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาค ไม่เฉพาะแต่ในกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้หลายมหาวิทยาลัยเก่งขึ้นจนสามารถเทียบเท่าระดับนานาชาติได้

           “อีกมุมหนึ่งในแง่ของความก้าวหน้าของระบบ อววน. จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐานในการวัด (Benchmark) ทั้งเกณฑ์ของเราเองและเกณฑ์ในการเทียบเคียงกับต่างชาติ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการจะเทียบกับประเทศอะไร ต้องการเปรียบเทียบในมุมไหน ถ้าเป็นมุมเศรษฐกิจ หากมองจากกลุ่มประเทศที่ติดอยู่ในกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เราอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ยังสามารถเทียบเคียงได้ ส่วนการคำนวณค่าเฉลี่ยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีต่อหัว ก่อนหน้านี้ประเทศไทย จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อผ่านมา 50 ปี สัดส่วนตัวเลขมีการปรับขึ้นต่างกัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะประเทศที่มีสัดส่วนจีดีพีต่อหัวสูงขึ้นคือประเทศที่มีดัชนีนวัตกรรมสูง เช่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา สวีเดน ดังนั้นการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดร.กิติพงค์ กล่าว

 

7482 NXPO3

 

           การติดอยู่ในกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง จากค่าเฉลี่ยจีดีพีต่อหัวของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี หากจะหลุดพ้นได้ต้องเพิ่มค่าเฉลี่ยขึ้นไปอยู่ที่ 14,000-15,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี ดร.กิติพงค์ ให้ความเห็นว่า ค่าเฉลี่ยของประเทศไทยสามารถไปถึง 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี ได้ แต่จุดสำคัญคือค่าเฉลี่ยนั้นไม่ได้กระจายไปสู่คนทั้งประเทศ มีการกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มคนที่มีรายได้สูง คิดเป็นประมาณ 13% ของประชากรทั้งหมด เมื่อลงไปคำนวณจากประชากรที่ทำอาชีพเกษตรกร SMEs หรือกลุ่มฐานราก จะพบว่ามีค่าเฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่เพียง 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี เท่านั้น สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือการทำให้ค่าเฉลี่ยนี้กระจายไปให้ได้อย่างน้อย 50% ของประชากรทั้งหมด ไม่ไปกองอยู่เพียงแต่ที่ยอดพีระมิด การปฏิรูปในช่วงหลัง โจทย์สำคัญจึงน่าจะเป็นการนำเอาขีดความสามารถด้าน อววน. เข้าไปกระตุ้นและเสริมพลังให้กับคนที่อยู่ในฐานของพีระมิด ถ้าถามว่าในปัจจุบันระบบ อววน. สำเร็จในระดับใด คิดว่าประเทศไทยก้าวมาไกลมากแล้ว แต่ยังมีโอกาสที่ต้องเดินต่อ ถึงแม้เส้นทางไปสู่เป้าหมายจะสั้นลง แต่ยังต้องเดินให้เร็วขึ้น เพราะเส้นทางข้างหน้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ต้องอาศัยการวางระบบที่ดีเข้ามาช่วย

           ในส่วนภาพรวมของการปฏิรูประบบ อววน. ดร.กิติพงค์ มองว่า องค์กรที่อยู่ในประชาคม อยู่ในระบบทั้งหมด ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้ประเทศประสบความสำเร็จไปในทิศทางเดียวกัน ถ้ามีความคิดเดียวกันในการมุ่งสู่เป้าหมาย พยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ออกไปให้มากที่สุด ก็จะมองเห็นหนทางขับเคลื่อนสิ่งสำคัญร่วมกันได้ โจทย์ของการปฏิรูปที่สำคัญเปรียบเทียบได้กับการปลูกมังคุดในสวนภาคใต้ ผลผลิตออกมามีลูกเล็ก ขายได้ราคาต่ำ ส่วนแรกที่ต้องให้ความสำคัญเริ่มจากการดูแลสวนให้ดี ต้องมีดินดี น้ำดี เปรียบได้กับการสร้างรากฐานที่ดีให้กับนักวิจัย นักวิชาการ องค์กร หรือบุคลากรในระบบ แต่ในขณะเดียวกันต้องคิดต่อว่าเมื่อผลผลิตที่ดีออกจากสวนไปแล้วจะทำอย่างไรให้ขายได้ จึงต้องมีการเชื่อมต่อกับตลาด สังคม ชุมชน ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก ต้องเข้าไปสร้างระบบเชื่อมต่อตรงนั้น ไม่ใช่ให้ความสำคัญอยู่แค่การดูแลสวนของเรา การทำงานในส่วนนี้จึงเปรียบได้กับการเชื่อมต่อกับหน่วยงานข้างนอก ต้องเริ่มคิดว่าเรายังขาดอะไร และจะมีเครื่องมืออะไรเข้ามาเป็นตัวช่วย

           สำหรับกลไกที่จะช่วยผลักดัน ขับเคลื่อนในการปฏิรูปให้เกิดผลสำเร็จ ดร.กิติพงค์ มองว่า สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ถือเป็นร่มขนาดใหญ่ สามารถที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปได้อย่างมาก เพราะมีการทำงานเชื่อมโยงกับรัฐบาล ดูแลหน่วยงานทั้งหมดรวมถึง สอวช. และครอบคลุมถึงหน่วยงานในระบบวิจัยที่อยู่นอกกระทรวง อว. ก็สามารถจะทำงานร่วมกันได้ ส่วนหนึ่งที่สำคัญควรมีนโยบายแบบบนสู่ล่าง (Top-down Policy) ซึ่งหน่วยนโยบายหรือหน่วยที่จะนำนโยบายไปใช้สามารถช่วยกันคิด ช่วยกันทำได้ การที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูป จะไปฝากไว้ที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งไม่ได้ ต้องหากลไกการทำงานร่วมกันมากขึ้น ในมุม สอวช. เอง ยินดีที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการแก้ไข คลี่คลายข้อจำกัดต่างๆ โดยใช้กลไกภายใต้สภานโยบายฯ เข้ามารองรับ

 

7482 NXPO2

 

           นอกจากนี้ ความเห็นโดยรวมของผู้ร่วมเสวนา ซึ่งประกอบด้วย รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มองว่า ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระบบ อววน. ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานในประเทศยังไม่เข้มแข็งและยังไม่เข้าถึงประชาชนอย่างเพียงพอ จึงต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง ซึ่งเรื่องนี้เชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงติดอยู่ในกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง การปฏิรูปมีขึ้นเพื่อทำให้ระบบเดิมที่ยังอ่อนแอมีความเข้มแข็งมากขึ้น ต้องมีการพัฒนาสมรรถนะ ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ให้ตอบโจทย์บริบทการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ซึ่ง อววน. ถูกมองว่าเป็นแกนหลักสำคัญ เราต้องทำให้ฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมเข้มแข็ง ต้องมีทีมงานที่เข้มแข็ง ที่พร้อมบูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงอื่น ทำให้หน่วยงานที่มีความหลากหลายในการทำงาน มองเห็นเป้าหมายความสำเร็จเดียวกันและทำงานร่วมกันได้ อีกส่วนสำคัญคือต้องสร้างความเชื่อมั่น ความเข้าใจและความตระหนักให้คนในประเทศเห็นว่า อววน. มีความสำคัญมากในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เราจึงต้องลงทุนในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น

           สำหรับการเสวนาครั้งนี้ ผู้ร่วมอบรมหลักสูตรการพัฒนานโยบายฯ จะได้เอาความรู้ที่ได้ไปเดินหน้าต่อ ในการออกแบบการทำงานร่วมกัน รวมถึงออกแบบเชิงระบบ เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบ อววน. ของประเทศต่อไป

 

A7482

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!