- Details
- Category: การศึกษา
- Published: Monday, 17 May 2021 13:44
- Hits: 1452
นศ. ICT ม.มหิดล คิดค้น AI ชี้วัดสังคมออนไลน์
เพื่อผลักดันสู่นโยบายสุขภาวะทางจิต
วันที่ 28 พฤษภาคมของทุกปีกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นวันสุขบัญญัติแห่งชาติซึ่ง 1 ในสุขบัญญัติ 10 ประการคือการทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
เมื่อเกิดวิกฤติเกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือวิกฤติใดๆในปัจจุบันเราจะสามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้คนในสังคมมีความเครียดหรือวิตกกังวลมากเพียงใดในทันทีที่ได้เข้าไปในสังคมออนไลน์เพียงพิมพ์คำที่ต้องการลงในช่องค้นหา
ด้วยหลักการเดียวกันนี้ทีมนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดลประกอบด้วย “น้องเต้” นายกฤตินชาตรีนันท์ “น้องนนต์” นายอนนต์กังพานิชและ “น้องพู” นายธนวินท์วิจิตรซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศุภวงศ์ทั่วรอบเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาได้นำมาประยุกต์ใช้พัฒนาโปรแกรม “สิมิลัน (PSIMILAN) : ระบบประมวลผลและแสดงข้อมูลผลกระทบทางจิตวิทยาและสุขภาพจิตระดับประชากร โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่” ซึ่งสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 23 (NSC 2021) หมวดโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Application) จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมเมื่อเร็วๆนี้
อาจารย์ ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าที่ผ่านมาคณะฯได้มีนโยบายมุ่งส่งเสริมให้นักศึกษาได้นำความรู้ทางด้าน ICT ที่เรียนมาไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันซึ่งการใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์สามารถใช้แก้ไขปัญหาต่างๆได้ครอบคลุมสูงกว่าการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปโดยจะมีอัลกอริทึมแบบจำลองเชิงลึกที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงบางอย่างคล้ายสมองของมนุษย์ในการช่วยวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่ตอบโจทย์สังคมหรือผลักดันสู่การวางแผนจัดทำนโยบาย (policy maker) ต่อไปโดยคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมมุ่งมั่นเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติต่อไป
“น้องเต้” นายกฤติน ชาตรีนันท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะหัวหน้าทีมนักศึกษาผู้พัฒนาโปรแกรม “สิมิลัน” กล่าวว่าชื่อของโปรแกรมมาจาก PSIMILAN ซึ่งเป็นตัวย่อของชื่อผลงาน “A data processing and visualization system for PSychological IMpact In mental health using LArge-scale social Networks” ในภาษาอังกฤษซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ AI เพื่อประมวลผลสื่อสังคมออนไลน์ภาษาไทยและแสดงข้อมูลผลกระทบทางจิตวิทยาและสุขภาพจิตระดับประชากรในประเทศไทย
สามารถใช้งานโดยการเพิ่มนโยบายที่ต้องการศึกษาเข้าไปในระบบแล้วโปรแกรมจะประมวลผลด้วย BERT และ LaBERT ซึ่งเป็น AI ประเภทการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ที่ล้ำสมัยสำหรับประมวลผลภาษาโดยใช้ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์โดยโปรแกรมจะตรวจจับภาษาไทยซึ่งเป็นคำที่แสดงถึงภาวะซึมเศร้าหรือความคิดฆ่าตัวตายอาทิเครียดเศร้าหดหู่อยากตายฯลฯ
จากนั้นโปรแกรม “สิมิลัน” จะแสดงผลออกมาเป็นกราฟแสดงความถี่ของข้อความที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับนโยบายสู่การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสุขภาวะทางจิตสรุปผลแยกแยะในเชิงลึก 4 ด้านได้แก่อารมณ์ภาวะซึมเศร้าความรู้สึกและความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายซึ่งสามารถดูได้ทั้งแบบรายวันรายเดือนและรายปีนอกจากนี้ยังสามารถดูสรุปผลที่เป็นความรู้สึกในทางบวกและลบผ่านทางเว็บแอปพลิเคชันได้อีกด้วย
“น้องนนต์” นายอนนต์ กังพานิช นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวเสริมในฐานะสมาชิกทีมนักศึกษาผู้พัฒนาโปรแกรม “สิมิลัน” ว่าข้อดีของการใช้ระบบประมวลผลสุขภาวะทางจิตโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์คือสามารถดึงข้อมูลออกมาใช้ได้แบบเรียลไทม์หรือในทันทีแทนที่จะต้องรอการสรุปผลรายงานประจำปีอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยระบบสามารถแสดง trend หรือแนวโน้มความสนใจของผู้คนในช่วงเวลาต่างๆได้ตามจริง
ในขณะที่ “น้องพู” นายธนวินท์ วิจิตร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดลอีกหนึ่งสมาชิกของทีมนักศึกษาผู้พัฒนาโปรแกรม “สิมิลัน” ได้กล่าวเพิ่มเติมถึง Target Users หรือกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนอกจากจะได้แก่ผู้วางแผนจัดทำนโยบาย (policy makers) แล้วยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการรักษาสุขภาวะทางจิตและนักวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขโดยทั่วไปที่จะใช้เป็นแพลทฟอร์มต่อยอดเพื่อการทำนายพยากรณ์ผู้ป่วยโรคอื่นๆได้ต่อไปอีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภวงศ์ ทั่วรอบ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านAI และการวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่เพื่อประโยชน์ด้านการแพทย์และสังคมกล่าวว่าข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์นั้นถือเป็น Big Data ที่สามารถสกัดข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณประโยชน์ได้มากแต่ยังมีการนำไปใช้งานน้อยในประเทศไทยโดยโปรแกรม “สิมิลัน” ที่ทีมนักศึกษาของคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดลได้พัฒนาขึ้นนี้อาจประยุกต์ใช้กับช่วงวิกฤติ COVID-19 เพื่อดูแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในระดับชุมชนได้อย่างเรียลไทม์เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังต่อไปได้อีกด้วยในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาทีม “สิมิลัน” ผู้ทำหน้าที่ Inspire & Facilitate หรือสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์พัฒนาโปรแกรม AI เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสุขภาวะทางจิตของประชาชนนี้รู้สึกภาคภูมิใจที่นักศึกษาได้ยึดผลประโยชน์ของสังคมไทยเป็นหลักและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนชาวไทยได้อย่างสร้างสรรค์ต่อไป
A5610
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ