WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

4607 KMUTT lab at homeมจธ.-มช. ร่วมคิดค้นการเรียนวิชาปฏิบัติการที่บ้าน (Lab at home)

ในวิชาเคมีสำหรับนักศึกษาตาม วิถีชีวิตใหม่ (New normal)

          ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ภายใต้โครงการทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (DPG 6080002) เพื่อการพัฒนาการวิเคราะห์ทางเคมีแนวใหม่ (Modern chemical analysis) ในรูปแบบของการทำการทดลองที่บ้าน ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ (New normal) อันเนื่องมากจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้หัวข้อปฏิบัติการเรื่อง การหาปริมาณเหล็กด้วยการวิเคราะห์ทางเคมีสะอาดแนวใหม่ โดยใช้รีเอเจนต์ธรรมชาติ และใช้โทรศัพท์มือถือ (Determination of iron by modern green chemical analysis employing a natural reagent and with a smartphone)” การทดลองนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา CHM 267 วิชาปฏิบัติการทางเคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry and Instrumental Analysis Laboratory 2) สำหรับนักศึกษาภาควิชาเคมีชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

          ผศ. ดร. มนภัทร วงษ์บุตร หัวหน้าโครงการ และอาจารย์ประจำสาขาเคมีวิเคราะห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับคณะทำงานได้แก่ ดร.กนกวรรณ คิวฝอ นายปิยะณัฐ อิศรางกูร อยุธยา นางสาวชนม์นิภา ยี่รัมย์ และนายกุลภณ เกสรกาญจน์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาปฏิบัติการทางเคมีวิเคราะห์ ซึ่งในเวลาปกตินักศึกษาจะต้องเดินทางมาเรียนวิชานี้ที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น เนื่องจากเป็นวิชาปฏิบัติการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ และมีผู้ควบคุม แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การเรียนการสอนดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เพราะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ของนักศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเรียนวิชาปฏิบัติการที่บ้าน (Lab at home) เป็นทางออกเดียวที่จะทำให้การเรียนของนักศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในรายวิชานี้จำเป็นต้องใช้สารเคมีปริมาณค่อนข้างมาก อันตราย และต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ที่ต้องมีผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด ทำให้แนวคิดนี้เป็นไปได้ยากในช่วงแรก และรายวิชานี้ไม่เหมือนกับวิชาทฤษฎีที่นักศึกษาสามารถเรียนผ่านสื่อออนไลน์ หรือตามแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้ง่าย

        ดังนั้นจากความร่วมมือของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ภายใต้โครงการทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (DPG 6080002) โดยมี .เกียรติคุณ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ปรึกษาในโครงการนี้ เกิดเป็นแนวคิดการนำสารสกัดธรรมชาติจากใบฝรั่งมาใช้สำหรับการหาปริมาณเหล็ก และใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต สำหรับบันทึกผลการทดลอง โดยการทดลองนี้ใช้สารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย เป็นสาร polyphenol ที่สกัดได้จากใบฝรั่ง ซึ่งจะทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กที่มีสี จึงสามารถนำคุณสมบัติทางสีมาใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีได้ นอกจากนี้ยังใช้สารปริมาณน้อยมากๆ ในระดับไมโครสเกล ทำให้ปลอดภัยต่อนักศึกษาและคนรอบข้าง สามารถทำการทดลองได้ในที่พัก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลต่างๆ ที่นักศึกษาได้จากการปฏิบัติ การวิจารณ์ผลการทดลอง รวมไปถึงการสอบวัดผลหลังทำการทดลองจะดำเนินผ่านทางออนไลน์ทั้งหมด จึงเรียกได้ว่าเป็นวิชาปฏิบัติการที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตใหม่ (New normal) อย่างแท้จริง

 

A4607

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!