WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3929 DPU

วิศวะ DPU สุดเจ๋ง คว้าแชมป์แข่งหุ่นยนต์ ซีอาร์ยู โรบอทเกมส์ ปี 63

          ปิดฉากการประลองฝีมือกันไปแล้ว สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์ ในโครงการประกวดแข่งขันหุ่นยนต์ ซีอาร์ยู โรบอทเกมส์ ระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 11 “Power for a better life” ประจำปี 2563 จัดโดยสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม สนับสนุนโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยผลรางวัลชนะเลิศพร้อมเงินรางวัลและโล่เกียรติยศในปีนี้ ตกเป็นของทีม ลูกเจ้าแม่คลองประปา “Lullaby” จากวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ที่ฝ่าด่านสถาบันอุดมศึกษาคู่แข่งจากทั่วประเทศ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ และอื่นๆ อีกจำนวนกว่า 30 ทีม

          กว่าจะคว้าแชมป์มาได้ 4 หนุ่มจากทีมลูกเจ้าแม่คลองประปา Lullaby ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปี 1-4 สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ของ CITE DPU ประกอบด้วย นายพีรพัฒน์ พลอยประเสริฐ (เจมส์) หัวหน้าทีม นายเอกราช เหล็งนุ้ย (มาน) นายนิติพนธ์ ผายรัศมี (ไนท์) และนายธนวัฒน์ พูพุ่ม (มิ้ง) ต่างเอ่ยเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องฝึกซ้อมกันอย่างหนักเลยทีเดียว โดยมีรุ่นพี่ที่คณะและ อ.ณพัฒน์ สุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่คอยให้คำปรึกษาตลอดช่วงเวลาการเตรียมตัวและแข่งขัน

 

3929 DPU2

 

          .ณพัฒน์ สุวรรณ ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาเล่าให้ฟังว่า ทุกๆ ปีจะมีการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นก่อนเซ็ททีมรุ่นพี่ในชมรมหุ่นยนต์จะเรียกรุ่นน้องมาประชุม เพื่อทำการคัดเลือกผู้ร่วมทีม โดยปีนี้เราได้ส่งนักศึกษาลงแข่งขัน 2 ทีม ซึ่งแต่ละทีมมีประมาณ 7-8 คน และเมนหลักในทีม 3 คนต้องมีความรู้ด้านโปรแกรมเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบโครงสร้าง และการจัดการ หลังเปิดรับสมัครและรับโจทย์จากมหาวิทยาลัยที่จัดการแข่งขัน สิ่งแรกที่นักศึกษาจะต้องทำคือจำลองสนามแข่งให้เหมือนจริงมากที่สุด และออกแบบหุ่นยนต์ให้ตรงตามกติกา จากนั้นทุกคนในทีมต้องใช้ไอเดียออกแบบการแข่งขันในรูปแบบ 3D แล้วนำมาวิเคราะห์ในที่ประชุม เพื่อลงความเห็นว่าไอเดียไหนใช้ได้จริงมากที่สุด แล้วนำมาทดสอบความแม่นยำในสนามและฝึกซ้อมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวันลงสนามจริง โดยรวมฝึกซ้อมประมาณ 3 เดือน

          การออกแบบโครงสร้างเชิงวิศวกรรม และการทำงานเป็นทีม คือ จุดเด่นของทีม หลังได้รับรางวัลชนะเลิศเราได้วิเคราะห์ข้อได้เปรียบของหุ่นยนต์ DPU เมื่อเปรียบเทียบกับหุ่นของทีมอื่น พบว่าหุ่นยนต์อัตโนมัติของเราทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งมาจากปัจจัย 2 ส่วน คือ การใช้อุปกรณ์และบอร์ดอิเล็กโทรนิคเกรดอุตสาหกรรมมาใช้งาน และ การออกแบบหุ่นยนต์ให้สามารถหยิบชิ้นงานที่ทำคะแนนสูงสุดและหยิบได้หลายรูปทรง” 

 

3929 DPU3

 

          นายพีรพัฒน์ พลอยประเสริฐ หรือ เจมส์ นักศึกษาชั้นปี 4 หัวหน้าทีม กล่าวว่า การอยู่ในฐานะพี่ใหญ่ที่ต้องคอยดูแลน้องๆ และต้องรับฟังความคิดของทุกคนอยู่เสมอ ทำให้เห็นความสามารถที่โดดเด่นของน้องแต่ละคน จึงทำให้แบ่งการทำงานตามความถนัดให้ทุกคนได้อย่างลงตัว และเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้ทีมประสบความสำเร็จ มาจากหลายปัจจัย อาทิ การนำประสบการณ์จากการลงแข่งขันในสนามต่างๆ มาปรับใช้ในการแข่งขัน การฝึกฝนอยู่เสมอ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้หลอมรวมให้ทุกคนในทีมเป็นหนึ่งเดียวกันและคว้าชัยครั้งนี้มาได้ จึงอยากฝากน้องๆ ที่เรียนคณะวิศวกรรม ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ที่ DPU นอกจากเรียนในตำราแล้ว ยังมีกิจกรรมดีๆ ที่ช่วยฝึกฝนทักษะด้านอื่นๆ รวมไปถึงทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ที่ถูกฝังไว้ใน DNA ของเด็ก DPU ทุกคน ซึ่งเมื่อจบออกไปนอกจากในฐานะของพนักงานแล้วจะช่วยให้เราคิดในมุมของผู้ประกอบการด้วย

          ด้านนายธนวัฒน์ พูพุ่ม หรือ มิ้ง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 บอกว่า ส่วนตัวสนใจเรื่องการสร้างหุ่นยนต์มาตั้งแต่สมัยเรียน ปวช. เมื่อก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยจึงเลือกเรียนที่ DPU เพราะมหาวิทยาลัยนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงด้านการประกอบธุรกิจ ยังมีชื่อเสียงด้านการแข่งขันหุ่นยนต์ เมื่อถึงฤดูกาลแข่งขันจึงได้สมัครเข้าชมรม เพื่อลงแข่ง ซึ่งตนได้รับมอบหมายให้ออกแบบในส่วนของแมคคานิคหรือโครงสร้างของตัวหุ่น ถือเป็นส่วนสำคัญในการใช้งาน สำหรับสิ่งที่ทำให้นำมาสู่ชัยชนะในครั้งนี้ มาจากการสร้างหุ่นยนต์ได้ตรงตามโจทย์และใช้เวลาแข่งน้อยกว่าทีมอื่น สิ่งที่ได้จากการแข่งขันครั้งนี้ คือ การมีพัฒนาการด้านการออกแบบการแข่งขัน การออกแบบหุ่นยนต์ รู้จักการวางเป้าหมาย และการคิดวิเคราะห์ ผมจะนำความรู้ทั้งหมดนี้ไปต่อยอดในการทำงานในอนาคต สำหรับผู้ที่สนใจทางด้านนี้ ขอให้มุ่งมั่นและหมั่นฝึกซ้อมอยู่เสมอ เมื่อมีโอกาสลงแข่งขันจะได้เปรียบคู่แข่ง

 

3929 DPU4

 

        ายเอกราช เหล็งนุ้ย หรือ มาน และนายนิติพนธ์ ผายรัศมี หรือ ไนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ช่วยกันเล่าว่า ความสามัคคีถือเป็นจุดเด่นของทีม เพราะทุกคนในชมรม ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหรือรุ่นพี่ ต่างมาช่วยให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาก่อนการแข่งขัน โดยเฉพาะเรื่องการออกแบบแขนหุ่นยนต์เพื่อให้หยิบจับอุปกรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทำให้ชนะการแข่งขันมาได้ แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีอุปสรรคจากการระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลให้งานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผน แต่ด้วยความทุ่มเทของทุกฝ่ายทำให้หุ่นยนต์ที่ออกแบบมีความสมบูรณ์ และมีแม่นยำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามรู้สึกภูมิใจมากที่พึ่งเรียนชั้นปีหนึ่งแต่สามารถคว้าแชมป์ได้ สำหรับประสบการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปต่อยอดการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านอื่นๆ เพื่อนำมาช่วยเหลือสังคมต่อไป

 

A3929

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!