WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

12334 MU อ.นพ.ชนินทร์.มหิดล เปิดมิติใหม่วงการศึกษาวิทย์กีฬาไทย เปิดสอนกายวิภาคศาสตร์ประยุกต์เพื่อปรับปรุงและเพิ่มสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของนักกีฬาอย่างตรงจุด ตามแนวคิดเครือข่ายม.อาเซียน (AUN-QA)

          วันที่ 16 ธันวาคมของทุกปีคณะรัฐมนตรีมีมติให้เป็น “วันกีฬาแห่งชาติ” เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระปรีชาทางด้านกีฬาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร(.9) และพระราชกรณียกิจที่ทรงมีคุณูปการต่อการกีฬาของประเทศไทย

          ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดลได้ใช้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) ของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

          นับเป็นมิติใหม่ของวงการศึกษาวิทยาศาสตร์กีฬาของประเทศไทยที่ได้นำเอากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) มาประยุกต์ใช้เพื่อการปรับปรุงและเพิ่มสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของนักกีฬาอย่างตรงจุดโดยอาจารย์นายแพทย์ชนินทร์ล่ำซำอาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อดีตคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ริเริ่มจัดการเรียนการสอนรายวิชากายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ขั้นพื้นฐานและขั้นสูงเพื่อการออกกำลังกาย (Basic and advanced functional anatomy for exercise) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยฯในชั้นปีที่ 2 ด้วยแนวคิด Outcome-based Education ของ AUN-QA ที่ให้นักศึกษาได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองพร้อมทั้งคิดวิเคราะห์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้จริง

          อาจารย์ นายแพทย์ชนินทร์ ล่ำซำ กล่าวว่า “การเคลื่อนไหว” เป็นพื้นฐานที่สำคัญของชีวิตมนุษย์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพื่อเข้าใจในหลักของการเคลื่อนไหวและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายและเล่นกีฬาแต่ละประเภทจึงได้จัดการเรียนการสอนโดยผนวกเอาความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์สรีรวิทยาและชีวกลศาสตร์มาใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์กีฬาซึ่งลำพังกายวิภาคศาสตร์ที่เป็นวิชาพื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยฯสอนเพียงให้นักศึกษารู้จักและท่องจำส่วนต่างๆของร่างกายแต่รายวิชากายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ฯจะสอนโดยใช้ภาษาทางกายวิภาคศาสตร์เพื่อการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นสากลและเน้นเรื่องการประยุกต์ใช้เช่นถ้าบอกให้นักกีฬาผู้เข้ารับการฝึกเกร็งต้นแขนหากบอกด้วยภาษาทางกายวิภาคศาสตร์จะทำให้สามารถบอกได้อย่างตรงจุดว่าควรใช้กล้ามเนื้อมัดไหนจึงจะตรงตามวัตถุประสงค์ของการฝึกและจะมีความแม่นยำยิ่งขึ้นหากให้นักศึกษาได้ลองทำด้วยตัวเอง

          ซึ่งรายวิชากายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ฯจะเป็นการ “ดูซ้ำ-ย้ำทวน” ภาษาทางกายวิภาคศาสตร์กลับไม่ใช่เรื่องยากเพราะจะมีการ ทวนซ้ำ” ให้นักศึกษาผู้เรียนได้จดจำอยู่ตลอดเวลาแต่สิ่งที่ยากกว่าคือ “การเคลื่อนไหวให้ถูกหลัก” โดยในการเรียนการสอนจะให้นักศึกษาผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติและถ่ายวิดีโอการฝึกของตัวเองขณะปฏิบัติมาวิเคราะห์และวิพากษ์กันว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร

          ที่ผ่านมาพบว่าการให้นักศึกษาได้ทั้งดูฟังลงมือทำและคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเองทำให้เกิดการศึกษาที่เห็นผลลัพธ์แบบ Outcome-based Education ตามแนวคิดของ AUN-QA และเพื่อปรับให้เข้ากับโลกในยุคดิจิทัลในอนาคตอาจมีการใช้สื่อออนไลน์เป็นสื่อเสริม โดยเหมาะกับผู้ที่มีพื้นฐานบ้างแล้วเพื่อการแก้ไขปรับให้ดีขึ้น แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียนในระยะเริ่มต้น (Beginner) เนื่องจากไม่สามารถสอนให้ทำได้จริงจากการใช้เพียงจินตนาการเช่นเดียวกับการสอนว่ายน้ำออนไลน์ไม่สามารถทำได้สำหรับผู้เริ่มฝึกที่ไม่เคยว่ายน้ำจริงมาก่อน จะไม่มีทางเข้าใจว่าควรจะหายใจและเคลื่อนไหวอย่างไร

 

12334 MU2

 

          “น้องฟิว” นางสาวกุลวณิชย์ ธรฤทธิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (การออกกำลังกายและการกีฬาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล่าถึงประสบการณ์จากการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนรายวิชากายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ฯในการช่วยฝึกสอนนักกีฬากอล์ฟโดยพบว่านักกีฬากอล์ฟต้องเดินเป็นระยะทางไกลราว 10 กิโลเมตรในการแข่งขันแต่ละครั้งจึงจำเป็นต้องมีการฝึกกล้ามเนื้อขาร่วมด้วยนอกจากนี้ยังได้ใช้ความรู้จากการศึกษารายวิชาดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการฝึกซ้อมกีฬาเรือพายด้วยตัวเองจนสามารถร่วมชิงชัยได้อันดับ 6 ประเภทดึงระยะ 1,000 เมตร จากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนมาแล้ว โดยมี อาจารย์ นายแพทย์ชนินทร์ ล่ำซำ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาชมรมกีฬาเรือพายในขณะนั้นเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักและให้คำแนะนำ

          เช่นเดียวกับ น้องบุญเล้ง” นายณัฏฐ์ณรงค์ ทองดีเลิศ ที่เป็นอีกหนึ่งนักกีฬาเรือพายของมหาวิทยาลัยมหิดลที่น่าจับตา และสามารถทำเหรียญเงินประเภทกรรเชียงบกจากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 47 ที่จัดขึ้น มหาวิทยาลัยรังสิตเมื่อปีที่ผ่านมาโดยมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นนักศึกษาผู้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล “น้องบุญเล้ง” เล่าว่าตนเลือกเรียนที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากเป็นผู้ชื่นชอบการออกกำลังกายและอยากใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกายวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬามหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งปัจจุบันกำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 ไปฟื้นฟูสุขภาพและสมรรถภาพให้กับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆ นักกีฬาซึ่งรายวิชากายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ฯนั้นไม่ได้มีประโยชน์เพียงเพื่อพัฒนาการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายแต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากการใช้กล้ามเนื้อที่ผิดหลักได้

          จากผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ด้านความเป็นครูส่งผลให้อาจารย์นายแพทย์ชนินทร์ล่ำซำได้รับการยกย่องให้เข้ารับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดลในสาขาดังกล่าวจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดลปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมา โดยอาจารย์นายแพทย์ชนินทร์ล่ำซำกล่าวว่า “ครูที่ดี” นอกจากจะทำหน้าที่ของครูที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ตามหลักธรรม “ทิศ 6” แล้วยังพึงเป็น “กัลยาณมิตรที่ดี” ต่อศิษย์ด้วย

 

A12334

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!