WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7295 กสศนักเศรษฐศาสตร์ รางวัลโนเบล ชี้การศึกษาที่เสมอภาคคือทางแก้ปัญหาในทุกวิกฤต

นานาชาติเรียกร้อง รัฐบาลทั่วโลกให้ความสำคัญ

          เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ ภาครัฐ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ธนาคารโลก (World Bank) Global Partnership for Education และ Save the children UNESCO และภาคีเครือข่าย จัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : ปวงชนเพื่อการศึกษา รูปแบบการประชุมวิชาการออนไลน์ ระหว่างวันที่ 10 - 11 กรกฏาคม 2563 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของโลก โดยมีนักปฏิรูป นักเศรษฐศาสตร์ ผู้นำด้านการศึกษากว่า 60 คน จาก14 ประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และระดมสมองหาทางออกแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจากวิกฤตโควิด-19 ใน 4 ประเด็น คือ 1.ข้อมูลและเทคโนโลยี 2.นวัตกรรมการเงินการคลังเพื่อการศึกษา 3.การศึกษาเชิงพื้นที่ 4.ปวงชนเพื่อการศึกษา สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุมออนไลน์ได้ฟรีที่ http://afe2020.eef.or.th/thai/ และขณะนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 2,100 คน

          นายอมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลด้านการพัฒนาและศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจที่ทั่วโลกมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้การศึกษาเพื่อปวงชนเกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เราเห็นว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราจัดการกับปัญหาใหญ่ๆ ได้รวมถึงโควิด19 ซึ่งเป็นโรคระบาดอุบัติใหม่ครั้งใหญ่ของโลก ทั้งนี้เราพบว่าการศึกษาจะเข้ามาช่วยควบคุมและจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้ เพราะเมื่อคนได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกันเขาก็จะสามารถจัดการชีวิตของตนเองได้ และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองจากการได้รับการศึกษาได้ และนอกจากนี้แล้วก็ยังจะมาช่วยกันดูแลสังคมให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพได้ด้วยเช่นกัน

          นางอลิส ออร์ไบร์ท ผู้จัดการกองทุนการศึกษาโลก หรือ Global Partnership for Education (GPE) องค์กรที่ให้ทุนเพื่อช่วยเหลือด้านการศึกษากับประเทศที่กำลังพัฒนามากที่สุดในโลกและให้ทุนกับรัฐบาลของ 60 ประเทศที่ยากจนที่สุดเพื่อรับมือวิกฤตโควิด-19 กล่าวว่า การเเพร่ระบาดของโควิด19 ยิ่งทำให้สถานการณ์ของเด็กยากจนเลวร้ายลง เมื่อทั่วโลกตัดสินใจล็อคดาวน์ ส่งผลให้เด็กกว่า 1.6 พันล้านคนไม่ได้ไปโรงเรียน เเละมากกว่าครึ่งของเด็กเหล่านั้นอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปิดโรงเรียนเพื่อรักษาชีวิตคนไว้ เเต่เมื่อยิ่งปิดนานเท่าไหร่ ผลที่จะเกิดกับสังคมยิ่งรุนเเรงมากขึ้นเท่านั้น องค์กรมาลาล่าฟันด์ เป็นองค์กรที่ทำงานด้านเด็กเเละสตรี ระบุว่า ผลกระทบจากโควิดทำให้ เด็กผู้หญิง 10 ล้านคนที่อยู่ในชั้นมัธยมต้องออกจากระบบการศึกษาไปตลอดกาล เเม้ว่าสถานการณ์จะสิ้นสุดลงเเล้วก็ตาม

          “ประเทศที่กำลังพัฒนา เศรษฐกิจจะหดตัวลงมากถึง 2.5% ทำให้เกิดความหายนะครั้งใหญ่ งบประมาณของรัฐลดลงส่งผลต่อการลดงบประมาณด้านการศึกษาของประเทศ นอกจากนี้รายได้เศรษฐกิจครัวเรือนลดลงอย่างรุนเเรง ทำให้ครอบครัวไม่สามารถนำเงินมาส่งบุตรหลานเรียนหนังสือได้ ผู้ปกครองต้องเลือกส่งลูกบางคนไปเรียนหนังสือ ผู้หญิงเเละผู้พิการ จะเป็นกลุ่มที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เเละงบประมาณการช่วยเหลือประเทศที่มีรายได้ต่ำจะหายไป เเละจะขาดรายได้ในการระดมทุนช่วยเหลือประเทศที่ยากจน เมื่อเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษา เด็กจะสูญเสียการเรียนรู้เเละรายได้ การเลี้ยงชีพตัวเองในอนาคต สูญเสียโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองไปตลอดชีวิต” นางออร์ไบร์ท กล่าว 

          นางออร์ไบร์ท ยังแสดงความยินดีกับความก้าวหน้าในด้านการผลักดันการศึกษาเพื่อความเสมอภาคของกสศ.ในไทย ซึ่งสำหรับ GPE ในฐานะที่ทำงานในด้านนี้มานานกว่า ยอมรับว่า แนวทางและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเสมอภาคเท่าเทียมทางการศึกษา ไม่มีสูตรแก้ไขที่สำเร็จตายตัว แต่ GPE ก็พร้อมให้ความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูลหรือองค์ความรู้กับทาง กสศ.เพื่อไปให้ถึงความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างยั่งยืน

          “ภายใต้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 บรรดาองค์กรและหน่วยงานด้านการศึกษาทั้งหลาย ควรตระหนักได้เสียทีถึงบทบาทและความจำเป็นของระบบการศึกษาทางไกลด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นแบบไฮเทค โลว์เทค โนเทค หรือมิดเทค (Mid-tech) และให้คุณครูเข้ามามีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนทางไกล เราต้องทำให้มั่นใจว่า การศึกษาทางไกลที่นำมาใช้จะต้องไม่ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันขยายวงกว้างมากขึ้น มันค่อนข้างเป็นการทำงานที่ยากพอสมควรในการทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปในหนทางที่ถูกต้อง เพราะเรามั่นใจว่า เมื่อใดก็ตามที่วิกฤตการระบาดจบลง เราไม่สามารถตื่นลืมตามาเผชิญกับโลกที่ความไม่เสมอภาคเท่าเทียมทางการศึกษาทวีความเลวร้ายรุนแรงมากขึ้น” นางออร์ไบร์ท กล่าว

          นางยาสมิน เชอรีฟ ผู้อำนวยการ Education Cannot Wait (ECW) กล่าวว่า ECW ประเมินว่า มีเด็กทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษามากถึง 75 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในวิกฤต COVID-19 สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ความอ่อนด้อยในเชิงโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่การระบาดของ COVID-19 จะกลายเป็นการซ้ำเติม ทำให้การดำรงชีวิตในสังคมยุ่งยากเลวร้าย และเสี่ยงทำให้ครอบครัวที่ยากจนต้องเผชิญหน้ากับภาวะยากจนขั้นสุด (extreme poverty) ที่ในท้ายที่สุดจะส่งผลบีบให้เด็กต้องหลุดออกจากระบบการศึกษากลางคัน ซึ่งการเลิกเรียนกลางคัน ไม่ได้มีผลกระทบต่อโอกาสในการเรียนหนังสือของเด็กเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง ปัญหาทางสังคมอื่นๆ ที่จะตามมา ทั้งเรื่องการใช้แรงงานเด็ก การล่วงละเมิดสิทธิเด็ก การแต่งงานในวัยเยาว์ การเป็นคุณแม่วัยใส การตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์และอื่นๆ อีกมากมาย

          “COVID-19 ทำให้ ความไม่เสมอภาคเท่าเทียมในสังคมกลายเป็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ขณะที่คนในซีกโลกหนึ่งมีไฟฟ้าใช้เป็นเรื่องปกติ คนอีกซีกโลกหนึ่ง เช่น ในแอฟริกาบางพื้นที่ กลับไม่มีไฟฟ้าใช้ หรือในกรณีของการศึกษา เด็กสวีเดน สามารถเรียนหนังสือออนไลน์ได้อย่างเต็มที่ เด็กในชาติ หรือ ไนจีเรีย กลับไม่สามารถเรียนหนังสือทางไกลได้เลย” ผู้อำนวยการ ECW กล่าว

          นางเชอรีฟ ยังกล่าวด้วยว่า สนับสนุนแนวทางการทำงานเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาด้วยการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นลำดับต้นๆ เรื่องนี้ คือกุญแจ ที่จะทำให้องค์กรและหน่วยงานทั้งหลายมั่นใจว่าจะไม่มีเด็กคนไหนถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการกระจายทรัพยากรให้ถึงมือทุกฝ่าย ซึ่งทาง ECW ประเมินว่า จำเป็นต้องใช้เงินงบประมาณอย่างน้อย 3,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี เพื่อส่งต่อการศึกษาที่มีคุณภาพไปถึงมือเด็กๆ อย่างแท้จริง ในภาวะที่การศึกษาต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงัน

          “แทนที่จะหันไปลงทุนในด้านเสถียรภาพความมั่นคงทางทหาร เพื่อการทำสงครามขจัดความขัดแย้ง เราควรหันมาลงทุนในมนุษย์ มันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากกว่า และมีมนุษยธรรมมากกว่า” นางเชอรีฟ กล่าว


AO7295

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!