WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.AAA A AA1กำเนิดวิทย์

รร.กำเนิดวิทย์ เปิดบ้านจัดงานวิทยาศาสตร์นานาชาติ ครั้งที่ 16 (ISSF) เสมา 2 แนะสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ควบคู่จริยธรรม

        ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน The 16th International Students’ Science Fair (ISSF) and The 3rd KVIS Invitational Science Fair (KVIS ISF)’ โดยมีผู้บริหาร ครู และนักเรียนจาก 18 ประเทศ 42 โรงเรียน จำนวน 266 คน เข้าร่วมงาน ณ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง

      ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนกำเนิดวิทย์ กล่าวว่า โรงเรียนกำเนิดวิทย์เป็นโรงเรียนประจำระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2558 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ จากกลุ่ม ปตท. ที่ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิพลังแห่งการเรียนรู้ขึ้นเพื่อดูแลโรงเรียน

       ปัจจุบันโรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนครบ 5 ปี มีนักเรียนสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 2 รุ่น โดยโรงเรียนได้เป็นสมาชิกของ International Science School Network หรือ ISSN ซึ่งเครือข่ายนี้ได้กำหนดจัดงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติขึ้นทุกปี ภายใต้ชื่อ International Students’ Science Fair หรือ ISSF

       ทางโรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้รับโอกาสให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งที่ 16 หรือ ISSF 2020 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 20 มกราคม 2563 ขณะเดียวกันจะมีการจัดงาน The 3rdKVIS Invitational Science Fair (KVIS-ISF) ร่วมด้วย ซึ่งเป็นรายการที่นักเรียนกำเนิดวิทย์จะได้นำเสนองานวิจัยของตนเองในเวทีระดับนานาชาติ โดยทั้งสองงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ ต.ป่ายุบใน อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยนักเรียน ครู ผู้บริหาร จากโรงเรียนทั้งในและต่างประเทศ รวม 18 ประเทศ จำนวน 42 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนในไทย 6 โรงเรียน และโรงเรียนจากต่างประเทศ 36 โรงเรียน รวมทั้งมีงานวิจัยที่นักเรียนส่งเข้านำเสนอในงานจำนวน 94 ผลงาน สะท้อนให้เห็นว่าสังคมยังมีเยาวชนอันเป็นเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมเติบโตในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาองค์ความรู้นำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป

    ดร.ราเชนทร์ โกศัลวิตร ผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ กล่าวว่า ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานนี้ ไม่เพียงโรงเรียนจะได้ต้อนรับนักเรียน ครู และผู้บริหารของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติหลายแห่ง แต่ยังเป็นโอกาสอันดีที่นักเรียนกำเนิดวิทย์จะได้พัฒนาศักยภาพของตนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งนี้ ISSF นั้นเป็นงานที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา 4 ด้านหลัก คือ 1) ด้านวิชาการของนักเรียน โดยนักเรียนจะได้มีโอกาสนำเสนองานวิจัยของตน 2) ด้านพัฒนาทักษะชีวิต นักเรียนจะได้มีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ ๆ กับนักเรียนต่างชาติทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม 3) ด้านการพัฒนาครู โดยครูจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนกับครูต่างโรงเรียนทั้งในไทยและต่างประเทศ และ 4) ผู้บริหารได้มีโอกาสมาพบปะสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาโรงเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้โรงเรียนพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง

      ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับผู้ร่วมงานทุกคนเข้าสู่ The 16th International Students’ Science Fair (ISSF) ซึ่งคณะผู้จัดงานทุ่มเทเตรียมงานอย่างเต็มกำลัง ในการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นแรงจูงใจ เสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ทำการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ค้นหาเครื่องมือและวิธีการใหม่ เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและทดสอบซ้ำ ฝึกความอดทน เพื่อยกระดับเป้าหมายและขีดความสามารถของผู้เรียนให้ได้

       นอกจากนี้ ยังยินดีที่ได้ทราบว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับโครงงานและขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ด้านการฝึกสอน ช่วยในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมถึงความสามารถเฉพาะของแต่ละคน โดยสิ่งเหล่านี้เป็นทักษะและแนวคิดที่จำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์หรือผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะสามารถสร้างค่านิยมและคุณธรรมจริยธรรมให้กับสังคมได้ด้วย พร้อมเสนอให้ใช้แนวทางการตอบรับเชิงสร้างสรรค์มาพัฒนาความสามารถของนักเรียน เพื่อให้แต่ละทีมได้เรียนรู้และปรับปรุงผลงานของตนเอง

        หลังจากพิธีเปิดงาน มีการบรรยายพิเศษโดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ นักวิทยาศาสตร์หญิงชาวไทยคนแรกที่ได้ไปศึกษาวิจัยที่ทวีปแอนตาร์กติก และยังเป็นหนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ไทยที่เพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีผลงานอื่น ๆ ได้แก่ รางวัล '1 ใน 17 Asia Power Woman'1 ใน 100 คน ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทย และรางวัล “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ (For Women in Science)”

      ในส่วนของกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานแบ่งเป็น ด้านวิชาการ (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี) ได้แก่ Poster Presentation, Oral Presentation, Scientific activities, Teachers Show & Share, The conferences for principals และ ด้านการเรียนรู้สังคม ศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ Welcome Dinner and Thai Cultural Performance, Music Arts Sports and Recreational Activities, Scientific and Cultural Excursions, Cultural performance and farewell party

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!