WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa KCEFR

อำนาจ พร้อมเปิดห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ ตั้งเป้าจบ ม.6 ต้องผ่านเกณฑ์ B2 พูดอังกฤษกับต่างชาติได้ ทั้งเดินหน้าวางกรอบหลักสูตรขั้นพื้นฐานใหม่

            ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับของสูงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าการเปิดห้องเรียนพิเศษที่มุ่งเน้นไปที่ห้องเรียนภาษาอังกฤษ

                ซึ่งที่ผ่านมาได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสถาบันภาษาอังกฤษ สพฐ. ปรับหลักเกณฑ์ประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเปิดห้องเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้งระบบ ให้โรงเรียนมีความคล่องตัวในการขอเปิดห้องเรียนภาษาอังกฤษได้มากขึ้น คาดว่าจะเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้และจะประกาศให้โรงเรียนที่มีความพร้อมเปิดได้ในปีการศึกษาหน้า

                ทั้งนี้ จะไม่กระทบกับแผนการรับนักเรียนของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงที่ได้ประกาศไปแล้ว แต่เป็นโรงเรียนทั่วไประดับอำเภอหรือจังหวัด เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถและศักยภาพเรื่องภาษาอังกฤษได้ตามเป้าหมายที่คาดหวัง คือ เมื่อนักเรียนจบชั้น ม.6 จะต้องได้คะแนนจากการทดสอบภาษาอังกฤษกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล (Common European Framework of Reference for Languages) หรือ CEFR ระดับ B2 และสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้

                “สำหรับครูที่จะมาสอนภาษาอังกฤษในห้องเรียนพิเศษนี้ มีได้ทั้งครูไทยและต่างชาติ ขณะนี้ จะเน้นที่ครูต่างชาติโดยเฉพาะระดับปฐมวัย ซึ่งที่ประชุมก็ได้มีการหารือว่า ครูต่างชาติที่มีอยู่แล้วในขณะนี้เพียงพอหรือไม่ เรื่องนี้มี 2 แนวทาง คือ โรงเรียนจัดหาเอง หรือ อาจจะขอให้ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) หารือกับทูตต่างประเทศ เพื่อจัดหาครูมาช่วยสอน เช่น ครูจากประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายก็จะเปิดให้โรงเรียนสามารถระดมทรัพยากรได้ หรือ ในปี 2563  สพฐ. อาจสนับสนุนงบประมาณบางส่วน และขอตั้งงบประมาณในปี 2564 เพื่อเติมเต็มต่อไป” ดร.อำนาจกล่าว

                นอกจากนั้น เลขาธิการ กพฐ. ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ ซึ่งคณะกรรมการการจะหารือกันในวันที่ 6-8 ธันวาคม 2562 เพื่อกำหนดกรอบและแนวทางการจัดทำหลักสูตรใหม่ ดูข้อดี ข้อเสีย ทั้งการจัดทำหลักสูตรแบบกลุ่มสาระวิชา หรือการจัดทำหลักสูตรที่ไม่เน้นตามกลุ่มสาระ แต่เน้นสมรรถนะทางการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ โดยการปรับหลักสูตรครั้งนี้ รมว.ศธ. ให้ความสำคัญอย่างมาก ขณะที่ สพฐ. ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องนี้ร่วมกับ กพฐ. ด้วย ส่วนการใช้หลักสูตรนั้นจะมี 3 ระยะ คือ ปีการศึกษา 2563 เริ่มในโรงเรียนที่มีความพร้อมและสมัครใจจะนำไปใช้บางห้อง บางวิชา ส่วนปีการศึกษา 2564  ใช้บางโรงเรียน ใช้ทุกวิชา ทุกชั้น ช่วงชั้น และในปีการศึกษา 2565 ใช้เต็มรูปแบบ

https://www.facebook.com/obec.pr/photos/a.298644203839402/943365452700604/?type=3&av=294100504293772&eav=AfalFWPFvOdAUiCysExLgsTh0geTZBPDyemB079l3-cs20_AQ1Wa5hXXY2EppMnMIl0&theater

https://gnews.apps.go.th/news?news=51350

สพฐ. ลงนามความร่วมมือพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครูนักเรียน ตามกรอบมาตรฐาน CEFR

     นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของครูและนักเรียนตามกรอบมาตรฐาน CEFR” ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กับ บริษัท โมบาย โซลูชั่นส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด โดยมีผู้อำนวยการสำนักต่าง ๆ ของ สพฐ. และผู้แทนทั้งสองฝ่าย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

      นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับบริษัท โมบาย โซลูชั่นส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด (Mobile Solutions Integrator : MSI) ในการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของครูและนักเรียนในสังกัด สพฐ. ให้มีความสามารถทางภาษาตามกรอบมาตรฐาน CEFR จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของครูและนักเรียนสู่สากล ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษา (CEFR) โดยบริษัท โมบาย โซลูชั่นส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด ได้สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนและครู จำนวน 3,400,000 บาท โดยสื่อที่ใช้ในโครงการ คือ English Discoveries ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นจากประเทศสหรัฐอเมริกาโดยองค์กรเดียวกับแบบทดสอบ TOEFL และ TOEIC มีชื่อเสียงในการใช้งานทั้งระบบ Online และ Offline ของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนทั้งภาครัฐ-ภาคเอกชนในประเทศไทยมานานกว่า 19 ปี

       อีกโครงการหนึ่งก็คือ การส่งเสริมการพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษของครูตามกรอบมาตรฐาน CEFR โดยบริษัทฯ ได้สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 1,470,000 บาท โดยสื่อที่ใช้ในโครงการ คือ SPEEXX ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นจากประเทศเยอรมนี มีชื่อเสียงในการใช้งานทั้งระบบ Online และ Offline ของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนทั้งภาครัฐ-ภาคเอกชนในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน และเป็นสื่อที่ผ่านการรับรองจากสถาบันคุรุพัฒนาเพื่อใช้เป็นสื่อในหลักสูตรพัฒนาครู “โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร” ของหน่วยพัฒนาครู บริษัท โมบาย โซลูชั่นส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด อีกด้วย

      ทั้งนี้ กรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษา (CEFR : The Common European Framework of Reference for Languages) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ทั้งในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผล การพัฒนาครู รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ และปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้ที่เน้นการสื่อสารเป็นสำคัญ คาดว่าการจัดทำโครงการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของครูและนักเรียนตามกรอบมาตรฐาน CEFR ในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนภาษาอังกฤษของเด็กไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล

         https://www.obec.go.th/archives/189951

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!