WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.AAA A AAสุดยอดนักเรียนไทย

สุดยอดนักเรียนไทยคว้ารางวัล 10 เหรียญทอง 10 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง 2 รางวัลพิเศษ ในการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ณ เมืองฮานอย

     ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.ให้การต้อนรับ คณะนักเรียนที่เดินทางไปแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ.2562 ครั้งที่ 16 16th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School 2019 (IMSO 2019) ระหว่างวันที่ 26 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2562 ณ เมืองฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่สามารถคว้ารางวัล 10 เหรียญทอง 10 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง 2 รางวัลพิเศษ Mathematics- Overall Champion 1 รางวัล และ Science- Experiment Champion 1 รางวัล เดินทางกลับถึงสนามบินสุวรรณภูมิ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ โดยสายการบิน Vietnam Airline เที่ยวบินที่ VN 615 เครื่องลงเวลา 14.45 น. ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้ปกครองและคณะครูอาจารย์ที่เดินทางมารอให้การต้อนรับ

      ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.กล่าวว่า ในการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ.2562 ครั้งที่ 16 ณ เมืองฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีผู้แข่งครั้งนี้ 24 ประเทศ โดยคณะนักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล 10 เหรียญทอง 10 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง 2 รางวัลพิเศษ Mathematics- Overall Champion และ Science- Experiment Champion มีนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 24 คน แบ่งเป็นวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน และวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน

    ผลการแข่งขันนักเรียนไทยสามารถคว้าเหรียญรางวัล ดังนี้ ระดับประถมศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ เหรียญทอง 6 รางวัลเหรียญเงิน 4 รางวัล เหรียญทองแดง 2 รางวัล และยังคว้ารางวัล Mathematics- Overall Champion 1 รางวัล จาก ด.ช.อัทธเศรษฐ์ กนกวุฒิธำรง ร.ร.มาร์มาร่าจินดามณี กทม.

     ระดับประถมศึกษา วิชาวิทยาศาสตร์ เหรียญทอง 4 รางวัล เหรียญเงิน 6 รางวัล เหรียญทองแดง 2 รางวัล และยังคว้ารางวัล Science- Experiment Champion 1 รางวัล จาก ด.ช. ศุภวิชญ์ ลักษณะวิลาศ ร.ร.อนุบาลนครศรีธรรมราช สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1

       ในการนี้ท่านอัครราชทูต ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ท่านมรกต เจนมธุกร) ได้ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีปิดและแสดงความยินดีกับตัวแทนนักเรียนไทยที่คว้ารางวัล

อว. หารือ BRITISH COUNCIL เตรียมพร้อมยกระดับการเรียนการสอนและคุณภาพงานวิจัยไทย

      ณ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) /นายแอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย เข้าพบ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หารือในหัวข้อ “English in Higher Education” พัฒนาการเรียนการสอนของครูยุคใหม่ เสริมทักษะภาษาอังกฤษ พร้อมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ

      สำหรับ ข้อเสนอที่บริติช เคานซิล เสนอแก่ อว. คือ การบูรณาการ การคิด วิเคราะห์ของครูยุคใหม่และพัฒนาศักยภาพของครูและนักวิจัยให้มีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น โดยมีระบบประเมินคุณภาพการเรียนการสอน โดยมีที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทำงานร่วมกับ อว. และมหาลัย นอกจากนี้ยังมีโครงการวิจัยนวัตกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเพิ่มศักยภาพนักวิจัยให้เข็มแข็ง ส่งเสริมงานวิจัยมหาวิทยาลัยไทยและมหาวิทยาลัยอังกฤษ ให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยอย่างเต็มที่

        ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า  อว. มีมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ รวม 38 แห่ง ซึ่งสามารถร่วมกับ British Council ในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจประเทศไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เสริมพลังให้ราชภัฏเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการแก้ปัญหาความยากจน  นอกจากนี้กระทรวง อว. สนใจที่จะร่วมกับ British Council ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ BCG ให้เกิดเป็น platform ร่วมกันพัฒนาทั้งระบบนิเวศการวิจัย ทักษะและศักยภาพของกำลังคน รวมทั้งแสวงหาโอกาสในการสร้างความร่วมมือใน frontier research ใน 3 ด้านคือ space, quantum, high energy physic

       ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อไปว่า ความร่วมมือระหว่าง อว. กับ British Council เบื้องต้น แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1.การยกระดับความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษผ่านการพัฒนาราชภัฏและโรงเรียนสาธิต ให้มีการขยายผลจากงานเดิมที่เคยทำ 2.การพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา เน้นเรื่อง BCG และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ทางอังกฤษมีความเชี่ยวชาญ โดยทำความร่วมมือในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล และหน่วยงานต่อหน่วยงาน เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัยของไทย และ 3.การพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นสากลของมหาวิทยาลัย จะต้องเชิญชวนมหาวิทยาลัยให้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้มีความเป็นสากลมากขึ้น รวมทั้งการใช้ภาษาอังกฤษร่วมกับการสอนในบางรายวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างมาตรฐานมหาวิทยาลัยไทยให้ได้ตามสากล

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!