WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 C.Big Bเด็กเร่ร่อน

ศธ.จับมือ กสศ.-กทม.เปิดตัวโครงการ ‘Children in Street’ ส่งครู กศน.สแกนทั่วกรุงเทพฯค้นหาเด็กนอกระบบ-เด็กบนท้องถนน

    ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดตัวโครงการ Children in Street เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนบนท้องถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ณ ห้องจูปีเตอร์ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

      รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า 'Children in Street' เป็นโครงการสำรวจเด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ใช้ชีวิตตามท้องถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยมอบหมายให้ครูจาก กศน. ในแขวงต่าง ๆ จำนวน 180 แขวง ลงพื้นที่สแกนหาเด็กกลุ่มนี้อย่างเต็มพื้นที่ โดยใช้กลไกกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มาบูรณาการร่วมกับหน่วยจัดการศึกษาต่าง ๆ ของ ศธ.ในทุกระดับการศึกษา รวมไปถึงการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและศักยภาพที่แตกต่างกัน สามารถพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้ โดยไม่หลุดออกนอกระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     จากการศึกษาของยูเนสโก พบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กและเยาวชนที่ตกหล่นไม่ได้รับการศึกษาอยู่หลายแสนคน ซึ่งหากปล่อยให้มีตัวเลขเด็กตกหล่น หรือเด็กไม่ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบในอนาคต กลายภาระของภาครัฐหรือภาคสังคม ดังนั้นจึงต้องเข้าไปดูเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้ดีที่สุด ซึ่งแนวทางสำคัญในการทำงาน คือ รูปแบบครูข้างถนนและคนทำงานกับเด็กบนท้องถนน จะเป็นคนที่เข้าใจปัญหาเด็กและรู้จักเด็กเป็นอย่างดี เริ่มจากครู กศน.และครูอาสาร่วมมือกันทำงาน จากนั้นจึงขยายเครือข่ายการทำงานให้กว้างขวางขึ้น

      “สิ่งแรกที่ต้องทำคือหาเด็กตกหล่นเหล่านี้ให้เจอ เพื่อให้ความช่วยเหลือ และแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด ตามนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของรัฐบาล ซึ่งเด็กบนท้องถนน หรือ Children in Street ส่วนใหญ่ต้องประสบกับปัญหาความยากจน ความรุนแรงทั้งในครอบครัว ชุมชน และท้องถนน การเข้าถึงการศึกษาเรียนรู้ การเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐาน และการถูกล่อลวง อันเป็นความเสี่ยงและอุปสรรคสำคัญในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือการเลื่อนชั้นทางสังคม ในส่วนของประเทศไทยคาดการณ์ว่ามีเด็กบนท้องถนนประมาณ 30,000 คน กระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ มากที่สุด” รมช.ศึกษาธิการ กล่าว

     นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กสศ.ได้สร้างนวัตกรรมการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุน ศธ.และองค์กรหลักในระบบการศึกษา มุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และส่งต่อให้หน่วยงานรับผิดชอบหลักนำไปขยายผลให้เกิดความยั่งยืน เพื่อให้จังหวัดมีขีดความสามารถที่จะดำเนินการปฏิรูปการศึกษาหรือจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนได้เองในระยะยาว โดย กสศ. ได้สนับสนุนการดำเนินงานในจังหวัดนำร่อง 20 จังหวัด กระจายอยู่ทุกภูมิภาค

        อย่างไรก็ตาม แนวทางการดำเนินงานจากจังหวัดนำร่องอาจไม่สามารถให้ความช่วยเหลือเด็กนอกระบบการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ เนื่องจากเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่บริบทต่างกัน และมีความซับซ้อนของปัญหา จึงจำเป็นต้องมีรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ

       “ที่ผ่านมา กสศ.ได้ริเริ่มโครงการเสริมความพร้อมส่งน้องไปโรงเรียน เพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มเด็กที่พักอาศัยบริเวณริมทางรถไฟยมราช และใช้ชีวิตบนถนน เช่น ขายมาลัยตามสี่แยกหรือ ขอทานบนถนนในกรุงเทพฯ จำนวน 81 คน ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการกลับไปสู่โรงเรียนของเด็กกลุ่มนี้ และเป็นจุดเริ่มตันของความร่วมมือในการพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเด็กบนห้องถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีแนวโน้มจะหลุดออกนอกระบบการศึกษา” นายพัฒนะพงษ์ กล่าว

       นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้รับผิดชอบโครงการ Chldren in Street ในพื้นที่กรุงเทพฯ กล่าวว่า โครงการนี้เกิดจากความต้องการที่จะทราบจำนวนของเด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ใช้ชีวิตตามท้องถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ แล้วนำตัวเลขและรูปแบบปัญหาที่พวกเขาประสบอยู่มาออกแบบวิธีการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้ครู กศน. ในกรุงเทพฯ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดประมาณ 700 คน เป็นผู้สำรวจและบันทึกข้อมูลโดยใช้ Google Form เพื่อให้รวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ก่อนจะโอนข้อมูลที่ได้ไปยังระบบ ThaiOOSCIS ซึ่ง กสศ.เคยออกแบบขึ้น โดยโครงการนี้จะใช้เวลาในการสำรวจพร้อมทั้งสรุปและประเมินสถานการณ์ประมาณ 60 วัน 

Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!