WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 CFABABสุเทพ ชิตยวงษ์

สพฐ. แก้จุดอ่อน พร้อมยกเครื่องปรับการวัดประเมินผล คาดช่วยครูพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มาก

     นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สพฐ. ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับปัจจุบัน โดยให้สถานศึกษามุ่งเน้นการประเมินทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นอกจากเรื่องของความรู้ในเนื้อหาตำราเรียน ผ่านการเรียนรู้แบบการลงมือทำ ได้แก่ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และทักษะด้านชีวิตและวิชาชีพ โดยกำหนดให้สถานศึกษานำทักษะทั้ง 3 ด้าน มาใช้วัดและประเมินผลในห้องเรียนตามสภาพจริงแทนการวัดและประเมินผลด้วยแบบทดสอบ

      คือ 1. การกำหนดโจทย์ให้ปฎิบัติหรือแก้ไขปัญหาที่อยู่ในโลกแห่งความจริงและชีวิตประจำวันของผู้เรียน 2. ใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนปฎิบัติหรือแสดงออกเกี่ยวกับความรู้ 3. ใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลายแต่ต้องสอดคล้องกับผลที่เกิดจากการเรียนรู้ 4. สร้างเกณฑ์สำหรับใช้วัดและประเมินผล 5. เน้นให้นักเรียนสะท้อนผลการเรียนรู้ของตนเอง และ 6. ส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาข้อสอบวัดความสามารถด้านการคิดขั้นสูงแบบคิดวิเคราะห์ เพื่อใช้ประเมินผลในชั้นเรียน

      เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาจุดอ่อนที่สำคัญของ สพฐ. คือ การกำกับ ติดตาม และประเมินผลที่ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีศึกษานิเทศก์ หรือสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา (สตผ.)  แต่อาจขาดระบบการติดตาม การวัดและประเมินผลที่ไม่ครอบคลุมมากในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และโรงเรียน จึงทำให้การวัดและประเมินผลออกมาได้ไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน

      ซึ่งได้มอบหมายให้ สตผ. ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาทุกแห่ง มีการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนตามสภาพจริง มากกว่าการวัดและประเมินผลด้วยการทดสอบ ซึ่งผลที่ได้จากการวัดและประเมินจะเป็นข้อมูลสารสนเทศให้ครูผู้สอน สามารถตัดสินใจพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พัฒนานักเรียนต่อไป ดังนั้น การกำกับ ติดตาม และประเมินผล จะต้องเปลี่ยนไปโดยสร้างระบบการติดตามในระดับพื้นที่ให้ชัดเจน เข้มข้น เพื่อให้เกิดการต่อยอดนวัตกรรมการศึกษา และเชื่อว่าหากมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาอาหารกลางวันไม่มีคุณภาพจะลดน้อยลงด้วย

     “ถือเป็นยาดำหม้อใหญ่ ในการแก้ไขจุดอ่อนของ สพฐ. ที่มีปัญหาเรื่องการติดตาม และประเมินผลมาโดยตลอด ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ จะเป็นไปตามนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2563 ของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่อยากให้การวัด และประเมินผล เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถต่อยอดพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนต่อไปในอนาคตได้” นายสุเทพ กล่าว

 

สพฐ. ชื่นชม ระบบ School Management System โรงเรียนประชารัฐ

      ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวชื่นชม "โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ภายใต้ความร่วมมือจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่ได้ดำเนินงานยกระดับคุณภาพการศึกษาแก่โรงเรียนประชารัฐในโครงการกว่า 4,700 โรงเรียน จนเกิดผลสัมฤทธิ์มาตลอดระยะเวลา 3 ปี

       เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความสำเร็จ คือ การผนึกกำลังของภาคเอกชนชั้นนำที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาการศึกษา และมุ่งมั่นพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดโครงการต่าง ๆ และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม

      อีกผลงานหนึ่งที่โดดเด่นของโครงการคือ'ระบบ School Management System' ระบบฐานข้อมูลและการบริหารจัดการโรงเรียนประชารัฐ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลโรงเรียนในทุกมิติ และเปิดเผยสู่สาธารณะบนเว็บไซต์ www.pracharathschool.go.th

        ทำให้ทุกภาคส่วนได้เห็นข้อมูลโรงเรียนเชิงลึก ทั้งด้านข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลนักเรียน บุคลากร ชุมชน ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา สามารถนำมาวิเคราะห์และประเมินผลได้ถูกต้อง โปร่งใส เพื่อประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาโรงเรียนได้ตรงจุด และส่วนที่สำคัญยิ่งคือการจัดทำตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ ( KPIs ) และการวัดระดับคุณภาพโรงเรียน (school grading) ที่มีการวัดคุณภาพใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านการมีส่วนร่วม ด้านผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการสอน และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถเปรียบเทียบความก้าวหน้าของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ได้ในแต่ละปี รวมถึงการเก็บข้อมูลการดำเนินงานแผนพัฒนาโรงเรียน (School Plan) ที่เปิดเผยการดำเนินงานและการใช้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน นับเป็นระบบที่ช่วยให้ภาคเอกชนและภาคส่วนต่าง ๆ สามารถติดตาม ประเมินผลคุณภาพโรงเรียนได้อย่างต่อเนื่อง

        ดร.สุเทพ กล่าวต่อไปว่า "ระบบ School Management System" นับเป็นครั้งแรกของการจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนที่ครบถ้วน และถูกรวบรวมไว้ในระบบเดียวกันเป็นฐานข้อมูล Big Data ที่มีศักยภาพอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องไปศึกษาเพื่อนำมาต่อยอดสู่การจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนทั่วประเทศต่อไป โดยจะมีการสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ไปร่วมศึกษาและจัดเก็บข้อมูลร่วมกับโครงการ

      “ถือได้ว่า โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED เป็นโครงการที่น่าชื่นชมและเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำเร็จของพลังแห่งความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง" ดร.สุเทพ กล่าว 

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

 

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!